1. การประมูลแบบเพิ่มราคาไปเรื่่อยๆ(bidding auction) มักใช้กับการขายสินค้า หรือบริการต่างๆ
2. การประมูลแบบลดราคาลงเรื่อ
ยๆ(reversal bidding auction) มักใช้กับการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ(e-procurement)
ไม่ต่ำกว่า 99% ของการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 300,000 ล้านบาท ของหน่วยงานภาครัฐมีการฮั้วประมูล เจ้าพนักงานของรัฐ รู้เห็น หรือ ร่วมมือกับผู้ประมูลบางราย และกีดกันผู้ประมูลรายอื่นในทุกวิถีทางเพื่อให้กลุ่มตนเองได้รับการคัดเลือก
กลวิธีในการอั้วประมูล เริ่มตั้งแต่
การกำหนดรูปแบบความต้องการในเนื้องาน(terms of reference) ที่เอื้อประโยชน์ฝ่ายหนึ่งและกีดกันผู้ประมูลรายอื่นๆ หลังจากนั้นจะมีัทีมเจรจา ขัดขวาง ผู้ประมูลนอกเป้าหมายให้ทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ ตลอดจนนำข้อมุลที่ไม่ควรเปิดเผยของผู้ประมูลรายอื่นๆ ให้แก่กลุ่มตน
อันที่จริงการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย บนพื้นฐาน มาตรฐานเดียวกัน แล้วแต่ใครจะบริหารจัดการต้นทุน ได้ดี ต่ำกว่ากัน และประชาชนผู้เสียภาษีก็ได้ประโยช
น์อย่างยิ่งที่ได้ว่าจ้าง ผู้รับสัญญาที่ได้มาตรฐาน ในราคาที่ยุติธรรม
Business Benefits
- Improve time, resources and supplies management
- Minimize supply time
- Minimize supply cost
- Transparency in procurement procedures
- Flexibility and control over the procurement process
- สิ่งที่ต้องกระทำการแก้ไขก็คือ
- 1. ผู้ทำการประมูล(เจ้าพนักงานรัฐ)ต้องไม่ให้ผู้ร่วมประมุลทุกรายรู้ล่วงหน้าว่ามีใครยื่นประมูลบ้าง ภายหลังจากที่แต่ละรายไ้ด้รับคัดเลือกให้เข้าประมูลได้
- 2. ขณะกำลังแข่งขันกันเสนอราคา ระบบการประมูล(ตัวซอร์ฟแวร์)ที่ดีต้องแสดงราคาของทุกรายให้ทุกรายที่กำลังประมูลได้ทราบตลอดเวลา เพื่อว่า จะได้แข่งขันกันเสนอราคาจนได้ราคาที่ดีที่สุด ทั้งนี้ ในการประมูลผู้ประมูลงานอยู่ ณ. ที่มั่นของตัวเอง ซึ่งแม้นผู้ประมูลจะอยู่ต่างประเทศก็สามารถยื่นเสนอประมูลได้
- ถามว่า เจ้าพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักการเมืองทุกระดับทราบหรือไม่ว่า วิธีการประมูลที่ดีนั้นเป็นอย่างไร?
- ตอบ ทราบแน่นอน ระบบ e-procurement ของผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นตลาดกลางทั้ง 8 ราย ก็มีเครื่องไม้เครื่องมือให้ใช้(tools)
- ถามต่อว่า แล้วทำไมไม่แก้ไขให้ถูกต้อง สร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
- ตอบ ใครจะ(ยอมเสียสละ)ตัดเส้นทางหากิน(ที่ไม่ถูกต้อง)ของตัวเอง
- ถาม แล้วเราในฐานะผู้เสียภาษี อากรทำอะไรได้บ้าง?
- ตอบ ยาก เพราะเข้าไม่ถึง หรือไม่สามารถให้คุณให้โทษผู้ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้โดยตรง
- ถามอีกขัอว่า แล้วเราในฐานะผู้เสียภาษี จะออกแบบ ควบคุมนักการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ต่างๆ ให้ได้คนที่พร้อม มีความรู้คู่คุณธรรม ได้หรือไม่?
- ตอบ ได้แน่นอน โดยใช้ระบบการคัดกรองนักการเมือง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบใช้เหตุผล(deliberative democracy)(define) ซึ่งเหมาะสมกว่า ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(representative democracy) ซึ่งไม่ตอบโจทย์การมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง และไม่เหมาะสมกับยุกต์สมัย ทั่วโลกกำลังศึกษาวิจัย และนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ ก็จะได้ E-democracy นำไปใช้ในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น