Powered By Blogger
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บราซิล แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บราซิล แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วงจรอุบาทว์ระบบการเมืองไทย


จากภาพที่ 1 เป็นขั้นตอน วิธีการได้เงินมาทำงานการเมืองของนักการเมืองและพรรคการเมือง(money politics) ต่างๆ ของไทย และประเทศอื่นๆ ด้วย(รวมทั้งสหรัฐอเมริกา,อังกฤษ) ซึ่งไม่ตอบโจทย์ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนอย่างแท้จริง เงินทุนทางการเมือง นี้ ก็จะหวนกลับไปตอบแทน"นายทุนทางการเมือง" ที่เป็นคนให้เงินมา นักการเมืองจึงไม่แคร์ ไม่สนใจ "เสียงสวรรค์" สนใจแต่เพียง จะได้เงินเท่าไหร่ และมีวาระต้องตอบแทนอย่างไร


ในภาพที่ 2 เป็นกลุ่มประเทศ 5 กลุ่ม ที่ถูกจัดว่าเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของนักการเมืองและพรรคการเมืองสูงที่สุด ลดหลั่นกันลงไปจนกลุ่มสุดท้ายที่ไม่มีกฎหมายให้ต้องเปิดเผย โดยมี ประเทศไทยอยู่ในกลุ่ประเทศที่เปิดเผยสูงที่สุด ร่วมกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บราซิล ฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศเปิดเผยปานกลาง มีประเทศสิงคโปร์ ที่น่าสนใจในกลุ่มประเทศที่ไม่เปิดเผยเลย มี สวีเดน และ สวิสเซอร์แลนด์ ร่วมอยู่ด้วย จากรายงานชิ้นนี้วิเคราะห์ได้อย่างหนึ่งที่มีนัยะสำคัญ นั่นคือ การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของนักการเมืองและพรรคการเมืองไม่ได้ช่วยให้นักการเมือง เกรงกลัว กฎหมาย อะไรเลย เพราะ นักการเมืองอย่างประเทศไทย ฟิลิปปินส์ สามารถหลบ เลี่ยงกฎหมายได้ หรือซุกซ่อน ปกปิดได้


ระบบการเมืองของโลก ควรมีระบบการคัดกรองนักการเมือง และผู้ทำงานสาธารณะ ที่มีผลกระทบต้่อสังคมหมู่มาก ประเทศไทย และโลกจะเย็นลงอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน




















วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Collaboratory: เครือข่ายความร่วมมือห้องวิจัยระดับโลกของ ไอบีเอ็ม


John E. Kelly หัวหน้านักวิจัยของ บริษัท ibm ที่คิดใหญ่ ทำใหญ่ จริงจังกับงานวิจัยตลอด 27 ปี กับ ไอบีเอ็ม เขากำลังทำงานกับคนทั้งโลกที่เกี่ยวกับงานวิจัย Kelly เรียกมันว่า Collaboratory และเมื่อเร็วๆนี้ ibm มีสัญญาร่วมวิจัยกับรัฐบาล Saudi Arabia เน้นวิจัยเรื่อง nanotechnology และประเทศอื่นๆอีกเช่น จีน สวิตเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ไต้หวัน และอินเดีย และกำลังเจรจากับอีกหลาย 10 ประเทศทั่วโลก


เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2009 ระหว่างการพบกันของ Luiz Inacio Lula Da Silva ประธานาธิบดี ของ บราซิล กับ Samuel J. Palmisano ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ibm กำหนดการพบกัน 30 นาที แต่ ท่านประธานาธิบดีขยายเวลาเป็นเกือบ 60 นาที บราซิล กำลังจะลงทุนเรื่องการวิจัยต่างๆ ขนานใหญ่ 2.2 หมื่นล้านเหรียญยูเอสพอดี โดยจะเริ่มปี 2010 จึงสนใจอย่างยิ่งที่จะเริ่มโครงการกับ ibm ด้วย (จาก businessweek thailand ประจำเดือน ตุลาคม 2552 หน้า 65)

เมื่อก่อน งานวิจัยจะเริ่มจากภายในองค์กร มีงบประมาณ มีคน มีสถานที่ ทำกันเอง ใช้องค์ความรู้เท่าที่มี หาได้จากภายในบริษัท เรียกว่า Inhouse research ผลงานวิจัยที่ได้ ราว 90% เก็บไว้บนหิ้ง ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ขายก็ไม่ขาย ร่วมลงทุนกับใครก็ไม่ค่อยกล้า เพราะ ความคิดยังไม่เปิด หวงแหนงานวิจัย กอดเก็บไว้เอง

ต่อมา แนวคิดผู้บริหารเริ่มเปิด เพราะองค์ความรู้ต่าง ทุกๆ เรื่องมีอยู่ทั่วโลกเต็มไปหมด และสามารถ เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ ร่วมมือกันได้ ผลประโยชน์แบ่งปันกัน แล้วแต่ตกลงกันก่อนเริ่มงาน ผลลัพธ์ ต้นทุนต่ำลง ใช้เวลาน้อยลง และผลที่ได้กลับยิ่งใหญ่

กรณีศึกษาของบริษัท P&G (Procter&Gamble) บริษัทที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก มีนักวิจัย 8,600 คนทั่วโลก งานวิจัยสมัยก่อนทีี่ได้ก็ได้จากบุคลากรภายใน เมื่อวันหนึ่งวิธีคิดของผู้บริหารตีบตัน และท้าทายให้นักวิจัยทั่วไป ตอบโจทย์ปัญหาที่ติดค้างอยู่ ผลปรากฎว่า มีนักวิจัยจากทั่วโลก หลายแสนคน เข้ามาแก้ปัญหาให้ นักการตลาดเรียกความร่วมมือ นี้ว่า เครือข่ายความร่วมมือแบบเปิด (OCN--Open Collaborative Networks) องค์ความรู้จากภายนอก ที่กระจัดกระจายกันอยู่ เหมือนจิ๊กซอว์ ที่ยังไม่ได้ประกอบ งานวิจัยต่างๆที่ว่า ยากๆ ก็สามารถทำได้ลุล่วงในเวลาไม่นานเท่าเมื่อก่อน เงินทุนก็ใช้น้อยกว่า

สิ่งที่ ibm กำลังมุ่งมั่นทำนี้เป็นการตอกฝาโลง วิธีคิด วิธีวิจัยแบบเดิมๆ เพราะต่อไป บริษัทไม่จำเป็นต้องจ้างนักวิจัยจำนวนมาก มีเท่าที่จำเป็นไว้คอยประสาน จัดการโครงการให้เดินหน้าได้ตามแผนงาน ลดค่าใช้จ่ายมากมาย ความเสี่ยงจากการวิจัยล้มเหลว ที่สมัยเดิมๆ มีอยู่ราว 90 % ก็ลดน้อยลง ความสำเร็จ มีเพิ่มมากขึ้นมาก

นอกจากนี้มี บริษัทยา Eli lilly ที่ใช้ กลยุทธิ์ OCN ด้านการวิจัยทำนองนี้

โลกไปไกลมาก สามารถสร้างความร่วมมือต่างวัฒนธรรม ได้อย่างยิ่งใหญ่ แต่ประเทศไทย มีนักการเมือง เหมือน ไก่ที่ถูกจับมัดไว้ในเข่ง แล้วจิก ตีกันเอง ท่านหมอประเวศ วสี เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน