Powered By Blogger

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเมืองไทยและฟิลิปปินส์ ไม่รู้ใครเลียนแบบใคร แต่ไปสู่หายนะทั้งคู่

วันที่ 10 พ.ค.นี้เป็นวันเลือกตั้งประธานาธิบดี ประเทศฟิลิปปินส์ ไม่ต้องไปดูว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี ผลก็เหมือนเดิม แค่เปลี่ยนหัวโขน เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทย ทั้งนี้เพราะ ทั้งคนและระบบการเมืองล้มเหลวหมดแล้วนั่นเอง ไม่สามารถสร้างชาติ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

สิ่งที่แตกต่งกันระหว่งสองประเทศมีมากมาย แต่สิ่งที่คล้ายคลึงกันคือ

1. นักการเมืองที่ไร้จิตสำนึก ที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม และสืบทอดอำนาจทางการเมืองราวกับบริษัทของตระกูลตัวเอง เช่นตระกูล  อาดาล อัมปาตวล จูเนียร์ มีพ่อเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่ง ที่ถูกตั้งข้อหาฆ่าหมู่ 46 ศพ ปลายปีที่แล้ว เป็นพันธมิตรกับ ประธานาธิบดี มาเรีย อาร์โรโย่ เป็นต้น

2. ประชาชนมีคุณภาพชีวิต การศึกษาโดยทั่วไปยังไม่ดี เรียกว่า รายได้ยังไม่ดี ไทยมีรายได้ต่อหัวต่อคน ต่อ จีดีพี 8,200 ดอลลาร์ ขณะที่ฟิลิปปินส์ มี 3,500 ดอลลาร์

3. ระบบประชาธิปไตยที่ไม่ได้ถูกกล่อมเกลา ปลูกฝัง พฤติกรรมของประชาชนในการแสดงออก จึงเป็นเสมือน งานเทศกาล "เทกระจาด" แจกของ ของปอเต็กตึ๊ง คือ ไร้ระเบียบ ไม่รู้จักสิทธิและหน้าที่

4. สื่อกระแสหลัก ขาดสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน ต่อบ้านเมือง และ ไม่กล้าหาญเพียงพอ

5. กระแสทุนนิยมเสรีกักขฬะ  บุกยึดสร้างอิทธืพล เหนือตัวบุคคล และพรรคการเมือง จึงก่อให้เกิดการเข้าแย่งชิง อำนาจรัฐ ผ่านนักการเมือง ผ่านพรรคการเมือง เพื่อสนองผลประโยชน์กลุ่มพวกพ้องตัวเอง เมื่อต่างคนต่างแย่งขิงอำนาจรัฐ จึงต้องมีกองกำลัง ซึ่งอาศัยจากกองทหาร ตำรวจ ทั้งใน และนอกราชการ พวกนอกรีต นอกรอย เป็นกองกำลังติดอาวุธ ไว้ป้องกันตัวเอง และคุกคาม ข่มขู่ ผู้อื่น

6. การเลือกตั้ง เป็นแค่ช่องทาง แค่อุบายให้เหล่านักการเมือง ได้ถูกเรียกว่า ผ่านระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น จึงหวังพึ่งการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะ ทุจริต ซื้อเลียง โกงการเลือกตั้งอย่างมโหฬาร

7. หัวใจระบอบ ปชต. อยู่ที่การมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง ยิ่งมีส่วนร่วมมาก ยิ่งเป็นประชาธิปไตยมาก แต่ทั้งสองประเทศนี้ ภาคประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองแค่หย่อนบัตรเลือกตั้ง

8. ทั้งสองประเทศจัดเป็นประเทศที่มีความโปร่งใสด้านเงินที่เกี่ยวกับการเมืองสูง (Money in politics transparency) ระดับเดียวกับสหรัฐอเมริกา สูงกว่าสิงคโปร์มาก แต่สิงคโปร์ทุจริต คอรรัปชั่น น้อยกว่ามากมาย
Chart below: Levels of money in politics transparency



บัญญัติ 3 ประการในการแก้ไขปัญหาการเมืองของประเทศทั้งสอง

1. ระบบการคัดกรองนักการเมือง
2. เงินที่เกียวการเมือง
3.ปฏิรูปสื่อ

ต่อไปขอเรียก ทั้งสามข้อข้างต้นว่าเป็น "บัญญัติ 3 ประการ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น