Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Transforming Politics Thru E-Democracy (part participatory people 3)

ระบบการคัดกรองนักการเมือง(Politician Filtration) ประกอบด้วย

1. Social software หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เว็บไซต์ก็ได้ แต่เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการที่หลากหลาย และสามารถให้ใคร ก็ได้ มาปฎิสัมพันธ์ ได้ ในทุกมิติ ไม่ว่าจะขีดเขียน (blogs) แก้ไข (wikis) แสดงความคิดเห็น (bolgs, forum) ค้นหา (Search) พูดคุยสดๆ (Instant messaging, e-learning, webinar) อัพโหลด (up load) ดาวน์โหลด (down load) จัดเก็บรวบรวมข้อมูล (storage) ไว้เอง ไม่ต้องให้ผู้ใช้จัดเก็บ การโต้เถียง ถกเถียงด้วยเหตุด้วยผล เพื่อหาข้อสรุปที่ดีงาม เหมาะสม (Deliberative social networks) ตลอดจนสามารถ นำโปรแกรมอื่นๆ มา ผสมโรง (mashups) (define) ได้ด้วย เป็นเว็บไซต์กลาง (web service) ที่คอยให้บริการข้อมูลทุกอย่าง โดยเฉพาะ ด้านการเมือง(เพราะเน้นการเมือง) และใช้ได้ง่าย ลื่นไหล คล่องแคล้ว รวดเร็ว เป็นเว็บไซต์เปิด (Open platforms) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ เชื่อมโยง ทั้งแนวคิด ข้อเท็จจริง และองค์ความรู้ต่างๆทั่วโลก จะได้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม เพื่อสังคมอุดมปัญญา และคุณธรรม

Social software นี้ ในอนาคตสามารถใช้ในการเลือกตั้งผ่านทางออนไลน์ได้ เมื่อสามารถหาความแน่นอน แม่นยำในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล (Personal Identifiaction)ได้ ไม่จำเป็นต้อง ออกไปลงคะแนนเลือกตั้ง ณ คูหาเลือกตั้งอีกต่อไป อยู่ที่ไหนก็สามารถลงคะแนนเลือกตั้งได้ โกงคะแนนเลือกตั้งไม่ได้ และทราบผลการเลือกตั้งได้ทันที เรียกว่า เป็นระบบ E-democracy

2. Cloud computing มีทั้งส่วนที่เป็น hardware and software ที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการจัดเก็บ ประมวลผล ข้อมูล ได้อย่างตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าข้อมูลจะมากน้อยแค่ไหนก็สามารถให้บริการได้ อย่างไม่ติดขัด อันนี้สำคัญมาก เพราะ เมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมากๆ ระบบ hosting server ทั่วไปไม่สามารถรองรับได้

3. ระบบการวิเคราะห์ (Analytics) จะใช้เพื่อเพื่อวัดผลการคัดกรองให้เกิดความแม่นยำ และ ไม่ลำเอียง เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้มีข้อโต้แย้งน้อย โปรแกรมการวิเคราะห์มีเป็น ร้อยๆ แบบ ไว้ให้เลือกหา เลือกใช้ หรือ ออกแบบ เขียนโปรแกรมใหม่เอง ก็ย่อมได้

4. คณะกรรมการอิสระ E-democracy เป็นคณะบุคคลที่ เป็นที่เชื่อถือ ยอมรับของประชาชนทั่วไป 7 คน (เป็นตัวอย่าง) เช่น หมอประเวศ วสี, คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ คุณวนิษา เรซ(หนูดี) คุณรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น คุณสมบัติคณะกรรมการอิสระนี้ ต้อง...

เป็นนักประชาธิปไตยในสายเลือด
มีความเที่ยงธรรม ยึดมั่นในประโยชน์ประชาชนสูงสุด
ทัศนคติเชิงบวก กรอบแนวคิดที่ไม่ยึดติดในหลักเกณฑ์เดิมๆ
ซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม
พฤติกรรม พฤติการณ์ ดีเด่นมาโดยตลอด

หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการอิสระ E-democracy

1. บริหารจัดการข้อมูล คน ระบบการคัดกรองนักการเมือง ให้เกิดความเที่ยงธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ 7/24
2. ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดความแม่นยำ เที่ยงธรรมในการคัดกรอง นักการเมือง หลังจากที่เหล่า "ว่าที่" นักการเมือง ได้ลงทะเบียนเพื่ออาสาทำงานการเมืองไว้กับ เว็บไซต์กลางเป็นระยะเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ทั้งประเทศ ได้ตรวจสอบประวัติ พฤติกรรม ทั้งส่วนตัว และครอบครัว ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ทัศนคติ กรอบแนวคิด จริยธรรม ในการจะอาสาทำงานสาธารณะได้ เมื่อคณะกรรมการอิสระมีมติเห็นชอบเสียงข้างมาก 5 คน (ตัวอย่าง) นักการเมืองผู้นั้นจึงจะได้รับใบประกาศรับรองเป็นนักอาสาทำงานการเมืองได้ แล้วจึงไปสมัครเข้าสังกัด พรรคการเมืองต่อไป

ระบบการคัดกรองนักการเมืองนี้เป็นการคัดกรองจากคนจำนวนเรือนล้านที่ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์กลาง เพื่อเฟ้นหาคนทำงานสาธารณะด้านการเมือง จึงต้องน่าจะได้เลือกนักการเมืองที่ดีที่สุด 3,000 คน 5,000 คน หรือ 10,000 คน จากคนเรือนล้าน มิใช่ แค่วัดผลว่าได้คะแนน ร้อยละ 50 ก็เพียงพอแล้ว พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทุกคนต้องตั้งใจแข่งกันทำความดีอย่างแท้จริง (ถ้าอยากทำงานสาธารณะ) เพราะ ถ้าคุณไม่ดีพร้อมจริง ก็จะไม่สามารถผ่านเกณฑ์การคัดกรองได้ ก็ยังไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เมื่อผ่านการคัดกรองแล้ว ได้ใบประกาศแล้ว สมัครพรรคการเมือง หรือไม่ก็ตาม จึงจะถึงขั้นตอนการรับสมัครเลือกตั้ง เมื่อมีการเลือกตั้ง อีกครั้งหนึ่ง นี่คือการสร้างระบบมาตรฐานด้านนักการเมือง เหมือน มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม หรือ มอก. หรือ ด้านการผลิต เช่น GMP (Good Manufacturing Practice) ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง แทบจะทุกอย่าง แทบทุกวงการ ต้องมีการทำสินค้า หรือ บริการให้ได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้คนได้เลือกใช้ เลือก กิน ได้อย่างปลอดภัย สมเหตุสมผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น