การประณามจึงเป็นวัฒนธรรมทางสังคมที่ผู้อาศัยอยู่ในสังคมส่งสัญญาณ(ทางลบ) กำกับพฤติกรรม ท่าที ของคนในสังคมด้วยกัน ที่กำลังแสดงพฤติกรรม หรือท่าที ต่างๆที่ผิดธรรมนองคลองธรรมอันจะสร้างความเดือดร้อน ความวิบัติมาสู่สังคมโดยรวมได้ให้รับทราบ ให้แก้ไข ปรับเปลี่ยนท่าที พฤติกรรมอันไม่พึ่งปรารถนานั้นเสีย เพราะสังคมที่รักสงบ รักความเป็นธรรมไม่ต้องการ ก่อนให้กฎหมายบ้านเมืองเข้าดูแล จัดการ
ใครควรถูกประณาม ใครเป็นผู้ประณาม และประณามเมื่อใด อย่างไรดี??
ในสังคมอย่างประเทศไทยนั้น ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี แม้แต่ในคนๆเดียวกันก็ยังมีทั้งส่วนที่ดี(Superego) เป็นพลังใฝ่ดี สร้างสรรค์ และไม่ดี (id) เป็นพลังใฝ่ต่ำ ดิบๆ ทำลาย ไม่สร้างสรรค์ ใครก็ตามที่เป็นบุคคลสาธารณะ หรือ ผู้มีอานาจหน้าที่ให้คุณให้โทษต่อบุคคลอื่นได้ในวงกว้าง หรือผู้ที่จะเป็นแบบอย่างให้คนในสังคมทำตาม เอาเยี่ยงอย่าง ทั้งอุปโลกน์ตัวเอง และสังคมยกให้เป็น เช่น นักการเมือง ข้าราชการ บุคคลในองค์กรอิสระต่างๆ ผู้นำจิตวิญญาณ นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักสื่อสารมวลชน เป็นต้น บุคคลดั่งตัวอย่าเหล่านี้ หากมีพฤติกรรม ท่าที ที่ส่อ หรือผิดธรรมนองคลองธรรม ย่อมสร้างผลกระทบ ต่อสังคมโดยรวมได้ หากปล่อยให้ยังคงมีพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ ด้านผู้ประณามนั้นเป็นใครก็ได้ ยิ่งเป็นผู้น่าเชื่อถือของสังคมและสื่อสารผ่านสื่อที่มีพลัง เข้าถึงผู้คนหมู่มากได้ ยิ่งได้ผล ทั้งนี้ผู้ประณามต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักของคุณธรรมความดีงาม (Virtue principle) ที่สังคมที่รักสงบต้องการ
การประณามเป็นกระบวนการทางภาคประชาสัีงคมผ่านสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น สื่อกระแสหลัก (Mainstream media) ทั้งสื่อดั้งเดิม (Traditional media) และสื่อใหม่ (New media) เช่นเครือข่ายทางสังคมออนไลน์รูปแบบต่างๆ เช่นการเกิดปรากฎการณ์การรวมกลุ่มกันของชาว Facebook เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น