การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้และเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมเพื่อโลกที่ดีกว่า นับเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจยิ่ง Google กำลังทำสิ่งเหล่านี้ และทำได้ดีเสียด้วย
มีคำถามมากมายที่ใช้สัมภาษณ์ พนักงานเข้าใหม่ ในองค์กรต่างๆ แต่ที่แตกต่าง โดดเด่น ต่อคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์งาน ของชาว Google นั้น อาจทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ "ท่านเซ่อร์" รับประทาน รู้สึกว่าตัวเองโง่ไปในบัดดล
นี่ตัวอย่าง 15 คำถาม จาก 140 คำถาม ทีี่ี่ชาว Google มักใช้ในการสัมภาษณ์งาน และนี่ก็เป็นคำเฉลย ทั้ง 15 คำถาม นั้น (อิอิอิ...แค่คำถามแรกก็เหงื่อตกท่ามกลางหิมะได้)
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ ตอบได้ถูกต้อง เป็นคนเก่ง แล้วได้ทำงานกับ Google หรอก ผู้สัมภาษณ์ ต้องการทราบวิธีแก้ไขปัญหา วิธีการใช้เหตุผลในการตอบคำถาม และที่สำคัญ ทัศนคติในเชิงบวก หรือลบ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ในการ คิด มองปัญหา แล้ว "หลุด" เป็นคำตอบออกมา
ทัศนคติ(attitude) อันนนี้สำคัญมาก จะสะท้อน วิธีคิด ท่าที การกระทำ จนสามารถมองเห็นบุคคลิกภาพ ตัวตนจริงของผู้ถูกสัมภาษณ์ ได้ ลำพังใช้ "คน" ตัดสิน คัดเลือก อาจโน้มเอียง หรือเอนเอียง (subjective)ได้ องค์กรที่ดี ที่ทันสมัย จึงต้องใช้ตัวแบบระบบวิเคราะห์(analytical applications) ช่วยในการประเมินผล ถ้าผู้ถูกสัมภาษณ์มีทัศนคติเชิงลบ ก็จะถูกปฎิเสธ และ ไม่ค่อยมีคนรับเข้าทำงาน โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่สำคัญๆ เพราะ คนจำพวกนี้ สอนก็ยาก ทำงานร่วมกับใครก็ยาก มองอะไรเป็นปัญหาไปเสียหมด (Winston Churchill once said, "The pessimist sees difficulty in every opportunity. The optimist sees the opportunity in every difficulty.")
ใน ระบบการคัดกรองนักการเมืองไทยจึงต้องมีระบบประเิมินผล ว่ามีทัศนคติเป็นบวกหรือลบ ประวัติส่วนตัวและครอบครัว (background) ในอดีต เพื่อสร้างมาตรฐาน นักการเมืองให้มีมาตรฐานเสียก่อน เมื่อถึงคราวเลือกตั้ง แม้นจะเลือกคนผิด (รู้ทีหลังว่าเลือกคนไม่พร้อมทำงานเพื่อส่วนรวม) ก็ยังอยู่บนมาตรฐานหนึ่ง ต่างจากปัจจุบันนี้ หามาตรฐานอะไรไม่ได้เลย ต่อไปในบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ควรกำหนดให้มีช่องให้ประชาชนได้กากบาท ว่า "ไม่ต้องการเลือก หรือ ไม่ต้องการให้ผู้สมัครเบอร์นี้ทำงานการเมือง" ควบคู่ไปด้วย หากคะแนนช่องนี้สูงระดับหนึ่งก็ตัดสิทธิห้ามลงสมัครอีกต่้อไป จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ประเมินผลใหม่
ของฝาก...
"Attitude is a little thing that make a big difference." Wiston Churchill
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น