Powered By Blogger

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่ คน คือนักการเมืองที่ไม่เคยมีมาตรฐาน

     สิ่งที่คณะกรรมการปฏิรูปฯ ได้นำเสนอ ทั้งการกระจายอำนาจ สร้างความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้นนั้น จริงอยู่เป็นปัญหาหมักหมม อยู่ แต่..ไม่ใช่รากเหง้า หรือปัญหาหลัก ของปัญหาการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เปรียบได้ว่าทำนอง "เอาปลาย่างไปฝากไว้กับแมว" ที่ยังไม่ได้ฝึกฝน(ให้รู้จักยับยั้ง, สติ) หรือ ไม่ได้คัดเลือก(ผ่านระบบการคัดกรอง) ยิ่งส่งเสริมให้เกิดปัญหาการโกงกินขยายตัวมากยิ่งขึ้น


ปัญหาการเมืองไทยอยู่ที่"คน" คือ นักการเมือง ซึ่งไม่มีมาตรฐาน ไม่เคยมีมาตรฐาน แม้แต่การเมืองในสหรัฐอเมริกา หรือ แม่แบบอย่างประเทศอังกฤษ ก็ไม่มีมาตรฐาน การเมืองในโลกนี้จึง ไม่มีทางยั่งยืนไปได้ กล่าวได้ว่า มุ่งไปแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และสังคม ไม่แก้ไขปัญหาด้านการเมือง คิดแต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหลงคิดต่อไปว่า ปัญหาการเมืองไทยอยู่ตรงนี้  ซึ่งเป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะ จะถูกบล๊อก ด้วยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกักขฬะ ที่นักการเมืองมาจากเงินทุนของระบบนี้ อย่างที่นักวิชาการตะวันตกเรียกระบอบการปกครองนี้ว่า Plutocracy อันหมายถึง ระบอบการปกครองที่ปกครองโดยคนมั่งมี หรือ นักการเมืองมาจากเงินทุนของคนมั่งมี หรือ ซื้อเสียงเข้ามา

อุปมา คนเราถูกมัดด้วยเชือก 3 เส้น
เส้นที่1 รัดที่เท้า หรือ เปรียบเป็นปัญหาด้านสังคม
เส้นที่2 มัดคอ หรือ เปรียบเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ
เส้นที่3 มัดมือ  หรือ เปรียบเป็นปัญหาด้านการเมือง
เราต้องแก้เชือกที่มัดที่มือเสียก่อน แล้วจึงใช้มือที่ปราศจากพันธนาการไปแก้เชือกที่รัดคอ ดั่งที่พระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้พระบรมราโชวาทไว้ตั้งแต่ปี 2512 ความว่า
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
หรือ ดั่งคำกล่าวของ นาย ลี กวน ยู รัฐบุรุษของประเทศสิงคโปร์ กล่าวทำนองว่า เราต้องได้คนดีมีคุณธรรมก่อน จึงให้คนดีเหล่านั้นไปชักชวนคนดีอื่นๆ แล้วช่วยกันสร้างระบบที่ดีต่อไป

"We are entering a new age where people participate in the economy like never before. This new participation has reached a tipping point where new forms of mass collaboration are changing how goods and services are invented, produced, marketed, and distributed on a global scale. This changing presents far reaching opportunities for every company and for every person who get connected" Wikinomics, Tapscott and williams (2006)

เราจึงต้องทำการเมืองให้มีมาตรฐาน เรียกระบบนี้ว่า Participatory Technocracy ประกอบด้วย...
1. ระบบการคัดกรองนักการเมือง (Politician Filtration)
  1.1 คณะกรรมการคัดกรองนักการเมือง
  1.2 Social Software เป็น เว็บเซอร์วิส ซึ่งเป็นสื่อกลางให้ทุกๆคนทั้งตรวจสอบ ร่วมมือ เสนอแนวคิด ซึ่งว่าที่นักการเมืองทุกคนจะต้องลงทะเบียนที่เว็บเซอร์วิสนี้ทุกคน เป็นเวลา3-5 ปี ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทั้งมีสิทธิ์เลือกตั้งแล้ว หรือยังไม่ถึงเกณฑ์ ได้ตรวจสอบพฤติกรรมต่างๆของเหล่าว่าที่นักการเมืองทุกคน
  1.3 ระบบวิเคราะห์ (Analytics) เป็นเครื่องมือในการคัดกรองคนดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ แม่นยำ เชื่อถือได้ ไม่เอนเอียง สร้างความเป็นธรรมในการคัดเลือก ให้รางวัล หรือ ลงโทษ เป็นต้น
1.4 ระบบประมวลผลคลาวด์(Cloud Computing or Data Center) เป็นระบบการเก็บและประมวลผลข้อมูล

2.  เงินทางการเมือง (Money Politics)

2.1 บุคคล/นิติบุคคล อุดหนุนพรรคการเมืองได้ ไม่เกิน 10,000/ปี/นิติบุคคล
 ต้องจำกัดเงินทางการเมือง โดยเฉพาะ เงินอุดหนุนทางการเมือง จากบุคคล หรือนิติบุคคลต่างๆ ที่ให้กับพรรคการเมือง นั้นให้น้อยที่สุด ไม่ควรเกิน 10,000 บาทต่อ หนึ่งคนต่อปี หรือ ต่อนิติบุคคลต่อปี เพราะ ปล่อยให้เป็นเช่นรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้ภาคเอกชนอุดหนุนพรรคการเมืองได้มากถึง 10 ล้านบาท ทำให้นักการเมือง ทำงานให้กับผู้อุดหนุนพรรคตนเองก่อน หรือ มากกว่า ประชาชนทั่วไป  แล้วให้นักการเมืองขายวิธีคิดที่ดี เป็นจริง เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม  โดยให้นักการเมือง พรรคการเมือง สร้างกิจกรรมทางการเมืองที่เกิดประโยชน์ กับประชาชน มากๆ แล้วประชาชนทั่วไปจะอุดหนุน บริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองนั้นๆเอง

ปัจจุบัน นักการเมืองหาเงินทางการเมืองอย่างง่ายๆ(เข้าสู่การเล่นการเมืองก็ง่ายมากๆ)เช่น จัดเลี้ยงโต๊ะจีน 100 โต๊ะ ได้เงิน 1,000 ล้านบาท ง่ายเกินไป นักการเมืองจึงแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
2.2 ภาษีประชาชน
2.3 เงินส่วนตัวของนักการเมือง ห้ามใช้เงินส่วนตัวเกิน 100,000 บาทต่อการสมัครรับเลือกตั้ง 1 ครั้งเป็นตัวอย่าง

3.  วิธีแบ่งเขตเลือกตั้งเดิมเป็นแบบ Election Based Geographics กล่าวคือ ใช้จังหวัด พื้นที่ หรือ ภูมิประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งล้าสมัย ไม่ตอบโจทย์ การพัฒนาในเชิงคุณภาพ คุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี เพราะมุ่งไปพัฒนาที่วัตถุมากกว่าคุณภาพชีวิตคน
ให้ใช้แบบใหม่ เป็นแบบ Election Based Demographics แทน กล่าวคือ ให้ยึด กลุ่มอายุ เพศ อาชีพ เป็นต้น โดยมีกลุ่มนักการเมืองเป็นตัวแทนของกลุ่มอายุนั้น เช่น 
กลุ่มอายุ 18-23 ปี มีจำนวนกี่คน?จำเป็นต้องมีตัวแทนที่เป็นผู้แทนได้กี่คน?
กลุ่มอายุ 24-29 ปี มีจำนวนกี่คน?จำเป็นต้องมีตัวแทนที่เป็นผู้แทนได้กี่คน?
กลุ่มอายุ 30-35 ปี มีจำนวนกี่คน?จำเป็นต้องมีตัวแทนที่เป็นผู้แทนได้กี่คน?
เป็นตัวอย่าง 

ข้อดี 1. ทำให้การซื้อเสียงหมดไปโดยปริยาย ไม่สามารถซื้อเสียง หรือสร้างเครือข่าย วางเครือข่ายการซื้อเสียงได้อีกต่อไป เพราะ กลุ่มคนอายุต่างๆเหล่านั้น มีอยู่ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ
       2. ทำให้นักการเมืองต้องศึกษา ให้เข้าใจ เพื่อจะได้เข้าถึงกลุ่มอายุต่างๆ และ ออกนโยบายให้ตรงตามความต้องการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดียิ่งๆขึ้นไป
4. ปฏิรูปสื่อ (Main stream Media Reformation)
4.1 คณะกรรมการปฏิรูปสื่อ

“Insanity is doing the same thing over and over while expecting a different result,” Albert Einstein.

หากในโลกนี้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจต่างๆ ได้นำระบบ Participatory Technocracy ใหม่นี้ไปใช้ มั่นใจได้ว่า 
1.  โลกนี้จะไม่มีสงคราม รบ ฆ่าฟันกัน
2.  สภาวะโลกร้อนจะค่อยๆชลอความหายนะลง เพราะคนดีมีคุณธรรมจะตระหนักดีถึงผลเสียต่อการทำร้าย ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะ นับแต่ปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ เมื่อ300กว่าปีที่ผ่านมา สิ่งแวดล้อมถูกทำลายลงอย่างมากมาย เป็นเหตุให้โลกเรามุ่งสู่ความหายนะในอัตราเร่ง อุปมา คนกลุ่มเล็กๆจำนวนหนึ่งใช้มือกลบหลุม แต่ในขณะเดียวกัน คนอีกหลายๆกลุ่มและเป้นส่วนใหญ่ ต่างใช้แบคโคขุดหลุม 
3. สินค้า บริการนวัตกรรมใหม่ๆ จะถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างมากมายอย่างไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน และล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่น
4. กองกำลังทหารจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นกองกำลังพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนเป็นหลัก 
5. ภาษีประชาชนจะถูกใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดมากยิ่งขึ้น อาวุธสงครามจะถูกล้มเลิกการผลิต มุ่งหันไปประดิษฐ์ สร้างสรรค์อุปกรณ์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตมนุษย์แทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น