Negative externality เป็นผลกระทบในเชิงลบ ดังกล่าวข้างต้น
Positive externality เป็นผลกระทบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเชิงบวก ได้แก่ การอุดหนุน(subsidy) ต่างๆ อาทิเช่น ใน ยุโรป ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีชาวนาอยู่ประมาณ 25,000 ครอบครัว(ชาวนาไทยมี 3.7 ล้านครอบครัว) แต่รัฐบาล ใช้เงินภาษีประชาชน นับแสนล้านดอลลาร์ต่อปี อุดหนุนราคาข้าว ให้มีราคาสูงๆเข้าไว้ พืชผลทางการเกษตรอื่นๆก็ทำเช่นเดียวกัน ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน มีตั้งแต่ประกันราคา รับจำนำ ให้เงินกู้แก่โรงสีข้าวโดยคิดดอกเบี้ยถูกกว่าท้องตลาดโดยหวังว่า โรงสีจะช่วยเหลือชาวนาอีกทอดหนึ่ง(แต่คิดผิด และ ไม่ยอมคิดใหม่) สิ่งเหล่านี้ รัฐก็ต้องนำภาษีประชาชนไปใช้ ไปช่วย นักการเมืองไทย ข้าราชการ พ่อค้า จำนวนมาก "ปากมัน" ไปกับนโยบายการอุดหนุนของรัฐ โดยที่ผลประโยชน์จริงๆ ตกถึงมือเกษตรกรน้อยมาก
ในการประชุม WTO รอบโดฮาครั้งแรก เมื่อปี 2001 (2544) ก็ต้องการแก้ปัญหานี้ โดยแลกกันกับประเทศกำลังพัฒนาให้ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการลง ให้ประเทศผู้เจริญทั้งหลาย(ยุโรป, สหรัฐ, ญี่ปุ่น นำ)ลดการอุดหนุนภาคเกษตรลง เรื่อยๆ แต่ก็ไร้ผล ประเทศที่เจริญแล้ว ไม่มีความจริงใจจะแก้ไข นี่คือการค้าเสรี ที่ไม่มีความเป็นธรรม ในระบบทุนนิยมเสรี
ต้นสัปดาห์หน้านี้ จะเริ่มมีการประชุม WTO อีกหน ในรอบ 4 ปี(ข่าว) ก็คงจะทำนายผลการประชุมได้เลยว่า "ไม่เป็นมักเป็นผล" เหตุที่เป็นอย่างนี้ สาเหตุหลัก ก็คือ ประเทศที่เจริญแล้วได้ประโยชน์อย่างมาก จากการประชุมแบบทวิภาคี โดยเปิดเสรีระหว่างประเทศคู่เจรจา เป็นรายประเทศ เจรจากับประเทศใดได้ก่อนก็ ทำข้อตกลงกัน เช่น การค้าเสรีระหว่างไทยกับสหรัฐ(ข่าว) ไทยกับจีน ไทยกับนิวซีแลนด์ ไทยกับออสเตรเลีย เป็นต้น
การทำ FTA แบบทวิภาคีนี้ น่าห่วงมาก เพราะ เหมือนยื่นหมูยื่นแมว ง่ายต่อผู้เจรจาที่จะหยิบยื่นผลประโยชน์ชาติให้ประเทศคู่เจรจา สิ่งไหนตัวเอง หรือพวกพ้องได้ประโยชน์ก็จะแลกกัน
การผลักภาระ (externality) ให้กับสังคม สิ่งแวดล้อม ของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บอกได้ว่า ผู้ประกอบการไม่ได้สนใจ"แก่นแท้"ของ CSR (corparate social responsibility) หรือองค์กรที่มีคุณธรรม เป็นได้แค่ CSR after process มีปัญหาแล้วค่อยเยียวยา แก้ไข(มีปัญหาแล้วค่อยเอาเงินฟาดหัว) นี่คือ ทุนนิยมกักขฬะ รูปแบบหนึ่ง
ชุมชนมีอยู่ก่อนนิคมอุตสาหกรรม หาก โรงงานเหล่านี้มองไม่เห็นคุณค่าของชุมชน ของสังคม สิ่งแวดล้อม คนในชุมชนก็ย่อมคิดได้แบบเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น