ข้อเท็จจริง
สำนักงานกองสลาก ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย 1 เดือนออกสลาก สองงวดๆละ 46 ล้านฉบับๆละ 40 บาท คู่ละ 80 บาท (ราคาหน้าสลาก) แต่กองสลากขายให้ตัวแทนที่เป็นเอกชน ในราคา 73.60 บาทต่อฉบับ เอกชนที่ได้จัดสรร เป็นตัวแทนจำหน่ายแทนกองสลากมีส่วนต่างอยู่ 6.40 บาทต่อคู่ หรือ 8 % ของราคาหน้าสลาก ก่อนหน้านี้ให้ 7% ถ้าจำหน่ายหมด เป็นเงิน 256 ล้านบาทต่องวดโดยประมาณ เดือนละ 512 ล้านบาท อันนี้ผู้ค้าสลากรับไปแบ่งกำไรกัน ไม่รวมส่วนที่เกินจาก 80 บาท และไม่รวมการออกสลากพิเศษ
กองสลาก มอบหมายให้เอกชนรับไปจำหน่าย อ้างว่าลดความเสี่ยง ฮ่าๆ ฮ่าๆ เสี่ยงมาก เลย กองสลากก็เลยกลายเป็นเสือนอนกิน(เงินคนจน) โดยให้ส่วนลดตามที่บอก แต่ไม่มีปัญญาควบคุมสลากเกินราคาได้!!
ควาจริงไม่ใช่ไม่มีปัญญาหรอก สมคบคิด กันต่างหาก ของผู้มีส่วนได้-เสีย เพราะกฎหมายค้ำคอไว้ ที่ 73.60 บาท ต่อใบ(คู่) แต่ด้วยความละโมบ ไม่สนใจความถูกต้องดีงาม จึงเป็นอย่างที่เห็น
ทุกปีงบประมาณ กองสลากส่งรายได้ร้อยละ 28 ให้รัฐ(จากเว็บไซต์กองสลาก)
2542 เป็นเงิน 7,304.89 ล้านบาท
2543 เป็นเงิน 9,373.44 ล้านบาท
2544 เป็นเงิน 4,885.96 ล้านบาท
2545 เป็นเงิน 5,456.17 ล้านบาท
2546 เป็นเงิน 7,504.82 ล้านบาท
2547 เป็นเงิน 8,872.30 ล้านบาท
2548 เป็นเงิน 10,358.49 ล้านบาท
2549 เป็นเงิน 11,174.31 ล้านบาท
2550 เป็นเงิน 14,000.57 ล้านบาท
โดยมีประโยตทองว่า.."ผู้ซื้อสลากกินแบ่งทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ"
ตามกฎหมายกองสลาก หมวด 6 มาตรา 39 กำหนดบทลงโทษไว้ ว่าผู้ใดขายสลากเกินกกว่าราคาหน้าสลากต้องถูกปรับเป็นเงิน 2,000 บาท เท่านี้ จริงๆๆๆๆๆ
สภาพที่เป็นจริง
ผู้ชอบเล่น ชอบเสี่ยงรายย่อย(end users) ซึ่งเป็นความหวังว่าจะรวยๆเมื่อถูกล๊อตเตอรี่ ต้องซื้อสลากบางครั้งสูงถึง ใบละ 120 บาท ผมเพิ่งทราบเหมือนกันว่า สลากกินแบ่งรัฐบาลไทยสามารถเก็งกำไรได้วันละหลายๆหน ราคาวิ่งขึ้น - ลง ตลอดเวลา เหมือนหุ้่น หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีตลาดซื้อขายที่สามารถตรวจสอบราคาได้ที่หน้ากองสลาก ถนนราชดำเนิน และ อ. วังสะพุง จ.เลย เป็นไปได้อย่างไร??
1. การเก็งกำไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ??
2. การเพิ่มสลากเข้าสู่ระบบแก้ปัญหาสลากเกินราคาได้หรือไม่ ?? ตอบเลยว่้าไม่ได้
3. แล้วจะจัดการอย่างไรดี??
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น