Powered By Blogger

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮอลลีวู๊ด โมเดล (Hollywood Model)


สมัยก่อน ผู้กำกับภาพยนตร์ ฮอลลีวู๊ด ที่ต้องการ "ทุนทำหนัง" แค่บินไปตะวันออกกลางพร้อมด้วยกระดาษ เอสี่ 3-4 แผ่น แล้วพูดคุยกับ ชีค เจ้าผู้ครองนครรัฐ หนึ่งรัฐใด ก็สามารถได้ทุนทำหนัง ขนาด 50 ล้านดอลลาร์ได้สบายๆ แต่ปัจจุบันนี้ ไม่ได้แล้ว


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ตลาดภาพยนตร์ที่ใหญ่ เป็นที่รู้จัก มี 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง และ ไนจีเรีย เฉพาะ สหรัฐอเมริกา จากข้อมูลวิจัย มีมูลต่าตลาดภาพยนตร์ เมื่อปี 2003 ประมาณ 9.2 พันล้านดอลลาร์(ปัจจุบันประมาณ 13 พันล้านดอลลาร์) เฉลี่ย คนดูหนัง 5.74 เรื่องต่อคนต่อปี เฉลี่ยค่าตั๋วหนังใบละ 6.04 ดอลลาร์ เทียบได้กับจำนวนประชากรที่ดูหนังได้ 265 ล้านคน หรือ 90% ของประชากรทั้งประเทศ

การบริหารจัดการที่เรียกว่า ฮอลลีวู๊ด โมเดล(Hollywood Model) เป็นการแบ่งงานตามความถนัดให้กับบุคคล หรือคณะบุคคล ไปทำตามเงื่อนไข ระยะเวลาที่กำหนด โดยที่ทุกๆ คน จะรับทราบ เข้าใจดีถึงเป้าหมาย และผลสำฤทธิ์ของงาน และทุกๆคนจะต้องสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา ภายใน 24 ขั่วโมงเรียกพบตัวได้ถ้าจำเป็น และงานที่ได้รับมอบหมายให้แต่ละคนไปทำนั้น ผู้จัดการโครงการสามารถเรียก ทดสอบ งานดูความคืบหน้าของงานได้ตลอดเวลา ผ่าน ระบบคลาวด์ หรือ เซิร์ฟเวอร์กลาง จะเห็นได้ว่า ฮอลลีวู๊ด โมเดล(Hollywood Model) ใช้ประโยชน์จากโลกที่แบนราบได้ดีมาก ทำให้ลดค่าใช้จ่ายประจำได้มากมาย คนทำงานก็มีอิสระในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง

เทคโนโลยี ที่ก้าวหน้ามาก สมจริงอย่างยิ่ง อย่างเรื่อง อวตาร (Avatar) ที่ใช้ห้องเล็บด้านเทคนิคของ Weta ในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเรื่อง วิชวล เอฟแฟกซ์ (Visual Effects) ซึ่งเคยทำงานให้กับ ลอร์ด ออฟ เดอะริง(Lord of the ring) และกำลังทำงานให้ Steven Spielberg เรื่อง The Adventures of Tintin: Secret of the unicorn กำหนดฉายปี 2011

ชื่อเสียง ของผู้เขียนบทภาพยนตร์ และผู้กำกับการแสดง อย่าง James Cameron ซึ่งเป็นทั้งสองอย่าง ในเรื่องอวตาร (Avatar) นี้ เขียนบทภาพยนตร์จากจินตนาการ (Imagination)ของตัวเอง จากการค้นคว้า ศึกษา ไม่ได้แปลงบทภาพยนตร์มาจากหนังสือของใคร หรือเอาเรื่องเก่า มาทำใหม่ จึงเป็นความท้าทาย เป็นความสดใหม่ ของยุคสมัย เป็นการขายจินตนาการ(Imagination) ผ่านแผ่นฟิล์ม ซึ่ง คนอย่าง James Cameron ผู้เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์การนาซ่า เป็นคนที่ทะเยอทะยานที่เก่ง ซึ่งเค้ายึดหลักปรัชญาประจำตัวว่า "If you set your goals ridiculously high and it's a failure, you will fail above everyone else' s success" ถึงแม้นเค้าจะล้มเหลว(จากเป้าหมายที่ตั้วไว้) แต่ก็ยังเหนือกว่าคนอื่นๆที่ประสบผลสำเร็จ (เพราะคนอื่นๆตั้งเป้าไว้ต่ำเกินไป)

ทั้งตลาดที่ใหญ่โตมาก รูปแบบการบริหารจัดการ เทคโนโลยี และความสามารถเฉพาะบุคคล ล้วนเป็น ปัจจัยสำคัญ เสริมสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าของเงินทุน ในการ "ร่วมเสี่ยง" ไปกับจินตนาการของคุณ ทั้งๆที่กระแสการละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ ทั้ง ออฟไลน์ และ ออนไลน์ ก็ทวีความเข้มด้วยเช่นเดียวกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น