ความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรษัทเอกชน หรือ CSR (Corporate Social Responsibility)
ความรับผิดชอบต่อสังคม ของบรรษัทเอกชน (CSR) มี 3 ระดับ
1. CSR- after process บรรษัทเอกชนไม่ได้ใส่ใจเรื่อง คน สินค้า และสิ่งแวดล้อมสักเท่าได ครั้นเมื่อเกิดปัญหาค่อยใช้เงิน ความสัมพันธ์ส่วนตัว หรือ อิทธิพล เข้าแก้ไขภายหลัง นับว่าเป็นบรรษัทชั้นเลว เอาเปรียบทุกขั้นตอน ทุกคน เพื่อตัวเองเท่านั้น
2. CSR- in process เป็นบรรษัทที่ดูแลทุกๆสิ่งที่เกี่ยวข้อง ในทุกขั้นตอนการจัดซื้อ การผลิต (Responsible in every touch points) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพึงพอใจ เช่น ไห้สวัสดิการที่ดีมากแก่พนักงาน เลือกซื้อวัตถุดิบที่ดี ควบคุมดูแลสินค้าที่ผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และ มีมาตรฐานสูง ไม่มีพิษภัย ลดการทำร้าย ทำลายสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เรียกว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งตัวสินค้า และรูปแบบขบวนการผลิต (Green products & processes) ให้มากที่สุด หรือไม่มีเลย ขณะเดียวกันก็ ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นด้วย ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างได้ว่าเป็น Triple Bottom Lines- 3BL กล่าวคือ บรรษัทต้องหาจุดลงตัว เหมาะสม พอดี ระหว่างทั้งคน สิ่งแวดล้อม และ ตัวกำไรของผู้ถือหุ้น อันนี้เป็นแนวทางของบรรษัทสมัยใหม่ที่ต้องมีวิสัยทัศน์ นับแต่บัดนี้เป็นตันไป
3. CSR- as a process เป็นบรรษัทที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร ทำเพื่อสังคม เป็นหลัก
ส่วนการบริจาคเงิน สิ่งของต่างๆ เป็นแสน เป็นล้าน เพื่อการกุศล สาธารณะ ของบรรษัทเอกชนนั้น ว่ากันที่จริงแล้วก็พอยอมรับได้หาก สามารถเป็นผลประโยชน์ในระยะยาวต่อบรรษัทเอง ไม่ใช่เพื่อหน้าตาของผู้บริหารเท่านั้น เพราะ ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลััก ตามกฎหมายมหาชน เรียกได้ว่า ยึดหลักการผลประโยชน์ที่ดีที่สุด (The best benefits principle) ของผู้ถือหุ้น
2. CSR- in process เป็นบรรษัทที่ดูแลทุกๆสิ่งที่เกี่ยวข้อง ในทุกขั้นตอนการจัดซื้อ การผลิต (Responsible in every touch points) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพึงพอใจ เช่น ไห้สวัสดิการที่ดีมากแก่พนักงาน เลือกซื้อวัตถุดิบที่ดี ควบคุมดูแลสินค้าที่ผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และ มีมาตรฐานสูง ไม่มีพิษภัย ลดการทำร้าย ทำลายสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เรียกว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งตัวสินค้า และรูปแบบขบวนการผลิต (Green products & processes) ให้มากที่สุด หรือไม่มีเลย ขณะเดียวกันก็ ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นด้วย ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างได้ว่าเป็น Triple Bottom Lines- 3BL กล่าวคือ บรรษัทต้องหาจุดลงตัว เหมาะสม พอดี ระหว่างทั้งคน สิ่งแวดล้อม และ ตัวกำไรของผู้ถือหุ้น อันนี้เป็นแนวทางของบรรษัทสมัยใหม่ที่ต้องมีวิสัยทัศน์ นับแต่บัดนี้เป็นตันไป
3. CSR- as a process เป็นบรรษัทที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร ทำเพื่อสังคม เป็นหลัก
ส่วนการบริจาคเงิน สิ่งของต่างๆ เป็นแสน เป็นล้าน เพื่อการกุศล สาธารณะ ของบรรษัทเอกชนนั้น ว่ากันที่จริงแล้วก็พอยอมรับได้หาก สามารถเป็นผลประโยชน์ในระยะยาวต่อบรรษัทเอง ไม่ใช่เพื่อหน้าตาของผู้บริหารเท่านั้น เพราะ ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลััก ตามกฎหมายมหาชน เรียกได้ว่า ยึดหลักการผลประโยชน์ที่ดีที่สุด (The best benefits principle) ของผู้ถือหุ้น