Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

Transforming Politics thru E-Democracy (part participatory people 1)

โลกที่เราอาศัยอยู่ กำลังถูกทำให้แบนราบลงเรื่อยๆ ผนังทั้งสี่ด้านถูกพังพาบลงเป็นลำดับ สนามแทบทุกสนาม ถูกปรับให้ราบเรียบให้พร้อมรับการแข่งขัน ไม่ว่าคุณคนนั้นเป็นใคร ชายหรือหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ มีอวัยวะครบถ้วนหรือไม่ จะอยู่แห่งหนใด ก็สามารถ เข้าถึงข้อมูล เชื่อมโยง ปฎิสัมพันธ์กันได้ตลอดเวลา แทบจะทุกรูปแบบ อย่างไม่เคยทำได้มาก่อน และมุ่งไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นโดยยึดโยง หรือมีพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง เคารพในสิทธิ และเสรีภาพของกันและกัน และตระหนักรู้ในหน้าที่ความรับผิดชอบ ของกันและกัน



สิ่งที่กล่าวโดยสรุปนี้คือ ระเบียบโลกใหม่ เป็นพลวัตใหม่ของการเปลี่ยนผ่าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยงถึงกัน (Globalization) ขอแบ่ง Globalization ออกเป็นสามยุกต์ สามช่วงดังนี้

1. Gloalization based Nation-State ( ปี ค.ศ.1400-1799) หรือ Globalization 1.0 ที่สมัยนั้น เน้นรัฐ หรือประเทศ ออกล่าอาณานิคมกอบโกยทรัพยากรจากประเทศที่รุกรานได้ กลับไปสู่ประเทศของตนเอง เกิดระบบทาส รัฐ หรือ ประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง จนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ


2. Globalization based Corporation (ปี ค.ศ.1800-1999) หรือ Globalization 2.0 เป็นยุกต์ หรือช่วงที่บรรษัทขนาดใหญ่เริ่มโดยซีกฝั่งยุโรป ตามด้วย สหรัฐอเมริกา เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นการกอบโกยกำไร เอารัดเอาเปรียบ โดยทุนนิยมขนาดใหญ่ เน้นกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น แล้วทิ้งความเสื่อม ภาระ (Extenality) ไว้ให้กับสิ่งแวดล้อม และสังคม



3. Globalization based Individual ( ปี ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน) หรือ Globalization 3.0 โลกในช่วงต่อจากนี้ไป เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยระดับบุคคล อำนาจแห่งการเลือกสรร สร้างสรรค์ ถูกยัดใส่มือเราทุกคน ไม่ว่าคุณหรือผม ก็สามารถเปลี่ยนแปลงโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ได้ เป็นการสร้างเครือข่ายต่างๆ (networks) เป็นชุมชนสิ่งที่ชอบ สิ่งที่รัก คล้ายๆกัน เป็นการเชื่อมโยง เข้าถึงข้อมุล องค์ความรู้ วัฒนธรรมต่างถิ่น (Cross culture) ที่มีอยู่ในโลกที่เมื่อก่อนไม่สามารถ ทำได้อย่างลื่นไหล คล่องตัว ง่ายดาย ที่สำคัญ เพียงแค่นั่งอยู่กับที่ และประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน



หันกลับมามองการเมืองไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2475 นับได้ 77 ปีผ่านมา มี รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ (เฉลี่ย 4.27 ปีมี1 ฉบับ) มีการเลือกตั้งทั่วไป 21 ครั้ง (เฉลี่ยใช้ 3.67 ปีเลือกตั้ง 1 หน) มีนายกรัฐมนตรี 59 คน (เฉลี่ย เป็นคนละ 15.6 เดือน) เกิดการปฎิวัติรัฐประหาร และกบฏ รวม 24 หน (เฉลี่ย 3.2 ปีหน) คงมองเห็นภาพนะ ว่า การเมืองไทย อ่อนแอ แค่ไหน การเมืองเป็นเหตุผลสำคัญยิ่งที่ทำให้ประเทศชาติและประชาชน โดยส่วนใหญ่ พลาดโอกาสในการได้รับประโยชน์ที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาที่ดี และความเป็นธรรมจากระบบที่ดี ไปอย่างมากมาย เพราะอะไรน่ะหรือ ...

ครับ คน ..คนที่เป็นนักการเมือง คือปัญหา


ผมขอฟันธงไว้ตรงนี้อีกครั้งหนึ่งว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) แบบที่ไทยใช้อยู่เวลานี้นั้น ไม่สอดคล้อง ไม่สอดรับ กับโลกที่เปลี่ยนไปแล้ว และ ประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพา "ตัวแทน" ของตัวเอง รูปแบบนี้อีกต่อไป ในโลกปัจจุบัน มีระบบ วิธีการที่ดีกว่า ในแทบทุกบริบท ให้ได้ใช้แล้วและประชาชนทั่วทั้งประเทศสามารถ เข้าถึง จัดการ ถกเถียงถึงสิ่งที่ดีงามของกฎเกณฑ์สาธารณะ พื้นที่สาธารณะ ที่ทุกคนต้องเคารพ ทุกคนต้องปกปักษ์ รักษา ให้เหมาะสมกับพวกเค้า ดูแลกันเองได้ และได้ดีด้วย โดยไม่ต้องให้ใครมาหลอก มาสนตะพานจูงเดินไป เมื่อหมดประโยชน์ก็ปล่อยทิ้ง แต่เรา คุณ และ ผม ต่างหากที่จะเป็นผู้กำหนดให้ผู้ที่จะอาสาเข้ามาทำงานสาธารณะ ต่างๆ ต้องฟังและทำตาม

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

Transforming politics thru E-democracy (part participatory people 2)


The Long Tail เป็นปรากฎการณ์ทางการตลาดใหม่ ที่ Chris Anderson นั่งเผ้าสังเกตุ ธุรกรรม การค้าขายบนอินเตอร์เน็ต และได้พบสิ่งแตกต่างไปจากสิ่งที่เคยพบเห็นบนโลกปรกติ นั่นคือ สินค้าที่ ขายได้น้อย หรือขายยากมากๆ บนโลกปรกติ สามารถขายได้บนโลกออนไลน์ และสามารถขายได้กำไรมากมาย จนเกิดหาง(เส้นกราฟสีเหลือง) ยาวไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด จนพื้นที่โดยรวมภายใต้เส้นสีเหลือง มีพื้นที่มากกว่าพื้นที่ภายใต้เส้นสีแดง เสียอีก ซึ่ง ได้พังกฎเกณฑ์ 80/20 (Pareto Principle) ของ Vilfredo Pareto ที่บอกว่า รายได้80% มาจากลูกค้ารายใหญ่ 20% แรก ซึ่งก็ยังเป็นไปได้อยู่ในโลกการค้าปรกติ แต่หากเป็นธุรกิจบนออนไลน์แล้ว ไม่ใช่อีกต่อไป เพราะ..




1. ตลาดเป็นออนไลน์ไร้พรมแดน เป็นตลาดขนาดใหญ่มากๆ เมื่อตลาดใหญ่ มีผู้ต้องการสินค้าหลากหลายด้วยเช่นเดียวกัน

2. การค้าบนออนไลน์ แทบจะไม่มีต้นทุนในการ เก็บ รักษา ดูแล สินค้าเลย เพราะ ไม่ต้องมีสต๊อกสินค้า ถึงมีก็น้อยมาก เมื่อเทียบกับ โลกปรกติ แตกต่างจากการค้าบนโลกปรกติ ที่ต้องมีทั้ง สต๊อกสินค้า ค่าจัดเก็บ ดูแลรักษา ขนส่ง บริหารจัดการ

3. การวางจำหน่ายสินค้าบนโลกปรกติ จะต้องคัดเลือกสินค้าที่ขายได้ดี เร็วได้กำไรมาก เรียกว่า "หมุนเร็ว กำไรงาม" เท่านั้น เพราะ พื้นที่ให้วางสินค้านั้นมีจำกัด(แต่มีสินค้าต้องการขายมากมาย) จึงไม่สามารถจะนำสินค้าทุกชนิด ทุกขนาด วางขายได้ ต่างจากโลกออนไลน์สามารถ วางสินค้า หรือโชว์สินค้าได้ตามความต้องการ ไม่ว่าสินค้านั้นจะขายได้น้อยบนโลกปรกติ เพราะมีต้นทุนส่วนเพิ่มน้อยมาก หรือเรียกได้ว่า ต้นทุนการเสียโอกาสเข้าไกล้ศูนย์

คราวนี้นำเอา The Long Tail มาจับ มาอธิบายในเรื่องของประชาธิปไตย


กำหนดให้แกนตั้งเป็น อำนาจอันชอบธรรม (Authority) แกนนอนเป็นประชาชน (Citizens) ทั่วไป

คนที่ใช้อำนาจรัฐ คลุกคลีอยู่กับอำนาจ มีส่วนเกี่ยวข้างอยู่กับอำนาจ ก็จะอยู่ส่วนหัว คือส่วนที่ใกล้แกนตั้งมากที่สุด (ดังภาพด้านล่าง) และถือเป็นคนส่วนน้อยนิด เช่น รัฐบาล ส.ส. และ ส.ว. การเมืองท้องถิ่นก็เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต) และกรรมการ เป็นต้น เรียกว่า เป็นผู้ปกครอง ส่วนประชาชนทั่วไปและเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ก็อยู่ส่วนหาง คือทอดยาวขนานไปกับแกนนอน เรียกว่า เป็นผู้ถูกปกครอง





จะสังเกตเห็นได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถเข้าถึงอำนาจ หรือ ใช้อำนาจในการดุแลปกครองกันเองได้เลย ไม่สามารถ จะมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยได้เลย หรือมีก็ต้องผ่านคนอื่น คือ "ผู้แทน" ลักษณะนี้ เก่าไปแล้ว การเมืองรูปแบบเดิมๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไปแล้ว


ทันทีที่เรามีระบบการคัดกรองนักการเมือง นั่นหมายความว่า พลัง อำนาจในการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย ของประชาชนส่วนใหญ่ อยู่ในมือของประชาชนแทบทุกคน ย้ำ แทบทุกคน ไม่เฉพาะคนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้เท่านั้น คนที่มีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์เลือกตั้งได้ก็ได้สิทธินี้เช่นกัน สามารถตรวจสอบ เป็นหู เป็นตาคอยรายงานพฤติกรรม พฤติการณ์ของเหล่า "ว่าที่" และนักการเมืองได้ตลอดเวลา ผ่านทางเว็บไซต์กลาง (Web service) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายๆ สะดวก รวดเร็ว


เมื่อมี ระบบการคัดกรองนักการเมือง จะเกิดเส้นกราฟสีแดง(ดังรูป) แสดงให้เห็นถึงการคัดกรอง ตรวจสอบ นักการเมือง ตั้งแต่ ช่วงตรวจสอบโดยประชาชนในช่วง 5 ปี ก่อน กกต รับรองให้เป็นนักการเมือง จนถึงนักการเมืองเข้าใช้อำนาจของรัฐ ประชาขนทั่วไปสามารถตรวจสอบ รายงาน ได้ตลอดเวลา 7/24 นี่คือการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาขนทั่วไป และสามารถนำไปสู่กระบวนการต่างๆอีกมากมาย เป็นต้นว่า การบริจาคเงินสนับสนุนนักการเมืองหรือพรรคการเมืองจากประชาชนทั่วไป ให้ทำได้อย่างง่ายๆ การสื่อสารกันระหว่างนักการเมือง พรรคการเมืองกับประชาชนทั่วไป ให้ทำได้ง่ายๆ สะดวก คล่องตัว กิจกรรมทุกอย่างที่นักการเมืองต้องการทำ เพื่อสื่อสารให้ประชาชนทั่วไป ได้รับรู้ ทำผ่านช่องทางนี้ได้เลย เป็นต้น ส่วนนักการเมืองที่ประพฤติ ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม ก็จะถูกตรวจสอบ รายงานโดยประชาชน เช่นเดียวกัน ข้อมูลทุกอย่างจะเก็บเป็นฐานข้อมูลก้อนมหึมา ข้อมูลก็จะมีทั้งเท็จ จริง โคมลอย สารพัด แต่ ระบบก็จะมีการวิเคราะห์(Analytics) ด้วยโปรแกรมที่ดี ฉลาดมากๆ แม่นยำมาก และที่สำคัญ เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เอนเอียงเข้าข้างใคร ซึ่งจะมีข้อโต้แย้งน้อย กว่าใช้คนคัดเลือก ตัดสิน

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

กฏหมายรัฐธรรมนูญไม่ใช้ตัวปัญหาการเมืองไทย

"Where there is no vision, the people perish" Proverbs 24:18 The Old Testament










ผู้นำที่ใดก็ตาม ไม่ว่าองค์กรเล็ก ใหญ่ หรือผู้นำระดับประเทศ หากไม่มีการมองการณ์ไกล ผู้ตามก็แย่ เพราะคนที่ไม่มีการมองการณ์ไกล ย่อมไม่รอบรู้ มองอะไรแบบแยกส่วน ทำไปตามความคิดตนเอง และพรรค พวก ทำเป็นส่วนๆ เหมือนตำข้าวสารกรอกหม้อ ไม่รู้ทิศทางที่ถูกต้อง ที่ควร ที่เหมาะสม ความเป็นมา เป็นไปของโลก และแม้จะรู้ว่า โลกทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยใบนี้ มีบางสิ่งบางอย่างมันผิด มันเพี้ยน มันบิด มันเบี้ยว ก็ไม่มีความสามารถคิดและแก้ปัญหาได้อย่างบูรณาการ ที่สอดรับ สอดคล้อง และใช้ประโยชน์สูงสุด กับสภาวะโลกที่แบบราบลงแล้วทุกขณะได้

อยากจะบอกว่า "อีกแล้วครับท่าน" ที่นักการเมืองทั้งหลาย จะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือยกเลิก อะไรก็แล้วแต่ ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ สรูปก็คือโทษกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่โทษ คน ไม่รู้ หรือแกล้งไม่รู้ ว่า คน หรือนักการเมืองนั่นแหละคือตัวปัญหา เพราะนักการเมืองไทยส่วนใหญ่ เข้าสู่ถนนการเมืองง่ายเกินไป จึงได้คนที่ ไม่เหมาะ คนที่ไม่พร้อมที่จะทำงานการเมือง เราจึงจำเป็นต้องมี ระบบการคัดกรองนักการเมือง เพื่อคัดกรองนักการเมืองที่นอกเหนือจาก ใช้หลักฐานด้านประชากรศาสตร์(Demograhpic Data) อย่าง วุฒิการศึกษา อายุ ข้อห้ามตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งไม่เพียงพอหรอกในโลกทุนนิยมเสรีที่ซับซ้อนอย่างในปัจจุบันและอนาคต เราตัองมีการคัดกรองด้วยพฤติกรรม พฤติการณ์ ทัศนคติ กรอบวิธีคิด จิตจริยธรรม ของผู้จะทำงานสาธารณะ อย่างงานการเมือง ด้วย และผมเชื่อว่า สำคัญยิ่งกว่า หลักฐานทางด้านประชากรศาสตร์

ปี 2540 ได้รัฐธรรมนูญที่คิดว่าดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ก็ ใครกันล่ะ ที่เข้าไปใช้เล่ห์กล แทรกแซง องค์กรอิสระ ไม่เคารพกฎเกณฑ์ของกฎหมาย จนเป็นส่วนหนึ่งของ เหตุ 19 กันยายน 2549
ปี2550 ได้กฎหมายรัฐธรรมนูญอีกฉบับที่เขียนเชิงป้องกันไว้ และตีกรอบไว้ให้นักการเมืองปฎิบัติค่อนข้างเข้มงวด แต่แล้วเป็นอย่างไร ก็ได้มีการยุบพรรคการเมืองไปหลายพรรคด้วยกัน ต่างกรรมต่างวาระกันไป นักการเมืองบางกลุ่มตั้งพรรคแล้วถูกยุบพรรค ก็ตั้งใหม่ ได้ไม่เท่าไหร่ก็ถูกยุบพรรคอีก แต่นักการเมืองก็โทษรัฐธรรมนูญ ว่าแรงเกินไปบ้าง กรรมการบริหารพรรคคนอื่นไม่ได้ทำผิดด้วยไม่ยุติธรรมที่ต้องถูกลงโทษด้วย หาได้คิดโทษตัวเองไม่

แล้วจะเอาอย่างไรกันอีกล่ะ..??

เราจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอีกกี่ร้อยกี่พันหนกัน(ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองไทยได้เพราะเกาไม่ถูกที่คัน) ผมก็ยังยืนยันว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยว



สิ่งที่นักการเมืองทั้งหลายกำลังจะประชุมหาหนทางสมานฉันท์กันอยู่ ณ เวลานี้ เป็นเพียง การหาหนทางออมชอมผลประโยชน์กันเองระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ กับนักการเมืองที่ถูกกฎหมายให้ยุติบทบาททางการเมือง 5 ปี และ ผลประโยชน์อื่นๆ พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้บริหารประเทศต่อไประยะเวลาหนึ่ง "แสวงหา"ไป อีกฝ่ายก็ สามารถลงเล่นการเมืองได้เร็วขึ้น เพราะได้กฎหมายนิรโทษกรรมให้ ถามว่า ประชาชนได้อะไร ?? ประเทศชาติได้อะไร??



สิ่งที่เราเห็น ดูหมือนเหตุการณ์จะยุติ ความสงบจะกลับมา ถ้าสามารถออมชอมกันได้ แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น มันเหมือนซุกขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไว้ใต้พรม ซุกปัญหาไว้แล้วพูดหลอกชาวบ้าน ว่าเรียบร้อยแล้ว แก้ไขปัญหาการเมืองได้แล้ว เมื่อ ทุกคนสามารถกลับทำงานการเมืองได้เหมือนเดิม อะไรจะเกิดขึ้น วงจรอุบาทว์ไงล่ะ เกิดขึ้น เหมือนเดิม ยือแย่ง มวลชน ซื้อเสียง ทำทุกอย่างให้ใด้เป็น ส.ส.(แย่งกันเป็น ส.ส.) แล้วก็ไป แบ่งอำนาจกัน (แย่งอำนาจกัน) บริหารประเทศ จากนั้นก็ถึงคราวแสวงหาเงินทอง อย่างผิดๆ เมื่อได้ลาภ ยศ ทรัพย์สิน ก็เอาสิ่งเหล่านี้ไปหว่านในพื้นที่สร้างเครื่อข่าย ปูทางให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีก แล้วยังไง ก็เกิดปรากฎการณ์อย่างคุณสนธิ อีก เกิดเสื้อสีต่างๆ อีก หายนะรออยู่ชัดๆ

ถึงต้องถามกันตรงๆว่า ประเทศชาติประชาชนได้อะไร ?? ประชาชนมาก่อนจริงหรือ ?? ถ้าจะทำแบบนี้ ปัญหาทางการเมือง หมดไปจริงหรือ ??

ถามนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า คิดอะไรอยู่ สิ่งที่ท่านนายกเคยเขียนไว้ ที่เว็บไซต์อภิสิทธิ์ เรื่องเงินที่เกียวพันกับการเมือง (Money politics)ไม่ว่าจะเป็น เงินที่นำไปใช้สร้างเครือข่ายทางการเมือง( Expenses indirectly associated with political activities which are necessary to build political bases and networks.) ก็ดี เงินที่นักการเมืองใช้ซื้อเสียง(Vote buying) ก็ดี ท่านก็ยังไม่สามารถหาหนทางแก้ไขได้ ที่สำคัญท่านยังไม่ได้หยิบยกขึ้นเป็นวาระของรัฐบาลด้วยซ้ำ(ไม่แน่ใจว่ามีอยู่ในนโยบายรัฐบาลหรือไม่) สมาชิกพรรคท่านนายกเองก็ทำกันอยู่ นักการเมืองล้วนทำกันเป็นส่วนใหญ่ ท่านนายกรู้ดี

ครั้งต่อไปผมมีวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเป็นระบบ และเป็นจริง ตามสภาวะโลกปัจจุบัน และอนาคต

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

ภาพพจน์สินค้าจีน

คุณภาพสินค้าจากจีนมีหลากหลายมากๆ คลิปวีดีโอ นี้เป็นตัวอย่างนึงที่เห็นใด้ถึงคุณภาพสินค้าจากจีน

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่ 9 ตอนจบ)

หลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อน ในเรื่อง ภูมิปัญญาชุมชน (Wisdom Community) ที่คิดว่าเป็นเรื่องชนบท เรื่องโบราณ เรื่องชาวบ้าน เก่า ไม่ทันสมัย แท้จริงแล้ว ชาวตะวันตก ให้ความสำคัญมากๆ ณ ขณะนี้ โดยเฉพาะ จะสอดรับ สอดคล้องกับประชาธิปไตยแบบใช้เหตุผล (Deliberative Democracy) (จะเป็นการเมืองใหม่) และสภาวะโลกที่กำลังถูกทำให้แบนราบลงตลอดเวลา เป็นชุมชนที่สมาชิกภายในชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน พึ่งพากันเองภายในชุมชนให้แข็งแกร่ง เมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระทบก็จะมีภูมิคุ้มกัน อย่างน้อยก็ระดับหนึ่ง นี่ก็คือหลักแห่งปรัชญาเศรษฐกินพอเพียง นั่นเอง แต่ละชุมชนโยงใย ข้ามไปมา นอกเครือข่ายได้อย่างไม่เคยทำได้มาก่อน


ชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน อำเภอน้ำเพรียง จังหวัดน่าน เป็นตัวอย่างชุมชนยั่งยืน ที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง จริงอยู่ อาจมีลักษณะเฉพาะ แต่ละที่ แต่ละชุมชน แตกต่างกัน แต่สามารถ ดูเป็นเยี่ยงอย่างได้ นำไปเป็นต้นแบบใช้ในภาคใต้
เมื่อชุมชนแข็งแกร่งเต็มพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยง แต่ละชุมชนเป็นเครือข่ายออกสู่ภายนอก เชื่อมโยงกับโลกได้ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กลายเป็นชุมชนเปิดสมบูรณ์แบบ




ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่ 8)

วิธีแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ นอกจากใช้การสลายอุดมการณ์ของสมาชิกในเครือข่ายแล้ว ต้องใช้วิธี ทำให้องค์กรไร้หัว องค์กรปลาดาว เหล่านี้ เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์รวมอำนาจให้ได้ด้วย


องค์กรศูนย์รวมอำนาจตามลำดับชั้น (Hierachy Organizations or Centralized Organizations)

ประเทศไทยแทบจะไม่ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบราชการเลย ตลอดระยะเวลา 77 ปี กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมอำนาจขนาดใหญ่ ที่รับวัฒนธรรมการเมืองการปกครองจากตะวันตก





"ช่วงที่ผ่านมา ไม่มีใครตั้งคำถามว่า การสร้างรัฐราชการขนาดใหญ่กับแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยไม่สามารถดำรงอยู่และพัฒนาควบคู่กันไปได้" (จากหนังสือ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ สงครามครั้งสุดท้าย & การเมืองใหม่ ฤา"ทุนนิยม" จะถูกทำลาย!หน้า 110 -111 ของ ยุค ศรีอาริยะ)







รูปด้านบน เป็นการเปรียบเทียบระหว่างองค์กรศูนย์รวมอำนาจ กับองค์กรกระจายอำนาจ ลักษณะเป็นเครือข่ายโยงใย ทำให้เกิดชุมชนแห่งความรู้ (Wisdom Community) ถ่ายเท เชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างกันได้ในแนวระนาบ ชุมชนขยายออกไปทางด้านข้าง (Horizontal Communites or Networks) ตามวิถีชีวิตของแต่ละคนที่สามารถเลือกได้เองในระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ชุมชนแต่ละแห่งจะดูแลกันเอง ทั้งสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่อย่างจำกัด ตลอดจนความอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ โดย ส่วนสำคัญ ผ่านเทคโนโลยีที่มีให้เลือกใช้ได้อย่างพร้อมมุล ในโลกที่แบนราบแล้วนี้

องค์กรกระจายอำนาจ หรือเครือข่าย ยึดโยงกับอุดมการณ์ ไม่ใช่วัตถุ กรณี ชนเผ่า Apache ที่มีหัวหน้าเผ่า ทำหน้าที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณ ในเชิงความเชื่อ ความคิด ส่วนการบังคับบัญชานั้น สมาชิกดูแลกันเอง จึงปราศจากสายการบังคับบัญชา (Hierachy)

ย้อนกลับไปสมัยการรบพุ่งระหว่าง รัฐบาลสหรัฐอเมริกา กับ เผ่า Apache ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถเอาชนะเหนือ Apache ได้จนถึง ปี ค.ศ. 1919 จึงได้คิดออกว่า จะจัดการเผ่า Apache ได้อย่างไร

วิธีการก็คือ แจกวัว รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ออกนโยบายแจกวัวให้ชนเผ่า Apache ทุกครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการและหายากยิ่ง ทำให้ชนเผ่า Apache เริ่มยึดติดในวัตถุ ปักหลัก ยื้อแย่ง อำนาจกันปกครองเพื่อให้ได้ประโยชน์จากวัว ให้มากที่สุด ผู้นำจิตวิญญาณเริ่มหมดความหมาย พูดได้ว่า เกิดกิเลส ความละโมบ เพราะยึดติดในวัตถู เหมือนอย่างการเมืองไทยตลอดมาจนบัดนี้ แต่กรณีประเทศไทยต้องเอาวัวออก นั่นคือเอาผลประโยชน์ทุกรูปแบบออก จากระบอบประชาธิปไตย นอกจากเพื่อประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง

ประเทศไทยมีศูนย์รวมอำนาจขนาดใหญ่อยู่ กทม มีนักการเมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ขุนนางทั้งหลาย เป็นตัวจักรขับเคลื่อน หากนับแต่เปลี่ยนการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาก็ไม่น้อยกว่า 77 ปี การรวมศูนย์อำนาจนี้ เป็นที่มาของการยึดโยงอยู่กับระบบอุปถัมภ์ พวกพ้อง เส้นสาย ที่เหล่า นักการเมือง นายทหาร นายตำรวจ ขุนนางทั้งหลาย รวมทั้งพ่อค้าอย่าง คุณทักษิณ กุมอำนาจรัฐอยู่ เหนือประชาชน เอาเปรียบ กลายเป็นศูนย์บริโภคขนาดใหญ่ยักษ์ กาฝาก โกงกินสารพัด (สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเรียกร้องของแกนนำกลุ่มเสื้อแดง กล่าวคือ แกนนำกลุ่มเสื้อแดงบางส่วนเรียกร้องหาความเป็นธรรมในสังคมจริงๆ เป็นพลังจากอุดมการณ์) อย่างที่ท่านหมอประเวส เรียกว่า ธนกิจการเมือง บูรณาการในการโกงกินบ้านเมือง แล้วใช้เงิน อำนาจที่มี สร้างเครือข่าย จัดตั้งแนวร่วม ไว้เป็นฐานรองรับไว้ให้ตัวเองทำงานการเมืองได้ตลอดเวลา

กรณี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ แจกที่ดินสหายและครอบครัวละ 15 ไร่ ให้แก่ จินเป็ง อดีตผู้นำ คจม.(โจรจีนคอมมูนิสต์มาลายู) ปี พ.ศ. 2532 เพื่อให้ยุติการทำงาน ไปทำมาหากิน ไปเป็นผู้พัฒนาบ้านเมือง พร้อมแปลงให้เป็นสัญชาติไทย สร้างถนนหนทางให้ไปอยู่ในหมู่บ้าน ต่อมาใช้ชื่อว่า หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ส่วนเครือข่าย สมาชิก จคม. ต่างๆ ก็สลายตัวไป อาวุธต่างๆก็ยึดไปทำลาย จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เหมือนรัฐบาลสหรัฐ แจกวัวให้ ชนเผ่า Apache



























วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่ 7)

องค์กรไร้หัว หรือองค์กรกระจายอำนาจ นี้ หัวใจอยู่ที่อุมดมการณ์ (Idealism) เป็นความเสียสละของสมาชิก ในเครือข่าย ทำเองด้วยความเต็มใจ ไม่มีค่าจ้าง

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบสามจังหวัดภาคใต้

1. การเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของเครือข่าย

1.1 คน คัดเลือกคนที่มีจิตใจที่ดี คิดบวก จิตใจเอื้อเผื้อเผื่อแผ่ ของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ โดยเฉพาะที่สัมผัสกับประชาชนโดยตรง เพื่อค่อยๆสร้างความประทับใจ ภายในใจพี่น้องมุสลิม อย่าได้โยกย้ายคนที่กระทำความผิด หรือคนที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว มาทำงานในพื้นที่ ตามวัฒนธรรมเดิมๆ


1.2 จัดระบบการศึกษา และหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดแรงงาน มิใช่อย่างปัจจุบันที่ชาวมุสลิมบางส่วน จบการศึกษาแล้วไม่สามารถทำงานได้ เพราะเรียนแต่ หลักศาสนาอิสลาม


1.3 รัฐต้องจัดวางยุทธศาสตร์ของภายใต้ให้ชัดเจน ภาคใต้มีศักยภาพสูงมาก มีวัฒนธรรมหลากหลาย เช่น เน้นเรื่อง การท่องเที่ยว อาหารทะเล อาหารฮาลาล แล้วบูรณาการเชื่อมโยงกับกลุ่มมุสลิมโลก ผ่านประเทศมาเลเซีย นักท่องเที่ยวชาว เมเลย์ และสิงคโปร์ นิยมท่องเที่ยวภาคใต้ของไทยมากๆ


1.4 ให้ชาวบ้านเข้าถึงทุนให้มากขึ้น เช่นธนาคารอิสลาม เพื่อให้ ชาวบ้านนำไปใช้ในการศึกษาต่อ หรือ เป็นทุนประกอบอาชีพ คงจำสลัม Kibera ได้นะ ที่นี่ มีสุภาพสตรีชาวสวีดิช ชื่อ Ingrid Munro อดีตเจ้าหน้าที่การเคหะ ยูเอ็น เข้ามาทำงานช่วยเหลือในสลัมแห่งนี้ เธอเป็นผู้หญิงตะวันตกไม่กี่คนที่เปิดใจ อ้าแขนรับ ชาวสลัม Kibera อย่างจริงใจ โดยไม่สนใจว่าจะเป็นขอทาน หรืออาชญากร จนเป็นที่รักใคร่ของชาวสลัมทุกคน จนมีขอทานกลุ่มหนึ่ง ถามเธอว่า ถ้าเธอไม่อยู่แล้วพวกเราจะทำอย่างไร Mama Ingrid (ชาวบ้านเรียก) ก็บอกว่า ถ้าใครก็ตามสามารถ ออมเงินได้ หนึ่ง บาท เธอจะให้ยีมเงินเพิ่มเป็นสองเท่า ชาวบ้าน ก็รวมกลุ่มกัน เป็นเครือข่าย ค้ำประกันเครดิตกันเอง มายืมเงิน Mama Ingrid ไป ค้าขายตามสภาพ จนพอจะลืมตา อ้าปาก มีงานทำ มีเป้าหมายในชีวิตมากขึ้น ได้ดีกว่าแต่ก่อน ที่ไม่มีอะไรเลย


Microfinance ชื่อ Jamii Bora Trust จึงถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1999

1.5 การจัดตั้งกลุ่ม ให้มากกลุ่มที่สุด ให้ครอบคลุมพี่น้องมุสลิมทุกคน รวมทั้งคนไทยพุทธด้วย เพื่อทำ สานเสวนา (Dialogue) หรือ Sensitivity Training อันนี้ เป็นการทำงานเชิงรุก ให้เจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญ เข้าหาพี่น้องมุสลิม เพื่อสะท้อน วิธีคิด ทัศนคติ และ บุคคลิก แต่ละคน และจะเกิดความไว้วางใจกัน เข้าใจกัน พร้อมกันนี้ก็สื่อถึงเป้าหมาย หรือยุทธศาสตร์ของรัฐ ต่อพี่น้องมุสลิม เช่น จัดเป็นกลุ่มๆละ 10 คน รัฐจ่ายเงิน ให้ชาวบ้าน คนละ 1,000 บาทต่อวัน ต่อคน เป็นต้น


และ ให้เจ้าหน้าที่เก็บ บันทึก ทุกอย่างไว้เป็นฐานข้อมูล








ผู้ชนะที่แท้จริง

ก่อนอื่นขอเสนอให้รัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปยังสถานที่ที่มีรถแก๊ส NGV ที่ผู้ประท้วงนำไปขวางถนนในหลายเส้นทาง ไม่แน่ใจว่า มีแก๊สอยู่มากน้อยแค่ไหน อันนี้อันตรายมากๆ หากเกิดแก๊สระเบิด

ด่วนครับไปเอารถแก๊สออกเลย









ทั้งรัฐบาล และ ผู้ประท้วง ฝ่ายไหนก็ตามที่ยินดียอมเลิกลาก่อน รัฐบาลยุบสภา หรือลาออก ก็เป็นพระเอกผมถือว่าเป็นผู้ชนะ เป็นผู้เสียสละ ฝ่ายผู้ประท้วง สลายการชุมนุมได้เดี๋ยวนี้ ก็เป็น การเสียสละ ที่ไม่สร้างความเสียหายไปมากกว่านี้ ลดความร้อนแรงลงก่อน แล้วค่อย เรียกชุมนุมใหม่ ท่านมีศักยภาพอยู่แล้ว

กรอบความคิดที่ว่า "ยอม" หรือ"โอนอ่อนผ่อนตาม" ก็ถือว่า "แพ้" นั้น คิดบนพื้นฐานของคนที่ไม่รับรู้ ไม่รับฟังอะไรอีกแล้ว เชื่อถือกับสิ่งที่เคยเชื่อถือ เหมือนแก้วน้ำที่มีน้ำอยู่เต็มแก้วตลอดเวลา เต็มน้ำไม่ได้อีกแล้ว เติมก็ล้นออก ซึ่งคนทำงานสาธารณะ ไม่ควรมีเด็ดขาด

ถ้าไม่มีฝ่ายใดเห็นด้วยและกระทำในลักษณะนี้ ก็คงต้องมีการสูญเสียมากแน่นอน แล้วยังไง??
คงเป็นได้แค่บทเรียนอีกบทหนึ่งให้ลูกหลานได้อ่าน แล้วตำหนิ ถึงรัฐบาลผสมประชาธิปัตย์เป็นแก่นนำ และแกนนำกลุ่มเสี้อแดง ...... เห็นแก่ตัวทั้งคู่ไม่มีใครดีไปกว่าใคร

ของฝากถึงนายก.... ไหนท่านบอกว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" ตอนนี้ผมขอทวงสัญญาครับ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ท่านยังมีอนาคต ท่านยังสามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก ครับ แม้นผมจะเห็นท่านยังมีภาวะผู้นำไม่มากพอ


ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่ 6)

ช่วงปี ค.ศ. 1500-1680 กองทัพสเปน ยิ่งใหญ่เกรียงไกรมาก สามารถบดขยี้ชนเผ่า Aztec ซึ่งปัจจุบันเป็น Maxico city มีอารยธรรมรุ่งเรือง มีปิรามิด มีถนนหนทาง ต่อมาก็รบชนะ ชนเผ่า Inca ปี ค.ศ. 1532 และได้พยายามโจมตี ชนเผ่า Apache ปัจจุบันเป็นทะเลทรายในรัฐนิวเม็กซิโก แต่ก็ไม่เคยรบชนะเด็ดขาดเหนือ เผ่า Apache สักครั้ง ทำไม??

เมื่อลงไปดูโครงสร้างการทางสังคม ทั้งชนเผ่า Aztec และ Inca นั้น มีอารายธรรมที่เจริญ มีเมือง มีการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ เมื่อกองทัพสเปนบุกโจมตี เข้าถึงศูนย์รวมอำนาจก็จบ จับผู้นำ จับ กษัตริย์ได้ก็สามารถรบชนะได้ ซึ่งต่างจาก ชนเผ่า Apache ที่ไม่ได้รวมศูนย์ แต่เป็นองค์กรกระจายอำนาจ เป็นเครือข่าย อย่างองค์กรปลาดาว ทุกคนแทบจะเท่าเทียมกัน หัวหน้าเผ่าเป็นเสมือน ตัวเชื่อม่ต่อ(Connector) ไม่มีถิ่นที่อยู่ตายตัว


โยกย้ายไปได้เรื่อยๆ

เวลาจะ โจมตี หรือปราบปราม ที่องค์กรกระจายอำนาจนั้นยากมาก เพราะ มีตัวตายตัวแทน ที่สามารถทดแทนกันได้ทันที หัวหน้าเผ่า Apache เป็นผู้นำทางวัฒนธรรม และจิตวิญญาณ ต่างจากแบบศูนย์รวมอำนาจ อย่าง Aztec และ Inca

เมื่อกองทัพสเปนโจมตี ชนเผ่า Apache ได้ยึดกระโจมที่พักได้ พวก Apache กลับละทิ้งที่อยู่เร่ร่อนไปหาที่ใหม่อย่างนี้เรื่อยไป
ในที่สุดกองทัพสเปนอันเกรียงไกร ก็พ่ายแพ้ต่อชนเผ่า Apache เพราะ มิเพียง กองทัพสเปนจะไม่สามารถรบชนะเหนือชนเผ่าApache ได้แล้ว ยังถูก พวก Apache ตอบโต้กลับ โจมตีกลับ อีกด้วย

จากรูปด้านบน แสดงถึงองค์กรศูนย์รวมอำนาจ มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาและ องค์กรกระจายอำนาจ เป็นเครือข่าย

ชนเผ่า Apache อยู่ได้เรื่อยมานับร้อยๆปี จนแม้ระยะแรกๆ จะถูก คนผิวขาวอย่างอเมริกันที่เข้ามาอยู่ภายหลังในดินแดนทวีปอเมริกา รุกราน ยึดครองพื้นที่ แต่อเมริกันก็ไม่สามารถเอาชนะ ชนเผ่า Apache ได้อีกเช่นกัน



แต่องค์กรกระจายอำนาจก็ใช่ว่าจะไม่มีจุดอ่อน และก็เป็นจุดอ่อนที่แสนจะธรรมดาเสียด้วย




วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552

ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่5)

ปัญหาที่แท้จริงของความไม่สงบของพี่น้องสามจังหวัดภาคใต้ เกิดจากความไม่ได้รับความเป็นธรรม จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาเป็นเวลานานมากๆ ติดต่อกัน ส่วนอื่นๆ นั้น เป็นแค่ตัวเสริม หาได้มีนัยแห่งปัญหาไม่ เหมือน ระบอบประชาธิปไตยไทย นักการเมือง หรือแม้แต่นักวิชาการบางท่าน ก็ชี้ไปที่ กฏหมายรัฐธรรมนูญ แต่ผมยืนยันว่า เป็นเพราะ คน คือนักการเมือง นั่นแหละคือตัวปัญหา เป็นวิกฤตผู้นำ และโปรดอย่าได้เข้าใจผิดว่า เป็นเพราะ นักการเมือง ถูกทำให้ติดอยู่ที่บ้านเลขที่ 111 นะ เป็นมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว

และก็เป็นเหมือนกันทั่วทั้งโลก แต่ดีกรี ความเข้มข้น เงื่อนไข วัฒนธรรมต่างกัน



กลุ่มบุคคลทีก่อความไม่สงบ ในภาคใต้นั้น เป็นเครือข่าย หรือเป็นองค์กรปลาดาว ที่ไม่มีหัวหน้า ไม่มีศูนย์บัญชาการ ไม่มีสำนักงาน แต่ทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย และเป็นเครือข่ายภายในประเทศไม่ว่าจะอยู่แห่งหนไหนก็สามารถ ติดต่อถึงกันได้ ตลอดเวลา เครือข่ายองค์กรปลาดาวลักษณะนี้ ปราบปรามใช้กำลังไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่า อันไหนหัว ใครเป็นผู้นำ ยิ่งปราบปราม ยิ่งใช้กำลัง ยิ่งเพิ่มจำนวนแนวร่าม เหมือนปลาดาว เวลาใครไปตัดตัวปลาดาว เป็นสองส่วน ปลาดาวก็ไม่ตาย ปลาดวงเป็นสัตว์ไม่มีสมอง กลับกลายเป็นปลาดาวสองตัว เมื่อเวลาผ่านไป

สิ่งที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา George W. Bush และฝ่ายบริหาร ทุ่มงบประมาณมหาศาลต่อสู้ ไล่ล่า บิน ลาดิน และแกนนำคนสำคัญนั้น โดยคิดว่า เมื่อเด็ดหัวบุคคลเหล่านี้ได้แล้วคงทำให้เครือข่าย Al Qae da อ่อนแรงลงไปเองจนในที่สุด จะความคุมได้ และคงหมดไปได้ในที่สุด และแม้นจะจับได้แกนนำคนสำคัญไปหลายคนแล้ว เครือข่าย Al Qae da ก็ยังเป็นภัยคุกคาม สหรัฐอเมริกาเช่นเดิม และผมก็คิดว่า เพิ่มจำนวนมากขึ้นมากว่าแต่ก่อนมากนัก และกระจายตัวไปทั่วโลกในหมู่พี่น้องมุสลิม

ที่ Kibera เป็นสลัมที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา แต่อยู่ชานเมืองไนโรบี ประเทศ เคนยา พื้นที่สลัมแห่งนี้ มีประมาณ 1,800 ไร่ แต่มีคนอยู่อาศัยร่วม 1 ล้านคน กับสภาพ ไม่มีไฟฟ้า น้ำประปา ไม่มีระบบสุขาภิบาลอื่นๆ พื้นเป็นโคลน หลังคาบ้านเป็นเพิงทำจากกระป๋องดีบุกเก่าๆ บ้านขนาด 9*9 ฟุต บ้านแต่ละหลังมีผู้อาศัยเฉลี่ย 10 คน กับห้องที่ กั้นเพียงผ้าเก่าๆ อายุเฉลี่ยของคนในสลัม Kibera นี้อยู่ที่ 38 ปี และมีแนวโน้มจะต่ำลงอีก ที่สำคัญ ...ทุกคนเป็นมุสลิม (From..The star fish and the spider: The unstopable power of leaderless organizations - by Ori Brafman and Rod A. Bectstom)

แม้ว่า ผู้คนในสลัมแห่งนี้จะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรเลย แต่ก็ รู้ได้ว่า คนมั่งมีเค้ามีอะไรกันบ้าง ใช้ชีวิตกันอย่างไร อ่างอาบน้ำจากุ๊ชชี่เป็นอย่างไร รถยนต์สปอร์ตหรูๆ เป็นอย่างไร คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกถึงความไม่พอใจในวัฒนธรรมตะวันตก ที่ไหลกระแทกชีวิตพวกเขา การแสดงออกของความไม่พึงพอใจ แสดงออกมาอย่างสุดโต่ง ถ้าคุณอยู่ในสลัมแห่งนี้ คุณไม่สามารถ ตั้งกองทัพได้แน่ แต่คุณ เป็นแนวร่วม เป็นเครือข่ายให้ใครได้ สร้างเครือข่ายเองได้
และเครือข่าย Al Qae da ก็เข้าถึงสลัมแห่งด้วยเช่นกัน ผู้คนที่นี่ ติดต่อกันด้วย โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอีเมล สามารถติดต่อกับ ที่อื่นๆได้สะดวกมากๆ ไม่ว่าจะเป็น ที่นิวยอร์ค มิวนิค หรือ เครือข่ายในกรุงคาบูล

ก่อนหน้าจะมี เหตุการณ์ 9/11 ถล่มตึกworld Trade ในสหรัฐอเมริกา ถามว่า เครือข่าย Al Qae da โยงใยมากมายขนาดนี้หรือไม่








ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่4)

ปัญหาอื่นๆ ที่ผมไม่คิดว่ามีนัยแห่งปัญหา แต่เป็นตัวเสริม หรือ ตัวประกอบมากว่า อันได้แก่



1. การแบ่งแยกดินแดน โดยกลุ่มมุสลิมต่างๆไม่ว่าจะเป็น พูโล (PULO), BRN, เบอร์ซาตู (BERSATU)ซึ่งอ่อนกำลังไปหมดแล้ว เพราะไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง จึงขาดเครื่องมือ คือเงิน แต่นโยบายรัฐก็มุ่งมาทางนี้ (ไม่รู้ใครคัดท้ายเรือ เก่งจริงๆ)

2. นักการเมืองทั้งท้องถิ่นและ ระดับชาติ ที่ทั้งทำเอง และให้ความคุ้มครองพ่อค้าทำผิดกฏหมาย ทั้งสินค้าหนีภาษี น้ำมันเถื่อน หวย บ่อนเถื่อน ยาเสพติด สารพัด พวกนี้มักคอยฉวยโอกาสก่อความไม่สงบ เป็นครั้งคราวเพื่อเรียกร้องความสนใจ โชว์พลัง เมื่อผลประโยชน์ที่ได้รับเริ่มกระทบกระเทือน (คนในพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งอดีตและปัจจุบัน น่าจะรู้ดี)

3. เจ้าหน้าที่บางคน ที่ถูกกระทบจากผลประโยชน์ที่เคยได้รับจาก "งบลับ" และหรือผลประโยชน์ในพื้นที่



ผลประโยชน์ในพื้นที่ทางภาคใต้นั้นมหาศาล และนโยบายรัฐบาลทุกยุกต์ทุกสมัย ให้ความสนใจน้อยมาก ปล่อยปละ ละเลย ปัญหา ทั้งเรื่องการศึกษา คุณภาพชีวิต ปัญหาปากท้อง โดยเฉพาะพี่น้องมุสลิม รัฐบาล หรือนักการเมือง ไม่เข้าใจวีถีชีวิต จิตวิญาณของพี่น้องมุสลิมในภาคใต้ จึงออกนโยบาย ไม่เอื้อต่อสภาพความเป็นจริง ที่พี่น้องมุสลิมต้องการ ในเมื่อ คนของรัฐ ไม่เข้าใจ ในปัญหาที่เกิดขึ้น จึงไม่สามารถ เข้าถึง และพัฒนาได้ ตามพระบรมราโชวาท



ในตอนต่อไปเรามาดูกันว่าจะมีทางออกอย่างไร?

ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่3)

นับตั้งเดือนมกราคม 2004 จนถึงสิ้นปี 2008 เป็นเวลา 5 ปี ที่เหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ปะทุขึ้น เกิดเหตุความไม่สงบ 8,541 ครั้ง(เฉลี่ย 4.75 ครั้งต่อวัน) มีผู้เสียชีวิต 3,287 (เฉลี่ย 1.83 คนต่อวัน) ราย บาดเจ็บ 5,409 ราย (ข่าว) รัฐบาลใช้ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ประมาณ 60,000 คน งบประมาณปีละ 40,000 บาท (ข่าว)

ถามว่า ความเข้มข้น ของความไม่สงบในภาคใต้ลดลง หรือมีแนวโน้วจะลดลง หรือคลี่คลายไปในทางที่ดีหรือไม่ ตอบว่า ยังเลย มีแต่พนักงาน เจ้าหน้าที่ชั้นสูง และนายกรัฐมนตรี เท่านั้นที่คอยให้ข่าว ว่าดีขึ้น อย่างโน้น อย่างนี้ อย่า..มุสา !!

แสดงว่ารัฐบาล แต่ละช่วง ขาดความเข้าใจในปัญหาอย่างสิ้นเชิง จึงออกนโยบายผิดๆ เพราะคิดไม่ถูก คนที่คิดไม่ถูกต้อง อย่างหวังว่าจะทำ หรือปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่ใช่ ล๊อตเตอรี่ ที่ฟลุ๊คถุกได้



นักการเมืองอาสาเป็นตัวแทนเรา เข้าไปใช้อำนาจในการปกครอง และบริหารเงินภาษีอากรของเรา แต่ บ่อยครั้งหรือแทบทุกครั้ง เราไม่สามารถเข้าถึง ตรวจสอบ การทำงานอะไรได้เลย ที่สำคัญมันกระทบวิถีชีวิตเรา ให้แย่ลง ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
เมื่อโลกที่เคยติดต่อเชื่อมโยงถึงกัน อย่างยากลำบาก ได้ถูกทำให้แบนราบลง อุปสรรค์ขวากหนาม ต่างๆ ถูกขจัดออกไปตามโลกาภิวัฒน์ 3.0 (จะได้กล่าวในภายหลัง) ผู้คนทั่วทั้งโลก เข้าถึง เชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์กันในแนวระนาบ โยงใยเป็นเครือข่าย ตามความสนใจ ความชอบส่วนบุคคล ความอิสระ เสรีภาพในการเลือกอยู่ในมือของทุกคน ดังนั้น ขอย้ำและยืนยันว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) ที่เราใช้อยู่นั้น ไม่สอดคล้อง ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

สิ่งที่นักการเมืองไทยกำลังคิดและทำอยู่ในปัจจุบันนี้ มันเป็นวิธีคิด ของโลกยุกต์เก่า ที่ต้องคิดและทำอะไรแบบหลบๆซ่อนๆ เป็นอีแอบ เมื่อตกลงในผลประโยชน์ หรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกันเองได้ ก็ปรกติราบรื่นดี แต่หาก เกิดความขัดแย้งกัน ตกลงกันไม่ได้ แบ่งปัน "เค้ก" ระหว่างกัน ไม่ลงตัว ก็จะมีตั้งแต่ "แฉ" ผ่านสื่อ ไป เรื่อยๆ จนถึงจัดตั้งมวลชน เป็นฐาน ก็อย่างที่เห็นที่เป็นอยู่เวลานี้

ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่2)

ในตอนที่1 ได้กล่าวถึง ความไม่เป็นธรรมในสังคม ที่พี่น้องชาวมุสลิมได้รับ นั้นเป็นสาเหตุหลัก ของการก่อความไม่สงบขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้



สื่อกระแสหลัก อย่าง ทีวี หนังสือพิมพ์รายวัน เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ทำให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน ใช้ในการบิดเบือนข่าว บิดเบือนข้อเท็จจริง ออกสู่สาธารณชน ให้พี่น้องมุสลิมกลายเป็นผู้ร้าย เป็นคนร้าย เป็นคนไม่ดีต่างๆนานา ไม่ได้กระทำความผิด ก็ กลายเป็นผู้กระทำความผิด ถูกทรมานให้รับสารภาพ ก็ เป็นข่าวน้อยมาก ถูกอุ้ม ฆ่า หาศพไม่พบ ก็ไร้คนติดตามดูแล ไม่เป็นข่าว เสียเงินทอง เสียเวลา สิ่งเหล่านี้ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ได้ถูก สื่อกระแสหลัก อย่าง ทีวี และหนังสือพิมพ์รายวัน ได้ตีข่าว ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงบ้าง ไม่ครบถ้วนบ้าง ผู้เสียหายก็ ทำอะไรไม่ได้ อัดอั้น ไม่มีพื้นที่ ไม่มีเวทีให้ชี้แจง สุดท้ายก็สุดแท้แต่เจ้าหน้าที่



โดยธรรมชาติของนักข่าวมักจะคุ้นเคย กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากเป็นผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรม หรือเจ้าพนักงานด้านอื่นๆ เช่นทหาร นักข่าวก็จะคุ้ยเคย พึ่งพาอาศัยกัน ในบางเรื่อง บางครั้ง บางตอน ในกรณีข่าวอาชญากรรม ในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ก็จะทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่เหล่านี้อยู่บ่อยๆ บ่อยครั้งก็ หยิบข่าวจาก สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนไปทำข่าวต่อ โดยไม่ได้ตรวจสอบ พูดได้ว่า ไม่ได้ทำข่าวเอง หรือไม่ก็ ทำข่าวเอง แต่ถูกขอร้องให้เขียนข่าวอีกอย่าง ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง นักข่าว หรือผู้สื่อข่าว ไม่รู้จักผู้เสียหาย แต่รู้จักคุ้นเคย กับเจ้าหน้าที่ การกระทำทำนองนี้ เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งที่เป็นข่าว เมื่อผู้เสียหายร้องเรียน กรณีถูกทรมานให้รับสารภาพด้วยการใช้ตะเกียบดีดไข่ แต่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้น ก็แค่ย้ายออกนอกพื้นที่ คนใหม่เข้ามา ก็ กระทำเหมือนเดิม หรือไม่ก็กระทำหนักยิ่งกว่าเดิม เพื่อ แก้แค้นพรรคพวกที่ถูกร้องเรียน ยิ่งเพิ่มความเครียดแค้น ชิงชัง ในหมู่พี่น้องมุสลิม สะสม รอรางวัลที่1 ออก

ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่1)

พี่น้องชาวมุสลิมทางภาคใต้ โดยเฉพาะ สามจังหวัด ที่กำลังปะทุเป็นพลุแตกขณะนี้ เกิดจากความไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งถูกปฏิบัติเยี่ยงพลเมืองชั้นสอง จากเจ้าหน้าที่รัฐ และสื่อกระแสหลัก อย่างหนังสือพิมพ์ และทีวี บางคนฉงนใจว่า สื่อเกี่ยวข้องได้อย่างไร ?? สาเหตุอย่างอื่นๆนั้น เป็นตัวหลอก ไม่มีนัยแห่งปัญหา

ความเป็นธรรมในสังคม (Social justice) จะเกิดขึ้นได้ในสังคมก็ต่อเมื่อ สังคมนั้นต้องปฏิบัติต่อกันอย่าง
เสมอภาค ด้วยจิตเคารพรัก (Respectful mind) เห็นคุณค่าของคนเสมอเหมือนกัน ยึดถือตัวหนังสือ คือกฏหมาย ไม่ว่าคนกระทำความผิดกฏหมายนั้น จะยากดี มี จน ยศมาก น้อยแค่ไหน ก็ต้องใช้ปทัสถานเดียวกัน ไม่ใช่คนบางคนทำผิด ก็ช่วยเหลือกัน จนพ้นผิด พวกมากลากไป ไม่มีพวกก็ รับกรรมไป ไม่มีเงินทองทรัพย์สมบัติ ก็ ติดตุกติดตะรางไป เลือกใช้ เลือกปฏิบัติ อย่างไร้ยางอาย อย่างที่เป็นอยู่ในสังคมไทยมาเนินนาน ทุกคนที่เอาเปรียบคนอื่น เล่นพวก พ้อง ควรถอยออกมาจากวงกลมที่เป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Domains) เพราะ ถ้าคนบางคน บางกลุ่มทำได้ คนอื่นๆ ก็จะพยายามหาทางทำให้ได้เช่นกัน ไม่มีใครกลัวใคร ไม่มีใครยอมใคร หาพวกพ้องช่วยกัน หาเงิน หาทองมาใช้หาอำนาจ คนมีอำนาจ ก็ใช้หาเงินทอง พวกพ้อง ลากกันไปแบบผิดๆ คนที่ทำตรงไปตรงมาก็กลายเป็นแกะดำ ถูกมองว่าโง่ เต่า กลายเป็นค่านิยมที่ผิดเพี้ยนไป นำไปสู่วงจรอุบาทว์ (แกนนำคนเสื้อแดงก็พยายามยกลิ่งเหล่านี้มาต่อสู้ แต่ในหลายๆบทบาทตัวเองเป็นผู้กระทำต่อผู้อื่นเสียเอง)

ในหนังสือเรื่อง "การต่อสู่ครั้งสุดท้าย" หรือ The Last War ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นั้นก็ยัง กำหนดยุทธศาสตร์ไม่ถูกต้อง ใช้ไม่ได้ผล ที่ใช้ "ทฤษฏีดอกไม้หลายสี"(ข่าว) ต่างฝ่ายต่างถอยคนละสามก้าว ผู้ก่อความไม่สงบตาบอดสี คือไม่สนใจ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จะให้ใครถอย คนละก้าว ? เพราะเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่า ใครเป็นหัวหน้า ใครเป็นแกนนำของผู้ก่อความไม่สงบ ที่จริงแล้วไม่มีด้วยซ้ำ เป็นเหมือนองค์กรปลาดาว เป็นเครือข่าย ทุกคน มีศักดิ์และสิทธิ์ ใกล้เคียงกัน ผู้ก่อความไม่สงบ ก็คือพี่น้องชาวมุสลิม ลูกหลานพี่น้องชาวมุสลิม นั่นเอง เมื่อก่อการเสร็จ ก็เป็นพี่น้องมุสลิมทั่วไป เว้นแต่จำตัวได้ขณะกระทำความผิด ผู้ก่อความ่ไม่สงบบางคน ครอบครัว ยังไม่ทราบด้วยซ้ำ เพราะแค้นฝังหุ่น ที่ถูก เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เฉพาะ ตำรวจ ทหาร รวมถึง ข้าราชการ อื่นๆ ด้วย กระทำต่อ ปฏิบัติต่อพี่น้องชาวมุสลิม อย่างไม่เป็นธรรม มาเป็นขั่วอายุคน แต่เวลาระบายความแค้น เวลาก่อความไม่สงบเลือกกระทำต่อเจ้าหน้าที่รัฐได้ก็เลือก ถ้าเลือกไม่ได้ก็ ขอให้เป็นคนไทยพุทธเท่านั้น

เพราะ เป็นความยินดี เห็นดีเห็นงามด้วยของพี่น้องมุสลิมในสังคมชาวมุสลิมกันเอง ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมมาเนินนาน กล่าวคือชาวบ้านนั่นแหละ ทำกันเอง ก่อการเสร็จ ก็กลับเป็นพลเมือง เหมือนเดิม เหมือนไม่รู้ไม่เห็น สบโอกาสก็ทำอีก เจ้าหน้าที่รัฐจึงปราบไม่ได้ เพราะ ทำการข่าวไม่ได้ผล พี่น้องมุสลิมไม่เป็นสายส่งข่าวให้ เรียกว่า ไม่ไว้วางใจไม่เอาด้วย หวาดกลัว ลนลาน เมื่อพบเจอเจ้าหน้าที่รัฐ กลัวจนระแวงว่า เจ้าหน้าที่รัฐเช้ามาในพื้นที่จะมาทำอะไรพี่น้องเค้าอีก

เพราะ ถูกเจ้าหน้าที่รัฐเอารัดเอาเปรียบ อุ้ม ฆ่า ทรมานสารพัดวิธี ตั้งแต่ใช้ตะเกียบดีดไข่ ซ้อม (ตัวอย่างข่าว) ให้รับสารภาพ ยัดคดี ยัดข้อกล่าวหา จับเป็นแพะ โดยไม่ให้ความเป็นธรรม ไร้ความปราณีด้วย และทำติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า สามสิบ ปี

ฟางเส้นสุดท้าย ถูกใส่ไว้บนหลังพี่น้องชาวมุสลิมจนเกิดเหตุไม่สงบเรื่อยมานี้ เมื่อสมัย อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ตอนใช้นโยบายปราบปรามยาสิพติด เจ้าหน้าที่ตำรวจฆ่า(ข่าว) อุ้ม ตัดตอนพี่น้องมุสลิม ไปมากมาย ความอดทน อดกลั้นก็ขาด มลายหายไป เหลือไว้แต่ความชิงชัง เครียดแค้น เป็นลัทธิเอาอย่าง บินลาเดน กระทำต่อ สหรัฐอเมริกา

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

เป็นที่น่าเสียดาย ที่ประเทศไทยมีความเพียบพร้อมทุกอย่าง ทุกด้าน ยกเว้น ประสิทธิภาพของคน หรือเรียกง่ายๆ ว่า คนไม่เก่ง โดยเฉพาะ คนของรัฐ รวมทั้งนักการเมือง และบ้านเมืองกำลังเดินมุ่งหน้าไปสู่ความวิบัติ ด้วยอัตราเร่ง

ทำไมถึงพูดอย่างนี้ ... ก็เพราะว่า หากเรานึกตรึกตรองดู ในสถานะการณ์ที่บีบคั้น หรือ ฉุกเฉิน อย่างกรณี การประท้วง โดยม๊อบต่างๆ เป็นตัวอย่าง นักการเมือง รวมทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ทำได้อยู่สองแนวทาง กล่าวคือ ยืนตรึงกำลังเฉยๆ หรือพูดได้ว่า ยืนเฉยๆ กับ กระทำการรุนแรงไปเลย นั่นคือ ปราบปราม ใช้กำลัง ใช้อาวุธ เลือดตกยางออก มีการสูญเสีย เกิดขึ้น ซึ่งถนัดด้วยนะทั้งสองแนวทางดังกล่าว

แต่แนวทางที่สร้างสรรค์ ที่ใช้องค์ความรู้ทั้ง ศิลปะ ต่างๆ ไม่มี หรือมีก็น้อยมาก ที่จะทำให้เหตุการณ์ยุติโดยสงบ เรียบร้อย ที่ทุกคนรู้สึกถึง คุณค่าของอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วย

การเมืองไทยคงแก้ไขได้ยาก หรือพูดได้เลยว่า แก้ไขไม่ได้เลย หาก ยังคงยึดรูปแบบการเมืองเดิมๆ คนเดิมๆ วิธีคิดเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ก็ได้เหมือนเดิม

ต้องมี "ระบบการคัดกรองนักการเมือง" ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy) ไม่สอดคล้องกลับสภาวะบนโลกที่แบนราบลง อีกต่อไป เพราะ ประชาชน สามารถ เข้าถึง จัดการได้เอง ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีที่มีพร้อมมูล โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวแทนจัดการ หรือทำแทนให้

วันนี้ และวันต่อๆไป ถือเป็นการสูญเสียของชาติและประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ที่ กลุ่มคนเสื้อแดง ผู้ประท้วง ไปปิดล้อมสถานที่ โรงแรมที่จัดประชุม อาเซียนบวก 6 และ โรงแรมที่พักของผู้นำปรเทศต่างๆ ต้องล่มกลางคัน จนเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินร้ายแรง ในจังหวัดชลบุรีเครดิตของประเทศที่เคยสงบ สุข เมืองแห่งรอยยิ้ม ถูกทำลายลงด้วยคนเพียงน้อยนิด ครั้งแล้วครั้งเล่า

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

The Future Cable T.V. Online Ads Targeting

จะเป็นรูปแบบการโฆษณาออนไลน์ ในเคเบิ้ลทีวี ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อเราเห็นโฆษณารถยนต์ในเคเบิ้ลทีวี (รูปแบบเหมือนทรูวิชั่น) ขั้นระหว่างชมรายการโปรด จะมีปุ่มโผล่ขึ้นมา(10วินาทีปุ่มจะหายไปเอง)ให้คลิกเลือกว่า ต้องการจะรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ หากต้องการ เราแค่คลิกที่รีโมท วันรุ่งขึ้นจะมีข้อมูลเรื่องรถยนต์ที่เราเห็นโฆษณา ส่งมาให้ถึงบ้าน อย่างครบถ้วน

ในเบื้องหลังนั้น ผู้ให้บริการเคเบิ้ลทีวี จะมีโปรแกรม ให้ลูกค้าได้เลือกว่า ต้องการจะรับชมโฆษณาขณะชมรายการต่างๆทางเคเบิ้ลทีวีหรือไม่ ถ้า ต้องการ ผู้ให้บริการจะคิดราคาค่าชม หรือค่าสมาชิกต่อเดือนในราคาที่ลดลง เช่น ถ้าไม่ต้องการชมโฆษณาใดๆเลย จะคิดราคา 29.99 เหรียญต่อเดือน หาก รับชมโฆษณาติดมาด้วยจะลดเหลือ 9.99 เหรียญต่อเดือน หรือไม่ก็ฟรี เป็นต้น

ในส่วนของผู้โฆษณานั้น จะต้องจ่ายค่าโฆษณาให้กับบริษัทเคเบิ้ลทีวี ตามอัตราที่กำหนด(Fix Rate) หรือ คิดตามผู้เห็นโฆษณาต่อพันคน (CPM-Cost Per Impressions) หรือ คิดราคาต่อเมื่อ มีผู้คลิกที่ปุ่มที่สนใจ(CTA-Click Thru Action) ทั้งนี้ ผู้ให้บริการเคเบิ้ลทีวีทุกรายจะมีโปรแกรมระบบวิเคราะห์ (Analytics) ติดตาม รายงาน ผลงานตลอดทุกขั้น ทุกตอน เพื่อให้ผู้โฆษณาได้ทราบความเคลื่อนไหวของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

การตลาดในเชิงรุก จะใช้เพียงข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ (Demography) เช่น เพศ การศึกษา รายได้ อายุ ถิ่นที่อยู่ เหล่านี้ไม่เพียงพอเสียแล้ว นักการตลาดจึงต้องอาศัยข้อมูลด้าน พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior) เช่น ทัศนคติ แนวความคิด ความชอบ-ไม่ชอบ มาประกอบกันเพื่อให้นักการตลาดให้ใช้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้แม่นยำยิ่งขึ้น

When times are good you should advertise, when times are bad you must advertise.

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

ลัทธิเอาอย่าง

เมื่อความเป็นธรรมในสังคมหลือน้อย หรือ เจ้าพนักงาน เลือกบังคับใช้กฏหมาย กับกลุ่มคน หรือบุคคล และหลักแห่งความดี ความถูกต้อง เหมาะสม ถูกลืมเลือน มานาน ก็จะเกิดลัทธิเอาอย่าง จากกลุ่มคนที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ลุแก่อำนาจ ปิดถนนบ้าง บุกยึดสถานที่ราชการบ้าง ปิดสนามบิน บ้าง เหตุการณ์เหล่านี้ ก็จะถูก เอาไปนำไปทำเป็นแบบอย่าง ครั้งแล้ว ครั้งเล่า รุกลามไปถึงบทบาทของเอกชน พนักงานโรงงาน ออกมาปิดถนน โดยปราศจากการจัดการโดยเจ้าพนักงานของรัฐ รีบกระทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่ความเป็นปรกติสุขได้ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง เช่น ประกาศเตือนให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่ก่อน ให้สื่อมวลชนตามไปทำข่าวหลายๆแขนงอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่รัฐจัดการกับผู้ประท้วงอย่างไร โดย จัดเจ้าหน้าที่ และรถให้มากพอเพื่อเข้าอุ้ม หรือ พยุงผู้ทำความเดือดร้อนให้ออกจากสถานที่นั้นๆ โดยเร็ว ด้วยความเมตตาได้ หากมีผู้ฝ่าฝืน ไม่ยินยอมก็ ใช้เจ้าหน้าที่ สองคน อุ้มหนึ่งคนออกไป หากมีผู้ประท้วงทำร้ายเจ้าหน้าที่ ก็สามารถ แจ้งข้อหา และจัดการไปตามกฏหมายต่อไป
หากเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ คอยแต่จะมองหน้านักการเมือง ว่า"ส่ายหน้า" หรือ "พยักหน้า" อย่างที่เป็นอยู่ บ้านเมืองคงพินาศ เพราะ เจ้าหน้าที่ไม่กล้ากระทำการใดๆ ฝ่ายผู้ประท้วงก็ ได้ใจ กดดัน ฮึกเหิม โดยไม่สนใจใครใดๆทั้งสิ้น จนกว่าจะบรรลุผลข้อเรียกร้อง แต่ประเทศชาติ และประชาชน 99.70% ของประเทศ เดือดร้อนแสนสาหัส

ถ้าการประท้วงโดยสันติปราศจากอาวุธ ก็น่าจะจัดการได้ตามที่กล่าวได้ ถ้ากลุ่มผู้ประท้วงละเมิดสิทธิผู้อื่น ละเมิดผู้สัญจรไปมา เว้นแต่ ผู้ประท้วงมี "กองกำลังติดอาวุธ" คอยพิทักษ์รักษากลุ่มตน ดั่งผู้ประท้วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นเรื่องแปลก(ที่มีกลางเมืองหลวง) และน่ากลัวมาก

ในแง่ของรัฐบาลไม่ว่ารัฐบาลไหน หากไม่สามารถจัดการบริหารบ้านเมืองให้เป็นปรกติสุขได้ ก็สมาควรลาออกไปซะ แสดงความรับผิดชอบซะ อย่าอ้าง เรื่องโน้น เรื่องนี้ ดื้อด้าน มีอำนาจอยู่เต็มมือแท้ๆ แต่ใช้บริหารไม่ได้ บริหารไม่เป็น ต้องเร่ร่อนไปประชุมที่โน่นที ที่นี่ที ไร้ยาง...จริงๆ

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

ความรักในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (Philanthropy)

ปี ค.ศ. 1912 ในประเทศเยอรมนี ขณะนั้น ปลุกระดมคนในประเทศให้เกลียดเพื่อนบ้าน หรือประเทศข้างเคียง "จงเกลียดเพื่อนบ้าน" ข้อความเหล่านี้ติดไปตามบ้านเรือนทั่วประเทศ 2 ปีต่อมา เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 1914-1918) โดยไม่มีเพื่อนบ้านเป็นพันธมิตร และ มีคนตายและสูญหายมากถึง 40 ล้านคน

กลุ่มแกนนำคนเสื้อเหลือง ชุมนุมประท้วง หลายหน หลายครั้ง ครั้งละเป็นแรมเดือน หรือ หลายเดือน ปราศัย ยุยง ให้คนในชาติเกลียดกัน ด้วยข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง แต่ทำทุกวิถีทางให้ได้รับชัยชนะ (แต่ก็ยังไม่เห็นว่าจะชนะตรงไหน) จ้างวานคนมาร่วมชุมนุม
12 วันของการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง แกนนำปราศัยยุยงทำนองเดียวกัน ยุยงให้คนเกลียดกัน ลงลึก บาดร้าว ราวกับว่า "มีเราต้องไม่มีเขา" คำว่า "สงครามประชาชน" "เลือดทาแผ่นดิน" "ถ้าไม่ได้รับชัยชนะก็ตายกันไปด้วยกัน" คำเหล่านี้ กระตุ้นอยู่ในจิต ตอกย้ำจำลึกสู่คนผู้ร่วมชุมนุม คำปราศัยต่างๆ ข้อเท็จจริงที่ยากจะตรวจสอบได้ ดังที่ผู้นำปราศัยยกกล่าวอ้าง และ ด้วยความโน้มเอียงของผู้ร่วมชุมนุมที่จะเชื่ออยู่แล้ว







เมื่อผู้คนหมู่มากอยู่ร่วมกันด้วยเหตุผลเดียวกัน และมีตัวเร่งปฏิกิริยา(ผู้ก่อการ,แกนนำ) คอยกระตุ้น เตือน ตอกย้ำ ให้ฮึกเหิมเมื่ออารมณ์คนเข้มข้นได้ที่ และมีมากพอ (ผู้ก่อการจะรู้ดีว่าเป็นอย่างไร) เมื่อเคลื่อนขบวนไปที่ใดก็ตามที่เป็นเป้าหมาย ย่อมมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดเหตุร้าย เช่น เผา ทำร้ายร่างกาย หรือฆาตรกรรม หรือ ประชาทัณฑ์ จะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าเจตนา จงใจทำให้เกิดเหตุร้าย เพราะมีแผน มีกระบวนการมาเป็นลำดับ

แล้วอย่างไร...? เกิดความสูญเสียอย่างไม่ควรจะเกิด ผู้ก่อการก็มักมีสูตรว่า ผม/ฉันไม่รู้ ไม่ได้ให้ไปทำ ใครทำก็จัดการกับคนนั้น แล้วก็หายตัวไป ไม่ต้องรับผิดชอบ ที่พาคนไปตาย หรือไปทำให้คนอื่นตาย หรือ ทรัพย์สินเสียหาย ได้ความสะใจ ส่วนตัว ได้แก้แค้น มีแต่ มิจฉาทิฐิ (ความหลงผิด)

แกนนำทั้งเสื้อสีเหลืองและสีแดง ไม่สมควร ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ เราไม่ควรทำตาม เชื่อฟัง หรือให้คนเหล่านี้สนตะพาย จูงไป เพราะคนเหล่านี้ ขาดทั้งจิตเคารพรัก(Respectful mind) และ จิตจริยธรรม (Ethical mind) ไม่มีความรักในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (Philanthropy) ถ้าจะมีก็มีแบบปลอมๆ เทียมๆ เช่น

จิตเคารพรัก(Respectful mind) ปลอมๆ จะแสดงให้เห็นเหมือนมีความอดกลั้น ไม่พยายามทำความเข้าใจ หรือร่วมทำงานให้ได้อย่างราบรื่น ให้ความเคารพแก่เฉพาะคนที่มีอำนาจสูงกว่าเท่านั้น กลับดูหมิ่น เหยียบหยามคนต่ำต้อยกว่า เลือกตอบสนองเฉพาะคนให้คุณให้โทษได้

จิตจริยธรรม (Ethical mind) ปลอมๆ มักพูดถึงแต่เรื่องของความดี และความรับผิดชอบ แต่ไม่ทำ (ดีแต่พูด) มีพฤติกรรมไร้จริยธรรมในวงกว้าง หน้าฉากอย่างหลังฉากเป็นอีกอย่าง รู้เรื่องทุกอย่าง ว่าอะไรควรไม่ควร เหมาะไม่เหมาะ ความดี ความชั่ว แต่ตัวเองทำไม่ได้

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552

สานเสวนา (Dialogue) และ Sensitivity Training (ตอนที่2)

Sensitivity training เป็นการทำกลุ่มเหมือนกับ สานเสวนา เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา เพื่อให้แต่ละท่านสะท้อน ตัวตนให้ผู้อื่นได้ฟัง ได้รับรู้ ว่า เรานั้นมีบุคคลิกอย่างไร ชอบไม่ชอบอย่างไร มีทั้งดีและไม่ดีอย่างไร

ส่วนหลักเกณฑ์ และเป้าหมายน่าจะ เหมือนกัน นั่นคือ ต้องการให้เกิดการยอมรับในความต่างกัน ทั้งทำ และคิดที่ต่างกัน แต่สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดกฏหมาย สิทธิส่วนบุคคล กันอย่างรุนแรง

Sensitivity training กระเทาะ สะท้อนตัวตนใด้ลึกซึ้งกว่า

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

สานเสวนา (Dialogue) และ Sensitivity Training ( ตอนที่1)

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่สภาพัฒนาการเมือง ของสถาบันพระปกเกล้า ให้ความสำคัญ นำวิธีการสานเสวนา (Dialogue) มาช่วยในการประสานรอยร้าว ความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้คนในสังคม และมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธอีกฝ่าย และรุนแรงมากขึ้น

สานเสวนา (Dialogue) เป็นเครื่องมือในการใช้กลุ่มบุคคลเล็กๆ มาสะท้อนความรู้สึก นึกคิด ของแต่ละคน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน(Interpersonal understanding) และยอมรับกันเพื่อให้อยู่ร่วมในสังคมเดียวกันได้ แม้จะคิดและทำต่างกัน
หลักการของ การใช้สานเสวนา (Dialogue)
1 ฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening)
2. รู้สึกเป็นอิสระ สบายๆ (Feel free)
3. ทุกคนเท่าเทียมกัน (Peer-to-peer practice)

ถึงแม้นว่า การใช้สานเสวนา (Dialogue) เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่แตกแยกกัน แบ่งเป็นฝัก เป็นฝ่าย ของคนในสังคมได้ช้า จนอาจเกิดความรุนแรงขึ้นได้ (สานเสวนาไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองที่ประสบอยู่ได้นะ คนละเรื่องกัน) เพราะ ต้องใช้เวลา ความทุ่มเท จริงจัง เอาใจใส่ แต่ถ้าทำกระจายไปทั่วๆ และต่อเนื่อง ก็จะเกิดผลดีอย่างยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะถ้าเข้าถึง และทำใด้ผลดี ก็จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อประชาขนในระยะยาว

"We have two ears and one mouth so that we can listen twice as much as we speak."

ตรงกันข้ามกับนักการเมืองที่คิดว่าตัวเองมี 10 ปาก แต่ไม่มีหูที่จะฟัง

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

สื่อใหม่กับการเมือง(New media and politics)

เมื่อโลกเราถูกทำให้แบนราบลง การกีดกัน ปิดกั้น ความเป็นจริง หรือข้อเท็จจริง ของนักการเมือง จะด้วยความไร้เดียงสาในเทคโนโลยี หรือแม้แต่ไม่ใส่ใจในพฤติกรรมของผู้เสพสื่อ จึงเป็นเหตุให้เกิดการเพลี้ยงพล้ำ และพ่ายแพ้ในทางการเมืองในที่สุด

สื่อใหม่(new media) หมายถึงสื่อสารมวลชนในยุกต์อินเตอร์เน็ต(Internet Based Mass- Communications)ที่ผู้คนสามารถ เข้าถึง ร่วมขีดเขียน และแบ่งปัน ในสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง มีอำนาจในการเลือกสรร เป็นทั้งผู้ให้ และผู้รับ เป็นทั้งผู้อ่าน และผู้เขียน เป็นทั้งผู้ขาย และผู้ซื้อ

การเมืองแบบเดิมๆ ที่มักเข้าควบคุม กีดกัน ปิดกั้น หรือถ่วงเวลา มิให้ประชาขนได้มีส่วนร่วม หรือแม้แต่เข้าถึงข้อมูล ข่าวสารต่างๆ นำมาซึ่งพลังที่เหวี่ยงกลับเข้าใส่ จนยากที่จะรักษาอำนาจไว้ได้

อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียสดๆร้อนๆ ชื่อ อับดุล อะหม้ด บาดาวี (Abdullah Ahmad Badawi) ได้กล่าวยอมรับว่า " its big mistake of underestimating the power of the Internet. Though his coalition retained power, it failed to snatch the parliamentary majority because they relied heavily on government-controlled traditional media such as TV and newspapers."(ข่าว)

สิ่งที่นักการเมืองในโลกยุกต์นี้ต้องทำก็คือ มุ่งมั่นทำสิ่งดีดี เพื่อประชาขน เปิดเผย ตรงไปตรงมา ขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม ทำทุกอย่างให้ได้มาตรฐาน ให้ประชาขนได้เลือก โดยเฉพาะ ตัวนักการเมืองเอง