Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นายกมาเลย์ : ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ไทยมาจากความไม่ได้รับความเป็นธรรม

วันนี้ตอนช่วงข่าว 10 โมงเช้า ทาง ทีวีไทย เสนอข่าว ความเห็นของ ท่านนายกมาเลย์ นายนาจิบ ราซัค เกี่ยวกับปัญหา 3 จังหวัด ภาคใต้ของไทย ว่า เกิดจาก
นาจิบ ราซัค นายกมาเลย์
"คนในพื้นที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมมาอย่างช้านาน"
ไม่ได้เกิดจากปัญหาเชื้อชาติ ศาสนา หรือ ระบอบการปกครอง

อย่าง ที่เคยเขียนไว้ เรื่อง ปัญหา 3 จังหวัีดภาคใต้และทางออก หลายตอน รัฐบาลกี่ชุดมาแล้ว รัฐมนตรีกี่คน ผู้รับผิดชอบกี่คณะ ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จิตใจ เม็ดเงินมากมายมหาศาลเท่าไหร่ที่ใส่เข้าไปแแก้ปัญหา ถ้ารู้ปัญหาที่แท้จริง (หรือรู้แต่ "เลี้ยงไข้" กินเงินภาษีประชาชนไปเรื่อยๆ) ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบปัญหาภาคใต้นี้ ต้องแก้ไขได้ทุเลา เบาบางลงบ้างแล้ว

สรุปได้เลยว่า นักการเมืองไทย หรือผู้ที่รับผิดชอบนโยบาย ไร้ความสามารถ ไม่จริงใจ ไม่ตั้งใจแก้ไขปัญหา เราในฐานะผู้เสียภาษีจะทำอย่างไรดีกับคนเหล่านี้ ??

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Maladvertising :เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ NYTime

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว ได้เขียนถึง maladvertising อาชญากรรมรูปแบบหนึ่งบนโฆษณาออนไลน์ ซึ่งเมื่อกลางเดือนที่แล้ว ได้เกิดขึ้นกับ เว็บไซต์ NY Time ทาง บรรณาธิการเว็บไซต์(webeditor) ได้ออกประกาศให้ผู้อ่านทราบ และวิธีแก้ไข ก่อนหน้า
กรณี NY Time ก็เกิดกับ เว็บไซต์ Newsweek มาแล้วเช่นกัน (ข่าว)

ตอนนี้ก็ได้ทราบแล้วว่า อาชญากรนั้นมาจากประเทศ Bahamas ซึ่งใช้ parked domain(define) เป็นตัวเชื่อมแอบเข้าไปติดตั้ง โปรแกรม JavaScript(define) ที่หน้า โฮมเพ็จของเว็บไซต์เป้าหมาย ในขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปก็ไม่ทราบว่าเป็นโฆษณาเถื่อน ส่วนเงินที่ได้รับจากค่าโฆษณาเถื่อนนั้น เจ้าของ parked domain(define) รับไป

parked domain(define) นับสิบ นับร้อยล้านชื่อทั่วโลก เหล่านี้เองที่ทำเงินให้กับ Google ได้มากถึง 40% ของรายได้ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกับก็สร้างปัญหาให้ Google ถูกฟ้องร้อง ด้วยเช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พลังกระแสโลกาภิวัฒน์หลังสงครามเย็น

ภายหลังการล่มสลายลงของยุกต์สงครามเย็น(หลังการล่มสลายของประเทศสาธารณรัฐสหภาพโซเวียต ค.ศ. 1989) ได้ก่อให้เกิดพลังจากกระแสโลกาภิวัฒน์(globalization) พัดเข้าใส่อย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อน
ก่อให้เกิดพลัง อย่างน้อย 4 รูปแบบด้วยกัน
1. ความเคลื่อนไหวของทุน ตลาดหุ้น และตลาดอื่นๆ พลังของเม็ดเงินที่มีอยู่ทั่วโลก หลากหลายรูปแบบ หลากหลายวัตถุประสงค์ ที่พร้อมจะไหลไปหาผลตอบแทนที่ดีกว่า ณ เวลาหนึ่งเวลาใด ที่ใดๆก็ได้ ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อให้เกิดความผันผวน ความไม่แน่นอน การเก็งกำไร อย่างมากมาย
2. การเคลื่อนย้ายของผู้คน แรงงาน ไปทั่วโลก
3. การเคลื่อนไหลของข้อมูล ผ่านไซเบอร์สเปซ หรือ อินเตอร์เน็ต
4. การแพร่กระจายของวัฒนธรรมต่างถิ่น ข้ามพรมแดน ก่อให้เกิดการลอกเลียน หลอมรวม รุกล้ำ หรือ กลืนกิน ต่างวัฒนธรรมได้ง่าย อย่างไม่เคยป็นมาก่อน นักปราชญ์หลายท่านบอกว่า อาวุธชิ้นสุดท้ายของความเป็นชาติก็คือ วัฒนธรรม
แนวคิดทฤษฏี ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ(comparative advantage) ของ David Ricardo( ค.ศ.1772-1823) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ บิดาแห่งการค้าเสรี (free trade) ยิ่งคงมีมนต์ขลัง ทวีมุลค่้าการค้าระหว่างประเทศ จาก กระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ผลประโยชน์ตกถึงประชาชนส่่วนใหญ่ของแต่ละประเทศน้อยมาก ยิ่งชาติที่กำลังพัฒนา อย่างไทย ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์น้อยมาก เพราะเป็นการค้าเสรี ที่ไม่เป็นธรรม ระบบการค้าของโลก ระบบเศรษฐกิจของโลกไม่เคยเป็นธรรม จึงเกิด คนจนมากมาย 2ใน 3 ของประชากรโลก 6,600 ล้านคน อยู่ในประเทศโลกกำลังพัฒนาอย่างไทย ดังนั้นผู้ออกนโยบายของประเทศ จึงต้องบริหารจัดการ จัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เหมาะสม ตามกำลัง ตามความพร้อมของประชาชนที่ต้องรับผลแห่งกระแสโลกาภิวัฒน์ นี้ ขณะเดียวกัน ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ ขุดค้น ส่งเสริม ผลักดันศักยภาพของประชาชนของคนทั้งชาติ ไปสู่สังคมอุดมปัญญา และคุณธรรม

การที่เรารณรงค์ให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป มี ความรู้คู่คุณธรรม ก็ดี จิตสาธารณะ ก็ดี หรือแม้แต่ จิตสำนึกใหม่(new consciousness) ตามที่ท่านหมอประเวศ วะสี เรียกร้องให้เกิดในสังคมไทย นั้น เป็น "เป้าหมาย" สูงสุด ที่อยากให้ทุกคนเป็น ทุกคนมี แต่เป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะ เหมือนกับ เราต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง ดังนั้น

ด้วยโลกที่กำลังแบนราบลง จากพลังของโลกกาภิวัฒน์ ถาโถมเข้าใส่ ทั้งความเร็ว ความถี่(tables and charts on globalization) และ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้ผู้นำที่มีความรู้คู่คุณธรรม จริงๆ เสียก่อน โดยการสร้างระบบคัดกรองนักการเมือง เพื่อควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ หรือทำความเดือดร้อน ผู้อื่น และส่งเสริม สนับสนุนคนดี มีคุณธรรม ตามพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรวดเร็ว หรือ ความถูกต้อง แม่นยำของข่าวสาร อันไหนสำคัญกว่ากัน ??


"Accuracy -- to get the facts and context of a story right -- is a fundamental norm of ethical journalism" by Kendyl Salcito
จากตัวเลขการวิจัยของ PEW (PEW Internet & American Life Project)พบว่า 29% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ข่าวสารที่ออกมาจากองค์กรต่างๆ นั้น ถูกต้องแม่นยำ อีก 63% บอกว่า ไม่ค่อยถูกต้องแม่นยำ มักพบบ่อยๆที่ข่าวสารต่างๆที่ออกมา คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
ยิ่งข่าวสารที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้เสพข่าว(Internet readers) สนใจความรวดเร็วของข่าวสาร และ ความต้องการมีส่วนร่วม มากกว่า ความแม่นยำ เพราะ ในที่สุดความจริง ข้อเท็จจริงก็จะปรากฎเองภายหลัง อันนี้เป็นความคิดของผู้เสพข่าวบนอินเตอร์เน็ต
บางทีอาจจะเป็นเพราะ สิ่งนี้ เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ กำลังตกที่นั่งลำบาก เพราะ สื่อสิ่งพิมพ์ สิ่งสำคัญคือความถูกต้อง แม่นยำของเนื้อข่าว ในขณะเดียวกัน ความรวดเร็วของข่าวสารก็ต้องได้ด้วย
ช่างขัดแย้งกันดีแท้(Industrial paradox)
หรือ ผู้เสพข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตนั้น ฉลาดในการแยกแยะ ว่า ข่าวก็คือข่าว ที่ยังไม่ใช่ข้อเท็จจริง จึงยอมรับได้ในความคลาดเคลื่อน หรือ ผู้เสพข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต ต้องการความรวดเร็ว กระชับ จนออก ฉาบฉวย จึงไม่ใส่ใจ(ในความแม่นยำ ถูกต้อง)อะไรมากมายนัก ในขณะเดียวกัน ถ้าข่าวสารนั้นๆ กระทบ หรือ เขาต้องการรู้ให้ลึก ให้แน่ชัด ก็สามารถสืบค้นหาต่อได้ไม่ยาก
ในกรณีที่สื่อสิ่งพิมพ์แพร่ ภาพ ข่าวที่คลาดเคลื่อน ทางบรรณาธิการข่าวก็จะรีบแก้ไขข่าวให้ถูกต้องทันทีที่ทำได้ และขอโทษ ขอโพย ผู้เกี่ยวข้อง
แล้วบนอินเตอร์เน็ตล่ะ? โดยเฉพาะ บล๊อกเกอร์ ต่างๆ ที่ผุดขึ้นใหม่ๆวันละนับแสนบล๊อก ความถูกต้อง แม่นยำ หรือมีบรรณาธิการข่าวค่อยตรวจ สอบข่าวสารทุกชิ้นที่โพสบนอินเตอร์เน็ต หรือไม่ ? ตอบว่าไม่มี
แล้วตัวเราเอง หรือเราจะบอกกล่าว แนะนำ ลูก หลาน อย่างไร ให้ใช้ประโยชน์จากข่าวสารที่กำลังท่วม เต็มพืด ไปหมด เราจะใช้้วิจารณญาณอย่างไร ไม่หลงเป็นเหยื่อ ของข่าวโคมลอย หรือแม้แต่เวลาตกเป็นข่าวเสียเอง จะทำอย่างไร ในโลกที่กำลังแบนราบลงทุกขณะจิต ตอนหน้ามาคุยเรื่องเหล่านี้ กัน

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลไทย(Government E-Procurement)

การประมูลมีสองรูปแบบ
1. การประมูลแบบเพิ่มราคาไปเรื่่อยๆ(bidding auction) มักใช้กับการขายสินค้า หรือบริการต่างๆ
2. การประมูลแบบลดราคาลงเรื่อ
ยๆ(reversal bidding auction) มักใช้กับการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ(e-procurement)
ไม่ต่ำกว่า 99% ของการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 300,000 ล้านบาท ของหน่วยงานภาครัฐมีการฮั้วประมูล เจ้าพนักงานของรัฐ รู้เห็น หรือ ร่วมมือกับผู้ประมูลบางราย และกีดกันผู้ประมูลรายอื่นในทุกวิถีทางเพื่อให้กลุ่มตนเองได้รับการคัดเลือก
กลวิธีในการอั้วประมูล เริ่มตั้งแต่
การกำหนดรูปแบบความต้องการในเนื้องาน(terms of reference) ที่เอื้อประโยชน์ฝ่ายหนึ่งและกีดกันผู้ประมูลรายอื่นๆ หลังจากนั้นจะมีัทีมเจรจา ขัดขวาง ผู้ประมูลนอกเป้าหมายให้ทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ ตลอดจนนำข้อมุลที่ไม่ควรเปิดเผยของผู้ประมูลรายอื่นๆ ให้แก่กลุ่มตน
อันที่จริงการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย บนพื้นฐาน มาตรฐานเดียวกัน แล้วแต่ใครจะบริหารจัดการต้นทุน ได้ดี ต่ำกว่ากัน และประชาชนผู้เสียภาษีก็ได้ประโยช
น์อย่างยิ่งที่ได้ว่าจ้าง ผู้รับสัญญาที่ได้มาตรฐาน ในราคาที่ยุติธรรม

Business Benefits

  • Improve time, resources and supplies management
  • Minimize supply time
  • Minimize supply cost
  • Transparency in procurement procedures
  • Flexibility and control over the procurement process
  • สิ่งที่ต้องกระทำการแก้ไขก็คือ
  • 1. ผู้ทำการประมูล(เจ้าพนักงานรัฐ)ต้องไม่ให้ผู้ร่วมประมุลทุกรายรู้ล่วงหน้าว่ามีใครยื่นประมูลบ้าง ภายหลังจากที่แต่ละรายไ้ด้รับคัดเลือกให้เข้าประมูลได้
  • 2. ขณะกำลังแข่งขันกันเสนอราคา ระบบการประมูล(ตัวซอร์ฟแวร์)ที่ดีต้องแสดงราคาของทุกรายให้ทุกรายที่กำลังประมูลได้ทราบตลอดเวลา เพื่อว่า จะได้แข่งขันกันเสนอราคาจนได้ราคาที่ดีที่สุด ทั้งนี้ ในการประมูลผู้ประมูลงานอยู่ ณ. ที่มั่นของตัวเอง ซึ่งแม้นผู้ประมูลจะอยู่ต่างประเทศก็สามารถยื่นเสนอประมูลได้
  • ถามว่า เจ้าพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักการเมืองทุกระดับทราบหรือไม่ว่า วิธีการประมูลที่ดีนั้นเป็นอย่างไร?
  • ตอบ ทราบแน่นอน ระบบ e-procurement ของผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นตลาดกลางทั้ง 8 ราย ก็มีเครื่องไม้เครื่องมือให้ใช้(tools)
  • ถามต่อว่า แล้วทำไมไม่แก้ไขให้ถูกต้อง สร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
  • ตอบ ใครจะ(ยอมเสียสละ)ตัดเส้นทางหากิน(ที่ไม่ถูกต้อง)ของตัวเอง
  • ถาม แล้วเราในฐานะผู้เสียภาษี อากรทำอะไรได้บ้าง?
  • ตอบ ยาก เพราะเข้าไม่ถึง หรือไม่สามารถให้คุณให้โทษผู้ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้โดยตรง
  • ถามอีกขัอว่า แล้วเราในฐานะผู้เสียภาษี จะออกแบบ ควบคุมนักการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ต่างๆ ให้ได้คนที่พร้อม มีความรู้คู่คุณธรรม ได้หรือไม่?
  • ตอบ ได้แน่นอน โดยใช้ระบบการคัดกรองนักการเมือง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบใช้เหตุผล(deliberative democracy)(define) ซึ่งเหมาะสมกว่า ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(representative democracy) ซึ่งไม่ตอบโจทย์การมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง และไม่เหมาะสมกับยุกต์สมัย ทั่วโลกกำลังศึกษาวิจัย และนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ ก็จะได้ E-democracy นำไปใช้ในอนาคต
เชื่อเถอะว่า หน่วยงานภาครัฐเกือบทุกหน่วยงาน แตะตรงไหนก็มีน้ำหนองไหล ความไร้ประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐ กำลังสวาปาม หรือลดทอน ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปแล้ว และกำลังรุกลามสู่ภาคเอกชน โดยมีผู้เสียภาษีอากรเป็นผู้หาเงินให้นักการเมืองทุกระดับชั้น ไปผลาญเล่นอย่างไร้ความรับผิดชอ

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปล้นกันชัดๆ

กรณีที่บริษัททรูวิชั้่นส์ จำกัด(มหาชน) ได้รับการแก้ไขสัญญา โดย อสมท. อนุญาตให้มีโฆษณาในเคเบิ้ลทีวีได้ ไม่เกินชั่วโมงละ 6 นาที (ข่าว ข่าว) ทั้งๆที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กว่า20ปี ในสัญญาสัมปทาน ไม่อนุญาตให้มีโฆษณาได้ และแล้วมาวันนี้
(สัญญาให้โฆษณาได้มีผลบังคับ 8 ตุลาคม 2552) ก็ได้รับการแก้ไขสัญญา
เป็นการปล้นเงินของสมาชิก บริษัททรูวิชั่นส์ ฯ 1.6 ล้านคน แล้วนำไปแบ่งกัน โดยที่ไม่มีใครสามารถทัดทานได้ ราคาค่าสมาชิกก็ไม่ได้ลดลง บอกแต่จะเพิ่มช่องให้ชมฟรีเท่านั้น เท่านี้ช่อง


เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552

The bad policy maker is likely to stand at capitalist side rather than people's

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Baby Settle With Global Mobile Ad Market

อุตสาหกรรมโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่งจะเริ่มตั้งไข่ ซึ่งมีเม็ดเงินยังไม่มากเลย แต่จะเติบโตก้าวกระโดด ตามงานวิจัยของ Emarketer อัตราการเติบโตน่าสนใจมาก
ภายในปี 2012 อุตสาหกรรมโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile advertising) ของโลก ที่ 19.149 พันล้านเหรียญยูเอส จาก 2.695 พันล้านเหรียญยูเอส ในปี 2007
ภายในปี 2013 จะมีเม็ดเงินมากถึง 3.33 พันล้านเหรียญยูเอส อันนี้เฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
การโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการทำการตลาดในเชิงรุก ประชิดติดตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแนบแน่น แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ละเมินสิทธิส่วนบุคคล


อัตราการเจริญเติบโตของตลาดนี้ ตัวเครื่องโทรศัพท์ ทั้งรูปลักษณ์ วิธีการใช้งาน ซอร์ฟแวร์ภายใน และราคา จะเป็นตัวเร่งหรือหน่วงเม็ดเงินดังกล่าว เช่น เครื่องโทรศัพท์ฉลาดๆ ใช้ง่าย รูปทรงสวยงาม และราคา ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเครื่อง จะทำให้อัตราการเพิ่มของผู้ใช้จะมากกว่านี้อีกมาก