ภายหลังการล่มสลายลงของยุกต์สงครามเย็น(หลังการล่มสลายของประเทศสาธารณรัฐสหภาพโซเวียต ค.ศ. 1989) ได้ก่อให้เกิดพลังจากกระแสโลกาภิวัฒน์(globalization) พัดเข้าใส่อย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อน
ก่อให้เกิดพลัง อย่างน้อย 4 รูปแบบด้วยกัน
1. ความเคลื่อนไหวของทุน ตลาดหุ้น และตลาดอื่นๆ พลังของเม็ดเงินที่มีอยู่ทั่วโลก หลากหลายรูปแบบ หลากหลายวัตถุประสงค์ ที่พร้อมจะไหลไปหาผลตอบแทนที่ดีกว่า ณ เวลาหนึ่งเวลาใด ที่ใดๆก็ได้ ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อให้เกิดความผันผวน ความไม่แน่นอน การเก็งกำไร อย่างมากมาย
2. การเคลื่อนย้ายของผู้คน แรงงาน ไปทั่วโลก
3. การเคลื่อนไหลของข้อมูล ผ่านไซเบอร์สเปซ หรือ อินเตอร์เน็ต
4. การแพร่กระจายของวัฒนธรรมต่างถิ่น ข้ามพรมแดน ก่อให้เกิดการลอกเลียน หลอมรวม รุกล้ำ หรือ กลืนกิน ต่างวัฒนธรรมได้ง่าย อย่างไม่เคยป็นมาก่อน นักปราชญ์หลายท่านบอกว่า อาวุธชิ้นสุดท้ายของความเป็นชาติก็คือ วัฒนธรรม
แนวคิดทฤษฏี ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ(
comparative advantage) ของ
David Ricardo( ค.ศ.1772-1823) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ บิดาแห่งการค้าเสรี (free trade) ยิ่งคงมีมนต์ขลัง ทวีมุลค่้าการค้าระหว่างประเทศ จาก กระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ผลประโยชน์ตกถึงประชาชนส่่วนใหญ่ของแต่ละประเทศน้อยมาก ยิ่งชาติที่กำลังพัฒนา อย่างไทย ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์น้อยมาก เพราะเป็นการค้าเสรี ที่ไม่เป็นธรรม ระบบการค้าของโลก ระบบเศรษฐกิจของโลกไม่เคยเป็นธรรม จึงเกิด คนจนมากมาย 2ใน 3 ของประชากรโลก 6,600 ล้านคน อยู่ในประเทศโลกกำลังพัฒนาอย่างไทย ดังนั้นผู้ออกนโยบายของประเทศ จึงต้องบริหารจัดการ จัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เหมาะสม ตามกำลัง ตามความพร้อมของประชาชนที่ต้องรับผลแห่งกระแสโลกาภิวัฒน์ นี้ ขณะเดียวกัน ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ ขุดค้น ส่งเสริม ผลักดันศักยภาพของประชาชนของคนทั้งชาติ ไปสู่สังคมอุดมปัญญา และคุณธรรม
การที่เรารณรงค์ให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป มี ความรู้คู่คุณธรรม ก็ดี จิตสาธารณะ ก็ดี หรือแม้แต่ จิตสำนึกใหม่(new consciousness) ตามที่ท่านหมอประเวศ วะสี เรียกร้องให้เกิดในสังคมไทย นั้น เป็น "เป้าหมาย" สูงสุด ที่อยากให้ทุกคนเป็น ทุกคนมี แต่เป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะ เหมือนกับ เราต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง ดังนั้น