การแบ่งเขตเลือกตั้ง ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์(Geographic Targeting) นั้นไม่น่าจะตอบสนองพฤติกรรม การใช้ชีวิต คุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งๆขึ้นไปได้อีกต่อไป
เพราะในโลกที่นับวันจะแบนราบลง ไร้พรมแดน ข้อจำกัด ขวากหนาม กฎเกณฑ์ต่างที่เคยมีมาจะค่อยๆ ทะลายหายไป การใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์มากำหนด ในการแบ่งเขตเลือกตั้งของบรรดา ส.ส. จึงเป็นสิ่งที่ล้าสมัย แทบหาประโยชน์ใดๆ ต่อประชาชนทั้งประเทศไม่ได้เลย
การกำหนดสัดส่วน ส.ส.ตามลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ(Demographic Targeting)เป็น
สิ่งหนึ่งที่สำคัญ(ในหลายๆสิ่งผนวกร่วมกัน เช่นที่มาของเิงินทางการเมือง-Money Politics, ระบบการคัดกรองนักการเมือง-Politician Filtration)
ดังนั้นสิ่งที่เหนือกว่า ดีกว่า ทันสมัยกว่า สอดคล้อง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทั้งประเทศ ในการกำหนดสัดส่วน ส.ส. นั้นควรเป็นหรือพูดได้ว่า ต้องแบ่งเป็นลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ(Demographic Targeting) กล่าวคือ
1. แบ่งตามกลุ่มอายุผู้ประชากรของประเทศและ รายได้ของประชากร เช่นเด็กที่มี อายุตั้งแต่
0 - 07 ขวบ(มีกี่คนในประเทศ)มีผู้แทนได้กี่คน?
08-15 ปี (มีกี่คนในประเทศ)มีผู้แทนได้กี่คน?
16- 23 ปี (มีกี่คนในประเทศ)มีผู้แทนได้กี่คน? เป็นต้น
กลุ่มคนที่มีรายได้ตั้งแต่ 0- 30,000บาทต่อเดือน มีผู้แทนได้กี่คน?
กลุ่มคนที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,001-60,000บาทต่อเดือน มีผู้แทนได้กี่คน? เป็นตัวอย่าง
ซึ่งการกำหนดสัดส่วน ส.ส. ตามกลุ่มอายุของประชากร และ กลุ่มรายได้นี้เป็นการตัดระบบ วงจรเครือข่ายของนักการเมืองในการซื้อเสียง วางมวลชน หาแนวร่วม วางเครือข่ายแบบผิดๆไปได้อย่างสิ้นเชิง เพราะ กลุ่มคนลักษณะดังกล่าวมีอยู่ทั้งทุกภูมิภาค ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ยากที่บรรดานักซื้อเสียงจะกระทำได้สำเร็จ และเป็นการตอบโจทย์ คำว่า"ตัวแทน" อย่างแท้จริงยิ่งขึ้น
เชื่อหรือไม่ว่า ต่อไป(ไม่น่าจะนานนัก)ระบบการเลือกตั้งแบบตัวแทนนี้(Representative Election)หรือ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy) นี้จะหมดไปจากโลก จะเปลี่ยนไปสู่ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่นำระบบเทคโนโลยีช่วยอำนวย(Participatory Technocracy) อันประกอบด้วย....ค่อยว่ากันตอนหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น