Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

Participatory Technocracy(1)

เนื่องจาก การเมืองในโลกนี้ไม่เคยมีมาตรฐานใดๆเลย ไม่ว่าจะเป็นต้นแบบประชาธิปไตย อย่างประเทศ อังกฤษ หรือแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เน้นระบบตลาดสุดขั้ว(Market Fundamentalism) ยิ่งไม่คยมีมาตรฐาน หามาตรฐานใดๆไม่ได้เลย

แต่แปลกมาก เรากลับไว้วางใจให้คนบางกลุ่ม บางพวก ที่เราเรียกกันเสียสวยหรูว่า "นักการเมือง" เล่นแร่ แปลธาตุ แม้แต่ชีวิตเราให้เป็นอะไรก็ได้ เรายอมไว้วางใจ มอบหมายหน้าที่ ให้บริหารเงินงบประประมาณภาษีประชาชนปีละ 2ล้านล้านบาท สำหรับประเทศไทย ปีละ 6.53 ล้านล้านดอลลาร์(196 ล้านล้านบาท) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำไม??? เพราะ เราหลงผิด เชื่อผิดๆ น่ะซี !!!ทางธรรมเรียกว่า มิสฉาฑิฐิ แล้วเราก็คิดว่า มันถูกแล้ว มันดีแล้ว มันเหมาะสมแล้ว

ในทุกหมวดหมู่สินค้า และบริการในโลกนี้ กำลังถูกทำให้มีมาตรฐาน(To be standardized) มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เช่น ISO เป็นองค์กรระดับโลกที่คอยกำหนดมาตรฐานในสินค้าอุตสาหกรรมและบริการ หรือ มอก. กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมและบริการในประเทศไทย เป็นต้น

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ หากในอุตสาหกรรมยาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ใครอยากทำอะไร ผลิตอะไรทำไป ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อหา กิน ใช้กันเอาเอง อะไรจะเกิดขึ้น แม้ปัจจุบัน ขนาดมีมาตรฐานระดับหนึ่งยังมีปัญหามากมาย ในทำนองเดียวกับ การเมืองในโลกนี้ก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเราเอง ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน และไม่รู้อีกนานเท่าใดในอนาคต กว่าจะทำให้เป็นมาตรฐานได้

แต่ภาคการเมืองที่บงการชีวิตคนยิ่งกว่าใดๆ จับเงินภาษีของเรามากกว่าใครๆ เป็นคนกำหนด ออกแบบ(Policy Maker) นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่กระทบคนทั้งโลก ทั้งประเทศ กลับไม่เคยมีคนทำให้เป็นมาตรฐาน ให้มีมาตรฐาน ให้ได้คนที่ดี มีความรู้ มีคุณธรรมเป็นมาตรฐาน อย่างน้อยหากเลือกคนผิดพลาดก็ผิดพลาดบนมาตรฐาน ที่ผ่านเกณฑ์ "ระบบการคัดกรองนักการเมือง" (Politician Filtration) ไว้แล้ว

โลกเราทุกวันนี้ที่เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งก็เพราะ การเมืองที่ไม่มีมาตรฐาน ได้คนที่ไร้มาตรฐานบริหารบวกกับระบบเศรษฐกิจที่ละโมบโลภมาก กักขฬะ เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว จนเกินพอดีไปมากมาย

นี่คือสิ่งที่ผิดเพี้ยนตั้งแต่วิธีคิด ไล่ลงมาจนถึงระบบ เมื่อวิธีคิดผิด ทำยังไงก็ไม่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น