เมื่อปี 2000 คนอเมริกัน เข้าถึง Internet Broadband 2.5% หรือ 2.5 คน ใน 100 คน อยู่อันดับ 5 ของโลก อันดับ 1 ณ ตอนนั้น ได้แก่ คนเกาหลีใต้ เข้าถึง Internet Broadband 8.4 คน ใน 100 คน
ปี 2007 สหรัฐ ตกไปอยู่อันดับที่ 22 ของโลก เข้าถึง Internet Broadband 21.5 คน ใน 100 คน เป็นรอง Burmuda (36.7) South Korea (30.6) Japan (22.5)
ปี 2008 ไตรมาส ที่ 2 เทียบกับไตรมาสที่ 3 (ตามภาพประกอบด้านบน) สหรัฐอเมริกา อยู่อันดับที่ 20 ของโลก เข้าถึง Internet Broadband 26.4% อันดับ 1 ได้แก่ Monaco 43.8%
ส่วนเรื่องราคาค่าใช้บริการ อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ ในกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งมีอัตราความเร็วการดาวน์โหลด(Advertised download speed) ไม่ต่ำกว่า 10 Mbps โดยเฉลี่ย โดยมีประเทศสวีเดน ค่าใช้บริการถูกสุดที่ 29.22 ดอลลาร์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 44.13 ดอลลาร์
หันกลับมามองประเทศไทย อนิจจา ... มองไม่เห็นผุ่น หรือเรียกได้ว่า Extremely slow, expensive and Stagnant โค-ตร ช้า โค-ตร แพง และก็ โค-ตร เน่าสนิท ศิษย์ ส่ายหน้า ค่าบริการของทรู 3 Mbps อยู่ที่ประมาณ 18 ดอลลาร์ แต่เวลาใช้จริงๆ ไม่รับประกัน
หาก ปรียบเทียบ รายได้ของประชากรด้วยแล้ว ต้องเอา 5 หาร ราคาค่าบริการของทรู แล้วเพิ่ม download speed เป็น 10 Mbps นั่นคือ ราคา ไม่เกิน 100 บาทต่อเดือน ฝัน... ไปเถอะ
พอจะมองภาพออกรึยังว่า ประเทศไทยเป็นประเทศชายขอบด้านเทคโนโลยี สมบูรณ์แบบ เรียบร้อยโรงเรียนนักการเมือง แล้วววววว ...ฮ่วย
Thailand Transformation:For sustainable and peaceful nation เสนอแนวคิดใหม่ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในระบอบประชาธิปไตย ทุนนิยมเสรีอย่างยั่งยืน เป็นธรรม มีความสงบสุข
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
รัฐบาลสิงคโปร์ จะใช้ Social software เพื่อการตรวจสอบรัฐบาล
อย่างที่เคยเขียนถึงเรื่อง social software ใช้เป็นเครื่องมือ ในการคัดกรองนักการเมือง และเพื่อการตรวจสอบ นักการเมือง รัฐบาล ด้วยเพราะโลกที่แบนราบลง ประชาชนต้องการตรวจสอบ ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือปฏิสัมพันธ์ในทุกรูปแบบกับรัฐบาล หรือผู้บริหาร ในทุกองค์กรของรัฐ
ZDnet Asia ได้ลงข่าว เกี่ยวกับรัฐบาลสิงคโปร์ จะนำแนวคิดที่ผมได้พูด ได้เขียนถึงนี้ไปใช้เพื่อให้ประชาชนชาวสิงคโปร์ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ผ่าน Social software
ประเทศสิงคโปร์มีประชากรราว 4.5 ล้านคน มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ 80% ของครัวเรือน มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 6 ล้านเครื่อง ถือเป็นอันดับต้นๆของโลก ด้านการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ ของครัวเรือน
ประเทศสิงคโปร์จากการเป็นประเทศที่มีผู้นำเผด็จการอ่อนๆ ประชาชนมีเสรีภาพไม่มากเท่าไทย แต่ ประชาชนชาวสิงคโปร์มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี (GDP per capita) 51,142 ดอลลาร์(อันดับ4 ของโลก เหนือกว่า สหรัฐอเมริกา) ขณะที่ไทยมีเพียง 8,225 ดอลลาร์(อันดับ 86 ของโลก) มากมายกว่าไทยอย่างเทียบกันไม่ได้
แต่คนไทยที่รักประชาธิปไตยแบบงมงาย รวมทั้งนักการเมืองที่ได้ประโยชน์ ก็เถียงได้ แถไปได้แบบน้ำใสๆ ว่า ประชาชนชาวสิงคโปร์ไม่มีประชาธิปไตย นะ พูดพลาง กุมท้อง ที่หิวโซไปพลาง ผมว่า ชาวสิงคโปร์โชคดีที่ได้ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และมุ่งมั่น ในการสร้างชาติ ไม่กินชาติไม่ทรยศชาติ เหมือนนักการเมืองบางประเทศ
ในแง่ประเทศไทยได้กลายเป็นประเทศชายขอบด้านเทคโนโลยีเรียบร้อยแล้ว ขอแสดงความยินดีต่อนักการเมืองไทยด้วย ที่ทำได้สำเร็จ ...อนาถแท้ ครัวเรือนไทย เข้าถึงอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ แค่ 4% มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ประมาณ 17 ล้านคน จากประชากร 65 ล้านคน แพ้เวียตนาม
ส่วนค่าเฉลี่ยการรับส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์โลก(Download speed)อยู่ประมาณ 3.4 Mbps สำหรับประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 93.7 Mbps ราคา แค่ 34 ดอลลาร์ต่อเดือน
เว็บไซต์ที่บรรดามี ของหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงาน เป็นแค่ เว็บ 1.0 เท่านั้น กล่าวคือ สื่อสารได้ทางเดียว อยากบอก อยากทำอะไร ก็จะใส่ๆเข้าไป ไม่สนใจผลตอบรับ
จึงต้องบูรณาการใหม่หมด ทั้งยวง แล้วทำให้เป็น Government 2.0 จึงเชื่อมโยงกับทุกๆหน่วยงาน
วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
หลักการทำงานของ social networks
เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social metworks) ประกอบด้วย
1. Node หรือ หน่วยย่อย หรือ บุคคลทั่วไป เป็นสมาชิกคนหนึ่งของเครือข่าย ที่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
2. Hub หรือ ผู้เป็นศูนย์กลางของ node มักทำหน้าที่เป็นผู้ รับ-ส่งข่าวสารต่างๆ จาก node ภายในกลุ่ม แล้วกระจายข่าวสารที่ได้รับมา ส่งต่อให้กับ บุคคลอื่น หรือ ระหว่างกลุ่ม ก็ได้ มักเป็นผู้ชอบศึกษาเรียนรู้ ตลอดเวลา มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่ไว้วางใจ น่าเชื่อถือ
คนที่ทำตัวเป็น Hub นั้น เมื่อ ทำหน้าที่ได้ดี เป็นที่ไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป ในกลุ่ม ก็จะกลายเป็นผู้เชื่อมต่อ (Connector) ไปด้วย เป็นนักประสานผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นนักขาย ได้อีกด้วย
การขยายตัวของเครือข่ายทางสังคมได้อย่างมากมาย และรวดเร็วนั้น มาจาก
1. words of mouth ปากต่อปาก ดึงกันเข้ามาในเครือข่าย กลุ่มเพื่อนกัน สถาบันเดียวกัน ที่ทำงานเดียวกัน รุ่นเดียวกัน เป็นต้น
2. การใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์อัตโนมัติ เมื่อ เพื่อนเราคนหนึ่งเกิดเป็นสมาชิกในเครือข่ายทางสังคม แล้ว เจ้าโปรแกรมที่ว่านี้ จะคัดลอก(เอง) รายชื่อที่อยู่ในคอมพิวเตอร์(contact list) ของเพื่อนเรา ซึ่งจะมีอีเมลเรา และ คนอื่นๆ แล้วกระจายมาให้เรา และคนอื่นๆ เพื่อชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิก (เหมือนเพื่อนเรา)
อันนี้เป็นกลยุทธที่แยบยลมากๆ ทำให้เครือข่ายขยายได้ไม่มีที่สิ้นสุด และรวดเร็ว
ข้อควรระวังในการโพสรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายสังคมออนไลน์(Social networks) (define) เติบโตอย่างมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เฉพาะ facebook มียอดสมาชิกมากถึง 300 ล้านคนทั่วโลก คาดว่าจะมีรายได้ปี 2009 ประมาณ 550 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปีที่แล้วทำได้ 330 ล้านดอลลาร์ facebook มีดาต้าเซ็นเตอร์ ก้อนมหึมา ที่เก็บรูปภาพต่างๆ ไว้ถึง 20 พันล้านภาพ มีผู้โพสวันละ 20 ล้านภาพ
นักวิจัยมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ได้ทำวิจัย เรื่องการลบภาพออกจากเว็บไซต์ 15 เว็บไซต์ดัง ผลการวิจัย พบว่า
6 ใน 15 เว็บไซต์ ยังคงมีรูปที่ทางผู้โพสรูป ลบออกแล้ว แต่ยังคงเก็บไว้ที่ ดาต้าเบส ของเว็บไซต์ นั้นๆ อยู่
ประเด็นก็คือ
1. ถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวอยู่หรือไม่ เพราะ ตามกฏหมาย ใครโพสสิ่งใด ก็ยังคงถือความเป็นเจ้าของอยู่ เมื่อไม่ต้องการก็สามารถลบออกได้
2. การโพสหากผู้โพส รูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือข้อมูลส่วนตัว พร้อมข้อความที่ไม่เหมาะสม ท่านทราบ หรือ ตระหนักหรือไม่ว่า สิ่งที่ท่านโพสไว้ นั้นจะถูกเก็บไว้ยังเว็บไซต์นั้นตลอดไป และ จะตามหลอก หลอนท่านได้ตลอดเวลา เมื่อ ท่าน หรือ คนอื่นๆที่ท่านสนิท หรือ ลูกหลานท่าน ค้นหา ท่านอาจโชคร้าย ได้
ป้ายกำกับ:
facebook,
myspace,
social networks,
twitter
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
Google กำไรต่อหัวพนักงานสูงสุด ในปี 2008
Congratulations, Google staff: $210k in profit per head in 2008 Royal Pingdom
เป็นการทำกำไรในธุรกิจต่อจำนวนพนักงาน ที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่ง Google ทำได้สูงสุด 209,624 ดอลลาร์ ต่อพนักงาน 1 คน น่าทึ่งจริงๆ ลิงค์ที่ให้มาด้านบนเป็นตารางสรุปทั้งหมด และจำนวนพนักงานทั้งหมดทั่วโลกของแต่ละบริษัท
เป็นการทำกำไรในธุรกิจต่อจำนวนพนักงาน ที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่ง Google ทำได้สูงสุด 209,624 ดอลลาร์ ต่อพนักงาน 1 คน น่าทึ่งจริงๆ ลิงค์ที่ให้มาด้านบนเป็นตารางสรุปทั้งหมด และจำนวนพนักงานทั้งหมดทั่วโลกของแต่ละบริษัท
วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
อันตรายจาก ข้าวมันไก่ และอื่นๆ
ข้าวมันไก่(ข่าว) ข้าวหน้าเป็ด ข้าวหมูแดง หมูกรอบ อาหารทำนองนี้ ได้มีนักวิจัยไทย สุ่มตรวจ ข้าวมันไก่ พบว่า ไก่ที่ต้มสุก แล้ว หากทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมง มีโอกาสสูงมากจะเกิดเชื้อ Bacteria เช่น Clostridium Perfringens พบไม่มากนักในเนิ้อสัตว์ เนื้อไก่ เนื้อเป็ด และผลิตภัณฑ์จากเนื้อเหล่านี้(meat and poultry and their products) แต่พบมากใน ดิน ลำใส้ใหญ่ของคนและสัตว์ สิ่งของสกปรก และปุ๋ยคอก(animal manures)
ไม่สามารถทำลาย หรือฆ่าให้ตายโดยความร้อนปรกติ ขณะปรุงอาหารได้
Salmonella เจริญเติบโตในเนื้อไก่ เป็ด(poultry) และ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร เช่นท้องร่วงรุนแรง อาหารเป็นพิษ
ผู้ที่ติดเชื้อ Salmonella จะต้องดูแล อนามัยตัวเอง (Personal hygiene) เพราะ ติดต่อถึงผู้อื่นได้ง่าย ไม่ว่าจะสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง หรือ ใช้ของร่วมกัน
นอกจากนี้ นักวิจัยโดยนางสาวปรารถนา เกิดบัว บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังบอกอีกว่า แตงกวาปอกเปลือก เขียง มีดที่ใช้สับไก่ ก็จะมีเชื้อ becteria จำพวก E.coli ซึ่งทำให้ท้องร่วงรุนแรง และทำลายไตให้เสียหายได้
ประเด็นก็คือ รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำอะไรไปบ้างกับ สิ่งที่เกิดอยู่ดาดเดื่อน ทั่วประเทศ รอให้ประชาขนไปเสี่ยงเอาเอง เพราะเท่าที่ตรวจเช็คดู ข่าวนี้ มีอย่างน้อยก็ ตั้งแต่ปี 2550 แล้ว
แต่ก็คงยังไม่ต้องรีบร้อนอะไรหรอกมั้ง... สิ่งที่เลวร้ายกว่านี้อีกมากมายนัก ยังปล่อยทิ้งได้เลย
วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
Transforming Politics Thru E-Democracy (part participatory people 4)
ข้อมูลด้านบนยกมาเป็นตัวอย่างให้เห็น ถึงความไม่สมประกอบ ความคิดที่พิกลพิการของผู้ที่รู้เห็น สิ่งเหล่านี้แล้วไม่คิดจะทำให้ถูกต้องมีเหตุมีผล ประเด็นคือ..
นิติบุคคลประกอบธุรกิจขาดทุนแต่ยังมีเงินไปบริจาคให้กับพรรคการเมืองต่างๆได้อีก บางบริษัท ขาดทุน 138,000 บาท แต่กลับบริจาคเงินถึง 25 ล้านบาท ในครั้งเดียว บางบริษัท ค้าข้าวส่งออก ขาดทุน 208 ล้านบาท แต่บริจาค ให้พรรคการเมือง 10 ล้านบาท
ลักษณะทำนองนี้ เป็นความเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว ไร้เหตุผล รวมทั้ง ความไม่ใส่ใจต่อความถูกต้องดีงามของระบบ ของนักการเมืองของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน....
นี่คือนักการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย
นิติบุคคลประกอบธุรกิจขาดทุนแต่ยังมีเงินไปบริจาคให้กับพรรคการเมืองต่างๆได้อีก บางบริษัท ขาดทุน 138,000 บาท แต่กลับบริจาคเงินถึง 25 ล้านบาท ในครั้งเดียว บางบริษัท ค้าข้าวส่งออก ขาดทุน 208 ล้านบาท แต่บริจาค ให้พรรคการเมือง 10 ล้านบาท
ลักษณะทำนองนี้ เป็นความเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว ไร้เหตุผล รวมทั้ง ความไม่ใส่ใจต่อความถูกต้องดีงามของระบบ ของนักการเมืองของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน....
นี่คือนักการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย
เงินอุดหนุนพรรคการเมือง หรือนักการเมือง ต้องมาจาก บุคคล นิติบุคคลที่มีกำไร และต้องจำกัดเพดาน ให้บริจาคให้น้อยที่สุด เพื่อกระจายอำนาจเงินตรา มิให้ใครมีอิทธิพลเหนือ การเมือง และ ให้นักการเมืองทำกิจกรรม ที่สร้างสรรค์
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
หน้าที่นายกรัฐมนตรี อย่างหนึ่ง
กรณี น้องบุญ เด็กหญิงอายุ 9ขวบ เก็บเงินสด เรือนแสนได้ (ข่าว) และในอีกหลายๆกรณีที่เป็นลักษณะทำนองนี้ ไม่ว่าจะ แท๊กซี่ เก็บเงินสด 600,000 กว่า คืนเจ้าของต่างชาติ (ข่าว) หรือพนักงาน บขส. เก็บเงินสดสกุลต่างชาติได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ (ข่าว) คนทำความดี ควรได้รับการยกย่อง นักถือ เชิดชู ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ซึ่งจำเป็นเหลือเกินที่คนอย่าง ท่านนายก อภิสิทธิ์ ควรมอบโล่ห์รางวัล หรืออื่นใด ด้วยตัวเอง ให้แด่ผู้ทำความดีเหล่านี้
ทำไม น่ะหรือ..?? ก็เพราะ ท่านนายกเป็น ผู้บริหารสูงสุด ของประเทศ ท่านจึงควรให้การสนับสนุน หลักแห่งความดีงาม ให้สังคม ได้เห็นได้รับรู้ อันนี้เป็นหน้าที่ท่านนายกอย่างนึงด้วยครับ ผมถือว่าท่านนายกละเลยหน้าที่ !!
หรือท่านนายกจะรอให้บรรดา สส หรือ พณฯ ท่าน ทั้งหลายทำลักษณะนี้ก่อนท่านจึงค่อยออกมามอบโล่ห์ ผมคิดเล่นๆนะ ว่า เงินสดๆ จำนวนเหล่านี้ หากไปหล่นที่ สส ประชุมกันอยู่ จะมี สส หัวแตก หัวโน กี่คน..?? อย่าคิดมากครับ... อย่าคิดมาก แย่งเงินไปส่งตำรวจ น่ะ
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
Transforming Politics Thru E-Democracy (part participatory people 3)
ระบบการคัดกรองนักการเมือง(Politician Filtration) ประกอบด้วย
1. Social software หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เว็บไซต์ก็ได้ แต่เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการที่หลากหลาย และสามารถให้ใคร ก็ได้ มาปฎิสัมพันธ์ ได้ ในทุกมิติ ไม่ว่าจะขีดเขียน (blogs) แก้ไข (wikis) แสดงความคิดเห็น (bolgs, forum) ค้นหา (Search) พูดคุยสดๆ (Instant messaging, e-learning, webinar) อัพโหลด (up load) ดาวน์โหลด (down load) จัดเก็บรวบรวมข้อมูล (storage) ไว้เอง ไม่ต้องให้ผู้ใช้จัดเก็บ การโต้เถียง ถกเถียงด้วยเหตุด้วยผล เพื่อหาข้อสรุปที่ดีงาม เหมาะสม (Deliberative social networks) ตลอดจนสามารถ นำโปรแกรมอื่นๆ มา ผสมโรง (mashups) (define) ได้ด้วย เป็นเว็บไซต์กลาง (web service) ที่คอยให้บริการข้อมูลทุกอย่าง โดยเฉพาะ ด้านการเมือง(เพราะเน้นการเมือง) และใช้ได้ง่าย ลื่นไหล คล่องแคล้ว รวดเร็ว เป็นเว็บไซต์เปิด (Open platforms) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ เชื่อมโยง ทั้งแนวคิด ข้อเท็จจริง และองค์ความรู้ต่างๆทั่วโลก จะได้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม เพื่อสังคมอุดมปัญญา และคุณธรรม
Social software นี้ ในอนาคตสามารถใช้ในการเลือกตั้งผ่านทางออนไลน์ได้ เมื่อสามารถหาความแน่นอน แม่นยำในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล (Personal Identifiaction)ได้ ไม่จำเป็นต้อง ออกไปลงคะแนนเลือกตั้ง ณ คูหาเลือกตั้งอีกต่อไป อยู่ที่ไหนก็สามารถลงคะแนนเลือกตั้งได้ โกงคะแนนเลือกตั้งไม่ได้ และทราบผลการเลือกตั้งได้ทันที เรียกว่า เป็นระบบ E-democracy
2. Cloud computing มีทั้งส่วนที่เป็น hardware and software ที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการจัดเก็บ ประมวลผล ข้อมูล ได้อย่างตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าข้อมูลจะมากน้อยแค่ไหนก็สามารถให้บริการได้ อย่างไม่ติดขัด อันนี้สำคัญมาก เพราะ เมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมากๆ ระบบ hosting server ทั่วไปไม่สามารถรองรับได้
3. ระบบการวิเคราะห์ (Analytics) จะใช้เพื่อเพื่อวัดผลการคัดกรองให้เกิดความแม่นยำ และ ไม่ลำเอียง เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้มีข้อโต้แย้งน้อย โปรแกรมการวิเคราะห์มีเป็น ร้อยๆ แบบ ไว้ให้เลือกหา เลือกใช้ หรือ ออกแบบ เขียนโปรแกรมใหม่เอง ก็ย่อมได้
4. คณะกรรมการอิสระ E-democracy เป็นคณะบุคคลที่ เป็นที่เชื่อถือ ยอมรับของประชาชนทั่วไป 7 คน (เป็นตัวอย่าง) เช่น หมอประเวศ วสี, คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ คุณวนิษา เรซ(หนูดี) คุณรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น คุณสมบัติคณะกรรมการอิสระนี้ ต้อง...
เป็นนักประชาธิปไตยในสายเลือด
มีความเที่ยงธรรม ยึดมั่นในประโยชน์ประชาชนสูงสุด
ทัศนคติเชิงบวก กรอบแนวคิดที่ไม่ยึดติดในหลักเกณฑ์เดิมๆ
ซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม
พฤติกรรม พฤติการณ์ ดีเด่นมาโดยตลอด
หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการอิสระ E-democracy
1. บริหารจัดการข้อมูล คน ระบบการคัดกรองนักการเมือง ให้เกิดความเที่ยงธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ 7/24
2. ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดความแม่นยำ เที่ยงธรรมในการคัดกรอง นักการเมือง หลังจากที่เหล่า "ว่าที่" นักการเมือง ได้ลงทะเบียนเพื่ออาสาทำงานการเมืองไว้กับ เว็บไซต์กลางเป็นระยะเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ทั้งประเทศ ได้ตรวจสอบประวัติ พฤติกรรม ทั้งส่วนตัว และครอบครัว ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ทัศนคติ กรอบแนวคิด จริยธรรม ในการจะอาสาทำงานสาธารณะได้ เมื่อคณะกรรมการอิสระมีมติเห็นชอบเสียงข้างมาก 5 คน (ตัวอย่าง) นักการเมืองผู้นั้นจึงจะได้รับใบประกาศรับรองเป็นนักอาสาทำงานการเมืองได้ แล้วจึงไปสมัครเข้าสังกัด พรรคการเมืองต่อไป
ระบบการคัดกรองนักการเมืองนี้เป็นการคัดกรองจากคนจำนวนเรือนล้านที่ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์กลาง เพื่อเฟ้นหาคนทำงานสาธารณะด้านการเมือง จึงต้องน่าจะได้เลือกนักการเมืองที่ดีที่สุด 3,000 คน 5,000 คน หรือ 10,000 คน จากคนเรือนล้าน มิใช่ แค่วัดผลว่าได้คะแนน ร้อยละ 50 ก็เพียงพอแล้ว พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทุกคนต้องตั้งใจแข่งกันทำความดีอย่างแท้จริง (ถ้าอยากทำงานสาธารณะ) เพราะ ถ้าคุณไม่ดีพร้อมจริง ก็จะไม่สามารถผ่านเกณฑ์การคัดกรองได้ ก็ยังไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เมื่อผ่านการคัดกรองแล้ว ได้ใบประกาศแล้ว สมัครพรรคการเมือง หรือไม่ก็ตาม จึงจะถึงขั้นตอนการรับสมัครเลือกตั้ง เมื่อมีการเลือกตั้ง อีกครั้งหนึ่ง นี่คือการสร้างระบบมาตรฐานด้านนักการเมือง เหมือน มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม หรือ มอก. หรือ ด้านการผลิต เช่น GMP (Good Manufacturing Practice) ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง แทบจะทุกอย่าง แทบทุกวงการ ต้องมีการทำสินค้า หรือ บริการให้ได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้คนได้เลือกใช้ เลือก กิน ได้อย่างปลอดภัย สมเหตุสมผล
1. Social software หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เว็บไซต์ก็ได้ แต่เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการที่หลากหลาย และสามารถให้ใคร ก็ได้ มาปฎิสัมพันธ์ ได้ ในทุกมิติ ไม่ว่าจะขีดเขียน (blogs) แก้ไข (wikis) แสดงความคิดเห็น (bolgs, forum) ค้นหา (Search) พูดคุยสดๆ (Instant messaging, e-learning, webinar) อัพโหลด (up load) ดาวน์โหลด (down load) จัดเก็บรวบรวมข้อมูล (storage) ไว้เอง ไม่ต้องให้ผู้ใช้จัดเก็บ การโต้เถียง ถกเถียงด้วยเหตุด้วยผล เพื่อหาข้อสรุปที่ดีงาม เหมาะสม (Deliberative social networks) ตลอดจนสามารถ นำโปรแกรมอื่นๆ มา ผสมโรง (mashups) (define) ได้ด้วย เป็นเว็บไซต์กลาง (web service) ที่คอยให้บริการข้อมูลทุกอย่าง โดยเฉพาะ ด้านการเมือง(เพราะเน้นการเมือง) และใช้ได้ง่าย ลื่นไหล คล่องแคล้ว รวดเร็ว เป็นเว็บไซต์เปิด (Open platforms) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ เชื่อมโยง ทั้งแนวคิด ข้อเท็จจริง และองค์ความรู้ต่างๆทั่วโลก จะได้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม เพื่อสังคมอุดมปัญญา และคุณธรรม
Social software นี้ ในอนาคตสามารถใช้ในการเลือกตั้งผ่านทางออนไลน์ได้ เมื่อสามารถหาความแน่นอน แม่นยำในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล (Personal Identifiaction)ได้ ไม่จำเป็นต้อง ออกไปลงคะแนนเลือกตั้ง ณ คูหาเลือกตั้งอีกต่อไป อยู่ที่ไหนก็สามารถลงคะแนนเลือกตั้งได้ โกงคะแนนเลือกตั้งไม่ได้ และทราบผลการเลือกตั้งได้ทันที เรียกว่า เป็นระบบ E-democracy
2. Cloud computing มีทั้งส่วนที่เป็น hardware and software ที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการจัดเก็บ ประมวลผล ข้อมูล ได้อย่างตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าข้อมูลจะมากน้อยแค่ไหนก็สามารถให้บริการได้ อย่างไม่ติดขัด อันนี้สำคัญมาก เพราะ เมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมากๆ ระบบ hosting server ทั่วไปไม่สามารถรองรับได้
3. ระบบการวิเคราะห์ (Analytics) จะใช้เพื่อเพื่อวัดผลการคัดกรองให้เกิดความแม่นยำ และ ไม่ลำเอียง เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้มีข้อโต้แย้งน้อย โปรแกรมการวิเคราะห์มีเป็น ร้อยๆ แบบ ไว้ให้เลือกหา เลือกใช้ หรือ ออกแบบ เขียนโปรแกรมใหม่เอง ก็ย่อมได้
4. คณะกรรมการอิสระ E-democracy เป็นคณะบุคคลที่ เป็นที่เชื่อถือ ยอมรับของประชาชนทั่วไป 7 คน (เป็นตัวอย่าง) เช่น หมอประเวศ วสี, คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ คุณวนิษา เรซ(หนูดี) คุณรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น คุณสมบัติคณะกรรมการอิสระนี้ ต้อง...
เป็นนักประชาธิปไตยในสายเลือด
มีความเที่ยงธรรม ยึดมั่นในประโยชน์ประชาชนสูงสุด
ทัศนคติเชิงบวก กรอบแนวคิดที่ไม่ยึดติดในหลักเกณฑ์เดิมๆ
ซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม
พฤติกรรม พฤติการณ์ ดีเด่นมาโดยตลอด
หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการอิสระ E-democracy
1. บริหารจัดการข้อมูล คน ระบบการคัดกรองนักการเมือง ให้เกิดความเที่ยงธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ 7/24
2. ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดความแม่นยำ เที่ยงธรรมในการคัดกรอง นักการเมือง หลังจากที่เหล่า "ว่าที่" นักการเมือง ได้ลงทะเบียนเพื่ออาสาทำงานการเมืองไว้กับ เว็บไซต์กลางเป็นระยะเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ทั้งประเทศ ได้ตรวจสอบประวัติ พฤติกรรม ทั้งส่วนตัว และครอบครัว ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ทัศนคติ กรอบแนวคิด จริยธรรม ในการจะอาสาทำงานสาธารณะได้ เมื่อคณะกรรมการอิสระมีมติเห็นชอบเสียงข้างมาก 5 คน (ตัวอย่าง) นักการเมืองผู้นั้นจึงจะได้รับใบประกาศรับรองเป็นนักอาสาทำงานการเมืองได้ แล้วจึงไปสมัครเข้าสังกัด พรรคการเมืองต่อไป
ระบบการคัดกรองนักการเมืองนี้เป็นการคัดกรองจากคนจำนวนเรือนล้านที่ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์กลาง เพื่อเฟ้นหาคนทำงานสาธารณะด้านการเมือง จึงต้องน่าจะได้เลือกนักการเมืองที่ดีที่สุด 3,000 คน 5,000 คน หรือ 10,000 คน จากคนเรือนล้าน มิใช่ แค่วัดผลว่าได้คะแนน ร้อยละ 50 ก็เพียงพอแล้ว พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทุกคนต้องตั้งใจแข่งกันทำความดีอย่างแท้จริง (ถ้าอยากทำงานสาธารณะ) เพราะ ถ้าคุณไม่ดีพร้อมจริง ก็จะไม่สามารถผ่านเกณฑ์การคัดกรองได้ ก็ยังไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เมื่อผ่านการคัดกรองแล้ว ได้ใบประกาศแล้ว สมัครพรรคการเมือง หรือไม่ก็ตาม จึงจะถึงขั้นตอนการรับสมัครเลือกตั้ง เมื่อมีการเลือกตั้ง อีกครั้งหนึ่ง นี่คือการสร้างระบบมาตรฐานด้านนักการเมือง เหมือน มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม หรือ มอก. หรือ ด้านการผลิต เช่น GMP (Good Manufacturing Practice) ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง แทบจะทุกอย่าง แทบทุกวงการ ต้องมีการทำสินค้า หรือ บริการให้ได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้คนได้เลือกใช้ เลือก กิน ได้อย่างปลอดภัย สมเหตุสมผล
ป้ายกำกับ:
ระบบการคัดกรองนักการเมือง,
E-democracy,
social software
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)