Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด: Externality And 3BL..(1)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด(บล๊อกเพื่อนบ้าน) เป็นความล้มเหลวเชิงนโยบายของรัฐ ที่มุ่งแต่ส่งเสริมแต่ไม่บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด หรือ เลือกลักษณะประเภทอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษน้อยที่สุด พูดให้ชัดก็คือ เลือกส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สร้างคุณค่า(value creation) ไม่ใช่สร้างมูลค่าเพิ่ม(value added) ไทยใกล้จะเป็นกองขยะของโลกอยู่แล้ว เพราะ อุตสาหกรรมอันตราย ก่อมลพิษสูงๆ ก็จะมาปักหลักอยู่ในประเทศไทย แล้วก็ทิ้งภาระ(Externality)ไว้กับ ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม เหมือนที่เป็นอยู่


การสร้างคุณค่า (value creation) จะหมายรวมถึง ทุกๆขั้นตอนในการผลิตสินค้าหรือบริการใดๆ(value chain) จะมีการดูแล ใส่ใจ ห่วงใย ทั้งตัวสินค้า หรือบริการที่ผลิตเพื่อเพิ่มคุณค่า(เช่นใส่ design, platform, innovation เป็นต้น) และผลกระทบออกไปภายนอก เพราะ ในที่สุดหากไม่ดูแลสิ่งแวดล้อม มันก็จะเป็นมุมเมอร์แรง เหวี่ยงกลับมาหา ไ่ม่ช้าก็เร็ว เช่นโรงงาน 76 โครงการที่ถูกศาลปกครองสูงสุดสั่งให้หยุดก่อสร้างชั่วคราว ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และควรตรวจสอบ นิคมอุตสาหกรรมที่อื่นๆ โรงงานทั่วประเทศ ด้วยจะเป็นการดี

การสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) คิดแค่เพียง ทำอย่างไรถึงจะขายได้มูลค่าเพิ่มขึ้น เช่นโรงงานไปซื้อวัตถุดิบมาผลิตแล้วขาย โรงงานผลิตเสื้อผ้าโหล, โรงงานรับจ้างผลิตตามคำสั่งซื้่อ(OEM--Original Equipment Manufacturing) เจ้าของโรงงานก็จะกินค่าแรงเป็นหลัก นั่นหมายถึง กดค่าแรงผู้ร่วมงาน สวัสดิการมีให้น้อยที่สุด ใช้งานแยะๆ ให้เงินน้อยๆ รูปแบบธุรกิจแบบนี้เรียกว่า ทำมากได้น้อย (More for less) รัฐไม่ควรส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบนี้ แต่ควรให้องค์ความรู้ ต่างๆ ตลอดจนแหล่งเงินทุนราคาถูก เพื่อนำไปสร้างตราสินค้าเป็นของตัวเอง และ ยกระดับผลิตภาพให้สูง เด่นขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็ยังคงสามารถ รับจ้างผลิตได้เหมือนเดิม แต่คุณภาพดีกว่าเดิม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม ราคาค่าจ้างก็จะเพิ่มขึ้น ก็จะสามารถจ่ายค่าจ้างแรงงาน ให้เพื่อนร่วมงานได้มากขึ้น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ HTC ของใต้หวัน รับจ้างผลิตให้กับ Google, บริษัท Samsung รับจ้างผลิต video processor IC ให้กับ iphone (มีถึง 30 บริษัท จาก 3 ทวีป ที่ บริษัท Apple จ้างผลิต iphone หนึ่งเครื่อง) เป็นต้น ส่วนเจ้าของโรงงานไหนไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือ เปลี่ยนแปลงช้าเกินไป ก็จะค่อยๆหด หายไปจากระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น