Thailand Transformation:For sustainable and peaceful nation เสนอแนวคิดใหม่ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในระบอบประชาธิปไตย ทุนนิยมเสรีอย่างยั่งยืน เป็นธรรม มีความสงบสุข
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
Chuvit Kamolvisit : "Yes I'm (A) Bad (Guy)"
ในการให้สัมภาษณ์สื่อ เดอะ แบงคอก โพสต์ (The Bangkok Post) ของนายชูวิทย์ ครั้งนี้ นาย ชูวิทย์ ตอกย้ำว่าตัวเองเป็นคนเลว (I'm a bad guy) อย่างน้อย 3หน ระหว่างการให้สัมภาษณ์ 5นาที 23 วินาที
แต่ได้สะท้อนนัยะแห่งปัญหาการเมืองไทย 3 ประการด้วยกัน..
1. แม้แต่คนเลวอย่างนายชูวิทย์ ก็สามารถ"เล่น"การเมืองได้ นั่นคือ ระบบการคัดกรองนักการเมือง ไม่มีเลย (ซึ่งเป็น 1 ในปัญหาหลักของการเมืองไทย)หรือที่ผมเรียกว่า ใช้ตระแกรงกรองน้ำกิน ไม่ได้ใช้เครื่องกรองน้ำที่มีคุณภาพ น้ำที่ได้จึงเป็นน้ำไว้สำหรับ"ล้างตีน"ได้เท่านั้น
คนเลวๆ อื่นๆก็สามารถเข้าสู่การเมืองได้เช่นเดียวกัน เข้าไปบริหารเงินภาษีประชาชน นับ สองล้านๆบาท/ปี เข้าไปออกนโยบายสาธารณะต่างๆ ออกกฏหมายใช้บังคับประชาชน 70 ล้านคน นี่คือการเมืองที่ไร้มาตรฐานอย่างยิ่ง
2. พรรคการเมืองต่างๆ เป็นของบุคคล มีเจ้าของชัดเจน มิได้เป็นของประชาชนดั่งทฤษฎีว่าไว้ แม้แต่บุคคลที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5ปี ก็ไร้ผล บุคคลเหล่านี้ก็ยังคงกด"รีโมต" สั่งการได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกนี้ พรรคการเมือง จึงเป็นแค่รูปแบบ เท่านั้น แต่เนื้อหาเป็นเผด็จการโดยแท้ ประชาชนมีหน้าที่แค่ หย่อนบัตรลงคะแนน จบข่าว!!!
3. การเลือกตั้งทุกครั้งจึงเป็นการแข่งขันกันเองระหว่างคนเลวๆ ที่สร้างภาพว่าเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความสามารถ เสียสละ มารับใช้ประชาชน "ตอแหล"ทั้งนั้น ซึ่งเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ของชาติในการปล่อยปละละเลยให้คนเหล่านี้ เข้าสู่แวดวงการเมือง แค่นี้ก็มองเห็นอนาคตของชาติไทยแล้ว ว่าจะไปในทิศทางใด ซึ่งที่จริงก็ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด 70 กว่าปี
วิดีโอคลิปที่สองนี้ นายรักเกียรติ ได้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นความจริงอย่างที่สุด นั่นคือ เงินทางการเมือง(Money politics)ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ปัญหาหลักของการเมืองไทย ที่นักการเมืองได้เงินมาจากห้าง ร้าน ธุรกิจต่างๆ ซึ่งตามกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ ปี 50 ให้พรรคการเมืองรับเงินบริจาคได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท/ปี ซึ่งมากเกินไปมากมายนัก แต่ในความเป็นจริง บางพรรคการเมืองได้รับเงินมากมาย นับ ร้อยๆล้าน เมื่อนักการเมืองได้เข้าไปใช้อำนาจรัฐ ก็ไปทำงานให้เจ้าของเงินเหล่านั้นก่อนแน่ เช่น การทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ของ นายก อภิสิทธิ์ กรณี บริษัืททรู ซื้อ บริษัทฮัช ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซีดีเอ็มเอ (Hutch-CDMA Service Provider) และพยายามหาช่องทางโกงกิน เพื่อทั้งตัวเอง พวกพ้อง และพรรคไว้ใช้เลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นอย่างนี้ ตลอดมา 70 กว่าปี ถามว่า ประชาชนอยู่ไหน ประชาชนมาก่อนจริงรึหรือเปล่า(ว่ะ)
ขอขอบคุณ คุณรสนา โตสิตระกูล ที่มีแนวคิดเหมือนกันและพยายาม ให้รัฐสภาเริ่มทำในสิ่งที่สมควร เช่น ทำบันทึกประวัติการทำงานของนักการเมือง อย่างระเอียดเพื่อให้ประชาชนไว้ศึกษา แต่รัฐสภาไม่เอาด้วย พยายามต่อไปนะครับ
คลิปสุดท้ายนี้เป็นการวิเคราะห์การเลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554 นี้ ของ คุณทักษิณ
หลังการเลือกตั้ง 3 ก.ค. 54 นี้ เป็นวันเริ่มนับถอยหลังของรัฐบาลชุดใหม่ และ เริ่มความรุนแรงทางการเมืองรอบใหม่ ไม่ว่าใครจะเข้ามาใช้อำนาจบริหาร ต่อให้พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงเกินกึ่งนึง สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ได้ หรือ แม้พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสียงมากกว่าครึ่ง(ซึ่งอีก 10 ชาติก็ไม่มีทางเป็นไปได้หากวิธีคิดและ วัฒนธรรมของพรรคยังเป็นแบบนี้) ก็หนีไม่พ้นความรุนแรงทางการเมืองรอบใหม่ และจะรุนแรงมากว่าทุกๆครั้งที่ผ่านมา
ป้ายกำกับ:
ทักษิณ,
รสนา โตสิตระกูล,
ระบบการคัดกรองนักการเมือง,
money politics
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
การสร้างภาพใหม่ของนักการเมือง(Politician Re-Branding)
รีแบรนด์ดิ่ง(Re-branding) หรือ Re-positioning ภาษาทางการตลาดหมายถึง กระบวนการสร้างการรับรู้ในตัวสินค้า หรือบริการ ให้แตกต่างไปจาก "ของเดิม" และ สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายใหม่ เพื่อให้อยู่ในความคิด จดจำ ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายใหม่ เพื่อให้ซื้อและซื้อซ้ำ จนเป็นความภักดีต่อตัวสินค้า หรือบริการนั้นๆ หรือพูดให้เข้าใจง่ายว่า เป็นการสื่อสารทางการตลาดในทุกช่องทาง ไปยังกลุ่มคนเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง สื่อทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ สื่อใหม่(new media) ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจและเชื่อตามนั้น
ส่วนตัวสินค้าหรือบริการนั้นๆจะดีจริง มีคุณสมบัติเป็นไปตามที่ "สื่อสาร" ออกมา หรือ "โฆษณา ประชาสัมพันธ์" หรือใหม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงต้องมีหน่วยงานกลาง หรือ องค์กรกลาง หรือ องค์กรอิสระ ที่เข้มแข็ง เป็นกลาง(Neutrality) กำกับดูแล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกัน
มนุษย์เดินดินเหมือนกัน ย่อมนิยม ชมชอบให้คนอื่นๆ ชื่นชมตนเองมากกว่า ตำหนิ ติเตียนแน่ นักการเมืองก็เช่นเดียวกัน ต้องการให้สาธารณะชนรับรู้แต่สิ่งดีดีของตัวเองเท่านั้น นักการเมืองบางคน พฤติการณ์ และพฤติกรรมสุดโสมม สุดต่ำช้า ตั้งแต่เล็กจนโต โกงพี่น้องตัวเอง ค้ากาม ค้าของเถื่อนโกงภาษี สารพัด ในที่สุดร่ำรวยนับ ร้อย นับพันล้านบาท เรียกว่า ชาญฉลาดมาก แต่ล้วนเป็นเรื่องทำให้ตัวเอง แต่ เบียดเบียนผู้อื่น บูชาเงินตราเหมือนพระเจ้า สามารถทำเรื่องผิดกฏหมายได้ แต่ไม่ต้องรับผิดตามกฏหมาย และโด่งดังชั่วข้ามคืน มาบัดนี้สร้างภาพจะช่วยชาวบ้าน ปราบคนโกงกิน
ไม่มีอาชีพอะไรที่จะสร้างความร่ำรวย มีอานาจ มีเกียรติยศ ในช่วงเวลาสั้นๆ ง่ายๆ ได้ดีไปกว่าอาชีพนักการเมือง อีกแล้ว หากฉลาด"ซื้อคน" "ใช้สื่อกระแสหลัก" ให้เป็น สร้างข่าว สร้างภาพตัวเอง บนพื้นที่สื่อ ที่ฉาบฉวย ไร้สมอง ไร้วิจารญาณ สามารถบิดเบือนเปลี่ยนภาพลักษณ์ จากเคยเป็น"ผู้ร้าย" จนจวนเจียนจะกลายเป็น"พระเอก" ในสายตาสาธารณะชนดูง่ายๆจากผลโพล แวดวงการเมืองจึงเต็มไปด้วย เสือ สิงห์ กระทิง แรด โสเพณี และ แมงดา
แต่เนื่องจาก นักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะที่จะเป็นผู้ออกกฏหมาย หรือ นโยบายสาธารณะต่างๆ จับต้อง บริหารเงินภาษีประชาชนนับสองล้านๆบาทต่อปี ที่ชี้เป็นชี้ตายให้แก่คนทุกคนได้ แต่ ....กระบวนการคัดกรองนักการเมืองไม่มี ปล่อยให้คน "เล่น" การเมือง เข้าสู่แวดวงการเมืองได้อย่างง่ายดาย ซึ่งล้วนไปสร้างปัญหาแก่ชาติไม่มีที่สิ้นสุด และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรง
“Insanity is doing the same thing over and over while expecting a different result,” Albert Einstein.
"ต้องเป็นคนวิกลจริตแน่ๆ ที่ทำอะไรเหมือนเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่อยากให้ผลออกมาแตกต่างไปจากเดิม" อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ประชาธิปไตยแบบไทยๆก็เช่นเดียวกัน การเลือกตั้ง ทุกฝ่าย รณรงค์ "ต้องการคนดี มีความสามารถ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม"แต่ทำเหมือนเดิม วิธีการเดิม ทุกๆครั้งตลอดมา
ส่วนตัวสินค้าหรือบริการนั้นๆจะดีจริง มีคุณสมบัติเป็นไปตามที่ "สื่อสาร" ออกมา หรือ "โฆษณา ประชาสัมพันธ์" หรือใหม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงต้องมีหน่วยงานกลาง หรือ องค์กรกลาง หรือ องค์กรอิสระ ที่เข้มแข็ง เป็นกลาง(Neutrality) กำกับดูแล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกัน
มนุษย์เดินดินเหมือนกัน ย่อมนิยม ชมชอบให้คนอื่นๆ ชื่นชมตนเองมากกว่า ตำหนิ ติเตียนแน่ นักการเมืองก็เช่นเดียวกัน ต้องการให้สาธารณะชนรับรู้แต่สิ่งดีดีของตัวเองเท่านั้น นักการเมืองบางคน พฤติการณ์ และพฤติกรรมสุดโสมม สุดต่ำช้า ตั้งแต่เล็กจนโต โกงพี่น้องตัวเอง ค้ากาม ค้าของเถื่อนโกงภาษี สารพัด ในที่สุดร่ำรวยนับ ร้อย นับพันล้านบาท เรียกว่า ชาญฉลาดมาก แต่ล้วนเป็นเรื่องทำให้ตัวเอง แต่ เบียดเบียนผู้อื่น บูชาเงินตราเหมือนพระเจ้า สามารถทำเรื่องผิดกฏหมายได้ แต่ไม่ต้องรับผิดตามกฏหมาย และโด่งดังชั่วข้ามคืน มาบัดนี้สร้างภาพจะช่วยชาวบ้าน ปราบคนโกงกิน
ไม่มีอาชีพอะไรที่จะสร้างความร่ำรวย มีอานาจ มีเกียรติยศ ในช่วงเวลาสั้นๆ ง่ายๆ ได้ดีไปกว่าอาชีพนักการเมือง อีกแล้ว หากฉลาด"ซื้อคน" "ใช้สื่อกระแสหลัก" ให้เป็น สร้างข่าว สร้างภาพตัวเอง บนพื้นที่สื่อ ที่ฉาบฉวย ไร้สมอง ไร้วิจารญาณ สามารถบิดเบือนเปลี่ยนภาพลักษณ์ จากเคยเป็น"ผู้ร้าย" จนจวนเจียนจะกลายเป็น"พระเอก" ในสายตาสาธารณะชนดูง่ายๆจากผลโพล แวดวงการเมืองจึงเต็มไปด้วย เสือ สิงห์ กระทิง แรด โสเพณี และ แมงดา
แต่เนื่องจาก นักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะที่จะเป็นผู้ออกกฏหมาย หรือ นโยบายสาธารณะต่างๆ จับต้อง บริหารเงินภาษีประชาชนนับสองล้านๆบาทต่อปี ที่ชี้เป็นชี้ตายให้แก่คนทุกคนได้ แต่ ....กระบวนการคัดกรองนักการเมืองไม่มี ปล่อยให้คน "เล่น" การเมือง เข้าสู่แวดวงการเมืองได้อย่างง่ายดาย ซึ่งล้วนไปสร้างปัญหาแก่ชาติไม่มีที่สิ้นสุด และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรง
“Insanity is doing the same thing over and over while expecting a different result,” Albert Einstein.
"ต้องเป็นคนวิกลจริตแน่ๆ ที่ทำอะไรเหมือนเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่อยากให้ผลออกมาแตกต่างไปจากเดิม" อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ประชาธิปไตยแบบไทยๆก็เช่นเดียวกัน การเลือกตั้ง ทุกฝ่าย รณรงค์ "ต้องการคนดี มีความสามารถ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม"แต่ทำเหมือนเดิม วิธีการเดิม ทุกๆครั้งตลอดมา
ป้ายกำกับ:
ระบบการคัดกรองนักการเมือง,
Politician Re-Branding
วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ:ยาพิษในขนมหวาน
เป็นใครก็ต้องหัวใจพองโตแน่เมื่อ ตัวเองมีชื่ออยู่ในความสนใจของหลายชาติที่สนับสนุนให้เป็นผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ไอเอ็มเอฟ(IMF-International Monetary Fund) หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค ปชป. อดีต รมต. คลัง สดๆร้อนๆ และ เป็นเพื่อนรัก อดีตนายก อภิสิทธิ์ ก็มีชื่ออยู่เช่นเดียวกัน แต่ เนื่องจากนายกรณ์ คงมีภาระกิจอยู่กับการเมือง การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 จึงไม่ได้สนใจ (ข่าว) และขอบอกเลยว่า หาก นายกรณ์ "หลงลม" ตอบรับ ก็ยากส์ส์ ที่จะได้เป็น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ เพราะอะไร ???
IMF คืออะไร?? ต่อไปนี้คือข้อมูลย่อๆ(Factoids)
IMF เป็นองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้น ปี 1944 โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 45 ชาติ ก่อตั้ง ภายหลังการตกต่ำของเศรษฐกิจทั่วโลกครั้งใหญ่(The Great Depression 1929-1939) และก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง (WWII 1939-1945)
มีหน้าที่...
1. จัดระบบ ระเบียบการเงินของโลก(ตามการบงการของอเมริกา)
2. กำกับดูแลระบบการเงินของโลก(ตามความเห็นของอเมริกา)
3. บริหารเงินกองกลางของประเทศสมาชิก โดยปล่อยให้ชาติสมาชิกกู้ยืมยามมีปัญหาด้านการเงิน
ปัจจุบันมีชาติสมาชิกทั้งสิ้น 187 ประเทศ ไทยเป็น 1 ชาติสมาชิกในนั้น มีคณะกรรมการไอเอ็มเอฟ 24 คน
20 ประเทศแรกที่จ่ายเงินเข้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศสูงสุด คิดเป็น 69.98% ของผู้บริจาคทั้งหมดและเท่ากับเสียงลงมติด้วยเช่นกัน
.ในบรรดาชาติที่บริจาคเงินทั้งหมด ประเทศ สหรัฐอเมริกา บริจาคมากที่สุดเป็นเงิน 37,149.30 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 17.09% รองลงมาเป็นประทศญี่ปุ่น 13,312.80 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 6.12% เงินตามสัดส่วนที่บริจาคนี้ ยังคงนอนนิ่งๆอยู่ในคลังของแต่ละประเทศ จนกว่าจะมีเรื่องให้ใช้เงิน
ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ การลงมติของชาติสมาชิก โดยมีกติกาว่า หากเป็นเรื่องสำคัญมากๆ จะต้องได้มติเห็นชอบอย่างน้อย 85% จึงจะได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF ที่สำคัญยิ่ง ที่ไม่มีทางเป็นธรรม และให้การช่วยเหลือโดยไม่มีการเมืองเกี่ยวข้องไปได้นั่นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่สามารถยับยั้ง หรือ คัดค้านในมติต่างๆได้ แล้วประเทศสมาชิกรายเล็กๆชาติไหนล่ะ แม้จะรวมตัวกันเป็น ร้อยประเทศ ก็ไม่สามารถโหวตชนะชาติที่ร่ำรวยไปได้ ??? IMF เป็นของใครกัน??
คงมองเห็นภาพและคาดการณ์ได้ไม่ยากว่า ใครกันที่จะได้รับไว้วางใจ ได้รับการสนับสนุนให้นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ IMF ได้ ตอบได้เลยว่า... บุคคลผู้นั้นต้องอยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือเท่านั้น
และตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อตั้ง IMFมา มีกรรมการผู้จัดการ 11 คน เป็นคนยุโรป 10 คน อเมริกัน 1 คน ทั้งนี้เพราะ ได้มาการแบ่งสรรปันส่วนกันเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ก่อตั้ง ว่า หัวหน้าของ IMF ต้องเป็นคนยุโรปเท่านั้น ส่วนหัวหน้าของ World Bank(ก่อตั้ง 1944 ปีเดียวกับ IMF) ต้องเป็นคนอเมริกันเท่านั้น เช่นกัน
นี่คือการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจชัดๆ นี่เป็นการเมืองเพื่อการเมืองไม่ใช่การเมืองเพื่อประชาชน พลเมืองของโลก
พอล ครุ๊คแมน(Paul Krugman) นักเศรษฐศาสตร์ เคยพูดไว้ในทำนองว่า ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกนั้น เกิดจากผู้นำขณะนั้น ที่คิดว่าตัวเองสามารถผลิตและใช้อาวุธที่ทันสมัยกว่า ประเทศอื่นจึงรุกราน ฆ่าฟัน และเอาเปรียบประเทศอื่นๆ และเป็นเหตุให้เกิดของสงครามโลกทั้งสองหน
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค ปชป. อดีต รมต. คลัง สดๆร้อนๆ และ เป็นเพื่อนรัก อดีตนายก อภิสิทธิ์ ก็มีชื่ออยู่เช่นเดียวกัน แต่ เนื่องจากนายกรณ์ คงมีภาระกิจอยู่กับการเมือง การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 จึงไม่ได้สนใจ (ข่าว) และขอบอกเลยว่า หาก นายกรณ์ "หลงลม" ตอบรับ ก็ยากส์ส์ ที่จะได้เป็น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ เพราะอะไร ???
IMF คืออะไร?? ต่อไปนี้คือข้อมูลย่อๆ(Factoids)
IMF เป็นองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้น ปี 1944 โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 45 ชาติ ก่อตั้ง ภายหลังการตกต่ำของเศรษฐกิจทั่วโลกครั้งใหญ่(The Great Depression 1929-1939) และก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง (WWII 1939-1945)
มีหน้าที่...
1. จัดระบบ ระเบียบการเงินของโลก(ตามการบงการของอเมริกา)
2. กำกับดูแลระบบการเงินของโลก(ตามความเห็นของอเมริกา)
3. บริหารเงินกองกลางของประเทศสมาชิก โดยปล่อยให้ชาติสมาชิกกู้ยืมยามมีปัญหาด้านการเงิน
ปัจจุบันมีชาติสมาชิกทั้งสิ้น 187 ประเทศ ไทยเป็น 1 ชาติสมาชิกในนั้น มีคณะกรรมการไอเอ็มเอฟ 24 คน
20 ประเทศแรกที่จ่ายเงินเข้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศสูงสุด คิดเป็น 69.98% ของผู้บริจาคทั้งหมดและเท่ากับเสียงลงมติด้วยเช่นกัน
.ในบรรดาชาติที่บริจาคเงินทั้งหมด ประเทศ สหรัฐอเมริกา บริจาคมากที่สุดเป็นเงิน 37,149.30 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 17.09% รองลงมาเป็นประทศญี่ปุ่น 13,312.80 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 6.12% เงินตามสัดส่วนที่บริจาคนี้ ยังคงนอนนิ่งๆอยู่ในคลังของแต่ละประเทศ จนกว่าจะมีเรื่องให้ใช้เงิน
ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ การลงมติของชาติสมาชิก โดยมีกติกาว่า หากเป็นเรื่องสำคัญมากๆ จะต้องได้มติเห็นชอบอย่างน้อย 85% จึงจะได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF ที่สำคัญยิ่ง ที่ไม่มีทางเป็นธรรม และให้การช่วยเหลือโดยไม่มีการเมืองเกี่ยวข้องไปได้นั่นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่สามารถยับยั้ง หรือ คัดค้านในมติต่างๆได้ แล้วประเทศสมาชิกรายเล็กๆชาติไหนล่ะ แม้จะรวมตัวกันเป็น ร้อยประเทศ ก็ไม่สามารถโหวตชนะชาติที่ร่ำรวยไปได้ ??? IMF เป็นของใครกัน??
คงมองเห็นภาพและคาดการณ์ได้ไม่ยากว่า ใครกันที่จะได้รับไว้วางใจ ได้รับการสนับสนุนให้นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ IMF ได้ ตอบได้เลยว่า... บุคคลผู้นั้นต้องอยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือเท่านั้น
และตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อตั้ง IMFมา มีกรรมการผู้จัดการ 11 คน เป็นคนยุโรป 10 คน อเมริกัน 1 คน ทั้งนี้เพราะ ได้มาการแบ่งสรรปันส่วนกันเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ก่อตั้ง ว่า หัวหน้าของ IMF ต้องเป็นคนยุโรปเท่านั้น ส่วนหัวหน้าของ World Bank(ก่อตั้ง 1944 ปีเดียวกับ IMF) ต้องเป็นคนอเมริกันเท่านั้น เช่นกัน
นี่คือการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจชัดๆ นี่เป็นการเมืองเพื่อการเมืองไม่ใช่การเมืองเพื่อประชาชน พลเมืองของโลก
พอล ครุ๊คแมน(Paul Krugman) นักเศรษฐศาสตร์ เคยพูดไว้ในทำนองว่า ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกนั้น เกิดจากผู้นำขณะนั้น ที่คิดว่าตัวเองสามารถผลิตและใช้อาวุธที่ทันสมัยกว่า ประเทศอื่นจึงรุกราน ฆ่าฟัน และเอาเปรียบประเทศอื่นๆ และเป็นเหตุให้เกิดของสงครามโลกทั้งสองหน
ป้ายกำกับ:
กรณ์ จาติกวณิช,
นายก อภิสิทธิ์,
IMF
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
CRM:CUSTOMER BEST EXPERIENCE
CRM (CUSTOMER RELATIONSHIP MANAGEMENT) เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีดีให้แก่ลูกค้าในทุกๆด้านเพื่อให้ลูกค้าประทับใจทั้งตัวสินค้า บริการ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆขององค์กร เพื่อหวังให้ลูกค้าซื้อซ้ำและภักดีต่อองค์กร
Jeff Benzos เจ้าของและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon เคยกล่าวไว้ทำนองว่า ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ในสินค้า หรือ บริการ นั้นถือว่าเป็นลูกค้าอย่างแท้จริง ส่วนผู้ที่ซื้อสินค้าหรือบริการเฉยๆไม่แน่ใจว่าเป็นลูกค้าหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพราะ ผู้วิพากษ์วิจารณ์ในสินค้า หรือ บริการ นั้นต้องการให้บริษัทเจ้าของสินค้า และบริการนั้นปรับปรุงตัวสินค้าหรือบริการให้ถูกใจ ให้ดีขึ้น หรือปรับปรุง แก้ไขให้ดีที่สุด หรือ ดีกว่าเดิม (และจะยังคงอุดหนุนต่อไป) หากบริษัทนำข้อท้วงติงต่างๆของลูกค้าเหล่านี้ไปปรับปรุงให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแล้ว ย่อมสามารถยึดครองใจลูกค้าได้ตลอดไป ส่วนผู้ซื้อสินค้าหรือบริการนิ่งๆเฉยๆนั้น แม้จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่ดี ไม่ถูกใจแต่ยังคงไม่ปริปาก ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ท้วงติงใดๆ และในที่สุดคงเข็ดขยาดไม่กลับมาซื้อซ้ำแน่ และบริษัทเองก็ไม่ทราบในข้อบกพร่องของตัวสินค้า หรือบริการได้ดีเท่าที่ควร ผลที่สุดตัวบริษัทเองนั้นแหละที่เสียหาย ไม่สามารถยึดครองใจลูกค้าไว้ได้ และจะล้มหายตายจากไป นั่นเอง
สิ่งเหล่านี้ วิธีคิดเหล่านี้ไม่ค่อยได้พบเห็นนักในบริษัทคนไทย คงเคยชินอยู่กับการเอารัดเอาเปรียบลูกค้าจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร นี่กระมังที่มีคนเริ่มพูดกันว่า บริษัทคนไทยค้าขายนอกบ้านไม่เก่ง เพราะ อยู่ใน comfort zone เสียนาน
Jeff Benzos เจ้าของและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon เคยกล่าวไว้ทำนองว่า ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ในสินค้า หรือ บริการ นั้นถือว่าเป็นลูกค้าอย่างแท้จริง ส่วนผู้ที่ซื้อสินค้าหรือบริการเฉยๆไม่แน่ใจว่าเป็นลูกค้าหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพราะ ผู้วิพากษ์วิจารณ์ในสินค้า หรือ บริการ นั้นต้องการให้บริษัทเจ้าของสินค้า และบริการนั้นปรับปรุงตัวสินค้าหรือบริการให้ถูกใจ ให้ดีขึ้น หรือปรับปรุง แก้ไขให้ดีที่สุด หรือ ดีกว่าเดิม (และจะยังคงอุดหนุนต่อไป) หากบริษัทนำข้อท้วงติงต่างๆของลูกค้าเหล่านี้ไปปรับปรุงให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแล้ว ย่อมสามารถยึดครองใจลูกค้าได้ตลอดไป ส่วนผู้ซื้อสินค้าหรือบริการนิ่งๆเฉยๆนั้น แม้จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่ดี ไม่ถูกใจแต่ยังคงไม่ปริปาก ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ท้วงติงใดๆ และในที่สุดคงเข็ดขยาดไม่กลับมาซื้อซ้ำแน่ และบริษัทเองก็ไม่ทราบในข้อบกพร่องของตัวสินค้า หรือบริการได้ดีเท่าที่ควร ผลที่สุดตัวบริษัทเองนั้นแหละที่เสียหาย ไม่สามารถยึดครองใจลูกค้าไว้ได้ และจะล้มหายตายจากไป นั่นเอง
สิ่งเหล่านี้ วิธีคิดเหล่านี้ไม่ค่อยได้พบเห็นนักในบริษัทคนไทย คงเคยชินอยู่กับการเอารัดเอาเปรียบลูกค้าจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร นี่กระมังที่มีคนเริ่มพูดกันว่า บริษัทคนไทยค้าขายนอกบ้านไม่เก่ง เพราะ อยู่ใน comfort zone เสียนาน
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่ คน คือนักการเมืองที่ไม่เคยมีมาตรฐาน
สิ่งที่คณะกรรมการปฏิรูปฯ ได้นำเสนอ ทั้งการกระจายอำนาจ สร้างความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้นนั้น จริงอยู่เป็นปัญหาหมักหมม อยู่ แต่..ไม่ใช่รากเหง้า หรือปัญหาหลัก ของปัญหาการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เปรียบได้ว่าทำนอง "เอาปลาย่างไปฝากไว้กับแมว" ที่ยังไม่ได้ฝึกฝน(ให้รู้จักยับยั้ง, สติ) หรือ ไม่ได้คัดเลือก(ผ่านระบบการคัดกรอง) ยิ่งส่งเสริมให้เกิดปัญหาการโกงกินขยายตัวมากยิ่งขึ้น
ปัญหาการเมืองไทยอยู่ที่"คน" คือ นักการเมือง ซึ่งไม่มีมาตรฐาน ไม่เคยมีมาตรฐาน แม้แต่การเมืองในสหรัฐอเมริกา หรือ แม่แบบอย่างประเทศอังกฤษ ก็ไม่มีมาตรฐาน การเมืองในโลกนี้จึง ไม่มีทางยั่งยืนไปได้ กล่าวได้ว่า มุ่งไปแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และสังคม ไม่แก้ไขปัญหาด้านการเมือง คิดแต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหลงคิดต่อไปว่า ปัญหาการเมืองไทยอยู่ตรงนี้ ซึ่งเป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะ จะถูกบล๊อก ด้วยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกักขฬะ ที่นักการเมืองมาจากเงินทุนของระบบนี้ อย่างที่นักวิชาการตะวันตกเรียกระบอบการปกครองนี้ว่า Plutocracy อันหมายถึง ระบอบการปกครองที่ปกครองโดยคนมั่งมี หรือ นักการเมืองมาจากเงินทุนของคนมั่งมี หรือ ซื้อเสียงเข้ามา
อุปมา คนเราถูกมัดด้วยเชือก 3 เส้น
เส้นที่1 รัดที่เท้า หรือ เปรียบเป็นปัญหาด้านสังคม
เส้นที่2 มัดคอ หรือ เปรียบเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ
เส้นที่3 มัดมือ หรือ เปรียบเป็นปัญหาด้านการเมือง
เราต้องแก้เชือกที่มัดที่มือเสียก่อน แล้วจึงใช้มือที่ปราศจากพันธนาการไปแก้เชือกที่รัดคอ ดั่งที่พระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้พระบรมราโชวาทไว้ตั้งแต่ปี 2512 ความว่า
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
หรือ ดั่งคำกล่าวของ นาย ลี กวน ยู รัฐบุรุษของประเทศสิงคโปร์ กล่าวทำนองว่า เราต้องได้คนดีมีคุณธรรมก่อน จึงให้คนดีเหล่านั้นไปชักชวนคนดีอื่นๆ แล้วช่วยกันสร้างระบบที่ดีต่อไป
"We are entering a new age where people participate in the economy like never before. This new participation has reached a tipping point where new forms of mass collaboration are changing how goods and services are invented, produced, marketed, and distributed on a global scale. This changing presents far reaching opportunities for every company and for every person who get connected" Wikinomics, Tapscott and williams (2006)
เราจึงต้องทำการเมืองให้มีมาตรฐาน เรียกระบบนี้ว่า Participatory Technocracy ประกอบด้วย...
1. ระบบการคัดกรองนักการเมือง (Politician Filtration)
1.1 คณะกรรมการคัดกรองนักการเมือง
1.2 Social Software เป็น เว็บเซอร์วิส ซึ่งเป็นสื่อกลางให้ทุกๆคนทั้งตรวจสอบ ร่วมมือ เสนอแนวคิด ซึ่งว่าที่นักการเมืองทุกคนจะต้องลงทะเบียนที่เว็บเซอร์วิสนี้ทุกคน เป็นเวลา3-5 ปี ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทั้งมีสิทธิ์เลือกตั้งแล้ว หรือยังไม่ถึงเกณฑ์ ได้ตรวจสอบพฤติกรรมต่างๆของเหล่าว่าที่นักการเมืองทุกคน
1.3 ระบบวิเคราะห์ (Analytics) เป็นเครื่องมือในการคัดกรองคนดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ แม่นยำ เชื่อถือได้ ไม่เอนเอียง สร้างความเป็นธรรมในการคัดเลือก ให้รางวัล หรือ ลงโทษ เป็นต้น
1.4 ระบบประมวลผลคลาวด์(Cloud Computing or Data Center ) เป็นระบบการเก็บและประมวลผลข้อมูล
2. เงินทางการเมือง (Money Politics)
2.1 บุคคล/นิติบุคคล อุดหนุนพรรคการเมืองได้ ไม่เกิน 10,000/ปี/นิติบุคคล
ต้องจำกัดเงินทางการเมือง โดยเฉพาะ เงินอุดหนุนทางการเมือง จากบุคคล หรือนิติบุคคลต่างๆ ที่ให้กับพรรคการเมือง นั้นให้น้อยที่สุด ไม่ควรเกิน 10,000 บาทต่อ หนึ่งคนต่อปี หรือ ต่อนิติบุคคลต่อปี เพราะ ปล่อยให้เป็นเช่นรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้ภาคเอกชนอุดหนุนพรรคการเมืองได้มากถึง 10 ล้านบาท ทำให้นักการเมือง ทำงานให้กับผู้อุดหนุนพรรคตนเองก่อน หรือ มากกว่า ประชาชนทั่วไป แล้วให้นักการเมืองขายวิธีคิดที่ดี เป็นจริง เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยให้นักการเมือง พรรคการเมือง สร้างกิจกรรมทางการเมืองที่เกิดประโยชน์ กับประชาชน มากๆ แล้วประชาชนทั่วไปจะอุดหนุน บริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองนั้นๆเอง
ปัจจุบัน นักการเมืองหาเงินทางการเมืองอย่างง่ายๆ(เข้าสู่การ”เล่น”การเมืองก็ง่ายมากๆ)เช่น จัดเลี้ยงโต๊ะจีน 100 โต๊ะ ได้เงิน 1,000 ล้านบาท ง่ายเกินไป นักการเมืองจึงแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
2.2 ภาษีประชาชน
2.3 เงินส่วนตัวของนักการเมือง ห้ามใช้เงินส่วนตัวเกิน 100,000 บาทต่อการสมัครรับเลือกตั้ง 1 ครั้งเป็นตัวอย่าง
3. วิธีแบ่งเขตเลือกตั้งเดิมเป็นแบบ Election Based Geographics กล่าวคือ ใช้จังหวัด พื้นที่ หรือ ภูมิประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งล้าสมัย ไม่ตอบโจทย์ การพัฒนาในเชิงคุณภาพ คุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี เพราะมุ่งไปพัฒนาที่วัตถุมากกว่าคุณภาพชีวิตคน
ให้ใช้แบบใหม่ เป็นแบบ Election Based Demographics แทน กล่าวคือ ให้ยึด กลุ่มอายุ เพศ อาชีพ เป็นต้น โดยมีกลุ่มนักการเมืองเป็นตัวแทนของกลุ่มอายุนั้น เช่น
กลุ่มอายุ 18-23 ปี มีจำนวนกี่คน?จำเป็นต้องมีตัวแทนที่เป็นผู้แทนได้กี่คน?
กลุ่มอายุ 24-29 ปี มีจำนวนกี่คน?จำเป็นต้องมีตัวแทนที่เป็นผู้แทนได้กี่คน?
กลุ่มอายุ 30-35 ปี มีจำนวนกี่คน?จำเป็นต้องมีตัวแทนที่เป็นผู้แทนได้กี่คน?
เป็นตัวอย่าง
ข้อดี 1. ทำให้การซื้อเสียงหมดไปโดยปริยาย ไม่สามารถซื้อเสียง หรือสร้างเครือข่าย วางเครือข่ายการซื้อเสียงได้อีกต่อไป เพราะ กลุ่มคนอายุต่างๆเหล่านั้น มีอยู่ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ
2. ทำให้นักการเมืองต้องศึกษา ให้เข้าใจ เพื่อจะได้เข้าถึงกลุ่มอายุต่างๆ และ ออกนโยบายให้ตรงตามความต้องการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดียิ่งๆขึ้นไป
4. ปฏิรูปสื่อ (Main stream Media Reformation)
4.1 คณะกรรมการปฏิรูปสื่อ
“Insanity is doing the same thing over and over while expecting a different result,” Albert Einstein.
หากในโลกนี้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจต่างๆ ได้นำระบบ Participatory Technocracy ใหม่นี้ไปใช้ มั่นใจได้ว่า
1. โลกนี้จะไม่มีสงคราม รบ ฆ่าฟันกัน
2. สภาวะโลกร้อนจะค่อยๆชลอความหายนะลง เพราะคนดีมีคุณธรรมจะตระหนักดีถึงผลเสียต่อการทำร้าย ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะ นับแต่ปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ เมื่อ300กว่าปีที่ผ่านมา สิ่งแวดล้อมถูกทำลายลงอย่างมากมาย เป็นเหตุให้โลกเรามุ่งสู่ความหายนะในอัตราเร่ง อุปมา คนกลุ่มเล็กๆจำนวนหนึ่งใช้มือกลบหลุม แต่ในขณะเดียวกัน คนอีกหลายๆกลุ่มและเป้นส่วนใหญ่ ต่างใช้แบคโคขุดหลุม
3. สินค้า บริการนวัตกรรมใหม่ๆ จะถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างมากมายอย่างไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน และล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่น
4. กองกำลังทหารจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นกองกำลังพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนเป็นหลัก
5. ภาษีประชาชนจะถูกใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดมากยิ่งขึ้น อาวุธสงครามจะถูกล้มเลิกการผลิต มุ่งหันไปประดิษฐ์ สร้างสรรค์อุปกรณ์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตมนุษย์แทน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)