คุณทักษิณ เป็นคนเชื่อในตัวเลข ทางวิทยาศาสตร์ จากผลเอแบคโพลล์ ที่สำรวจออกมาก่อนหน้านี้ ที่ผม เคยเขียนถึง ไปแล้ว และแน่นอน คุณทักษิณ ก็ทำโพลล์เองด้วย ตัวเลขคงสอดคล้องกันในทุกๆโพลล์ ที่คะแนนนิยมในตัวคุณทักษิณ ตกต่ำลงอย่างมาก แต่ไปเพิ่มให้ นายก อภิสิทธิ์ ถึงกว่า 3 เท่าตัว จึงเป็นที่มาของ "ท่าที" ในการประนีประนอมทางการเมือง ตามข่าวนี้
ที่บอกว่าเป็น ข่าวดีทางการเมือง"ชั่วคราว" นั้น ก็เพราะ ราก หรือโครงสร้างของปัญหาระบบการเมืองไทย(ที่เน่าอยู่) ยังไม่ได้รับการแก้ไข ท่าที ต่างๆ ที่จะประนีประนอมกัน จึงเป็นแค่เพียงฉากหนึ่งใน ละคร เรื่อง "ฆาตรกรรมประเทศไทยเพื่อแย่งอำนาจ" ยังคงมีอยู่ต่อไป ชั่วลูกชั่วหลาน แน่นอน..... ถ้า
หากจะแก้ไขปัญหาทางการเมืองให้ได้อย่างยั่งยืนนั้น ต้องแก้ไขแบบบูรณาการ 3 ส่วนด้วยกัน เคยเขียนถึงไว้แล้ว นั่นคือ
1. ต้องมีระบบการคัดกรองนักการเมือง (politician filtration)
2. เงินทุนทางการเมือง (money politics)
3. สื่อกระแสหลัก (mainstream media)
1. ระบบการคัดกรองนักการเมือง จะคัดคนดี มีจิตสำนึกใหม่ จิตสาธารณะ เสียสละ มี ความรู้คู่คุณธรรม เพราะเราต้องได้คนที่ดีมีคุณธรรมก่อน แล้วคนเหล่านี้จะไปสร้างระบบที่ดีเอง คัดเลือก คนอื่นๆ มาร่วมงานก็จะดีไปด้วย และเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีให้เยาวชนด้วย
2. ส่วนเรื่องเงินทุนที่ใช้ทางการเมืองนั้น
2.1 รับบริจาค(political advocacy) เช่น ต้องไม่ให้รับบริจาคเิงินเกิน 10,000 บาทต่อรายต่อปี ไม่เกิน 50,000 บาทต่อนิติบุคคลต่อปี ควรจำกัดให้น้อย เพื่อให้...
2.1.1 นักการเมืองทำงานการเมืองจริงจัง(จะได้ไม่"เล่นการเมือง") ขายนโยบาย ขายแนวคิดให้ประชาชนในวงกว้าง เมื่อ คนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวมจริง กอรปกับ เสนอแนวความคิดที่ดีในการยกระดับคุณภาพชีวิต การศึกษาให้กับประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ได้ขายฝัน ประชาชนก็จะร่วมบริจาคเงินให้เอง นักการเมืองจะลงไปสัมผัสกับชาวบ้าน รับรู้ รับทราบปัญหา ในพื้นที่อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ
2.1.2 หากยังคงให้นักการเมืองรับเงินบริจาคได้ถึง 30 ล้านบาทต่อราย ตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 นั้น นักการเมือง แค่นั่งคุย กับ คนรวย หรือ บริษัทต่างๆ เพียงไม่กี่รายก็ได้เงินก้อนโตมา "เล่่นการเมือง" ได้แล้ว เมื่อนั้น นักการเมืองก็ไปทำงานสนอง ให้กับคนเหล่านั้นก่อน ออกนโยบาย หรือ ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มคนเหล่านั้นก่อน โดยไม่สนใจนโยบายสาธารณะที่ดี ต่อประชาชนโดยรวม(ถ้าขัดผลประโยชน์นายทุนก็ไม่ทำ เช่นนโยบายภาษีที่เก็บจากคนรวย การคุ้มครองผู้บริโภค สัญญามาตรฐานต่างๆ ตลอดจนการเอาผิดลงโทษการไม่ทำตามมาตรฐานของการบริการต่างๆ ) พูดให้ชัดๆก็คือ เมื่อคนคนหนึ่งให้เงินใครเป็นล้านๆบาท ก็ต้องหวังผลตอบแทนกลับคืนอย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ทำให้ประชาชนโดยรวมเสียหาย เสียผลประโยชน์ เพราะ ผลตอบแทนคืนนายทุนนี้ ก็ต้องเบียดบัง ผลประโยชน์จากประชาชน ไปให้นายทุน เช่นการประมูลโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 G และโครงการอื่นๆ ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ไม่ได้มตรฐาน หรือ ค่าบริการแพงกว่าที่ควรจะเป็น (เพราะนักการเมืองกินสินบนไปก่อนแล้ว)
2.1.3 นักการเมืองจะเกิดจิตสำนึกใหม่ ที่ต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม ประชาชน(จำนวนมาก)ที่สละเงินให้เขาเหล่านั้นเข้าไปทำงานการเมือง นักการเมืองก็จะดื้อด้านน้อยลง รับฟังปัญหาประชาชนมากขึ้น และไม่ยึดติดในอำนาจ เก้าอี้ หรือผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้
2.1.4 การเมืองไม่ได้ผูกติดอยู่กับคนรวย ใครๆก็สามารถได้รับเลือก ถ้ามีความมุ่งมั่น เสียสละ มีความรู้คู่คุณธรรม และแนวความคิดดี
2.1.5 นักการเมืองเป็นคนของประชาชนมากขึ้น เพราะ ไม่ใช่นายทุนเพียงไม่กี่รายให้เงินเขาไปทำงาน(เพื่อนายทุน) หากประพฤติตัวไม่ดี ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ก็จะถูกประชาชนถอดออกเอง
2.2 เงินทุนส่วนตัว(his/her own money) ต้องจำกัดให้ใช้เงินตัวผู้สมัครเองให้น้อยที่สุด(โดยทั่วไปตัวนักการเมืองเองก็ไม่นิยมใช้เงินทุนตัวเองทำงานการเมืองอยู่แล้ว) เช่นให้ใช้เพียง ค่าสมัครรับเลือกตั้ง มันไม่ make sense หรอก ไม่ว่าจะใช้เงินตัวเองหรือเงินนายทุน ครั้งละ 20 ล้าน 30 ล้าน แล้วไม่คิด"ถอนทุน" ดังนั้นจึงควรห้าม หรือจำกัดการใช้เงินจะดีกว่า
2.3 ภาษีประชาชน (tax) ตามรัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดให้พรรคการเมืองจะได้รับเงินจากภาษีประชาชน ผ่านทาง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ตามสัดส่วนสมาชิกที่สมัครอยู่ในพรรคการเมืองทั่วประเทศ นอกจากนี้ตามแบบฟอร์มการเสียภาษีเงินได้ก็มีช่องให้ผู้เสียภาษีเลือกบริจาคเงิน(ที่เสียภาษี)ให้กับพรรคการเมืองใดได้ 100 บาท เงินเหล่านี้อาจกำหนดให้เพิ่มมากขึ้น ก็ได้ หรือ เิงินของผู้เสียภาษีเอง แล้วนำไปหักลดหย่อนภาษ๊ได้เต็มจำนวน
3. สื่อกระแสหลักจะต้องกล้าหาญ เสนอแนะ ตักเตือน ตรวจสอบ ขุดคุ้ย ตอกย้ำ ต่อท่าที ทัศนคติ ของนักการเมือง ที่ไม่มีจิตสาธารณะ หรือส่อไปในทางทุจริต สื่อกระแสหลักต้องมีสำนึกต่อประชาชนมากกว่าที่เป็นอยู่
เมื่อระบบการคัดกรองนักการเมืองทำงานได้ผล ก็เท่ากับได้คนดี มีความรู้คู่คุณธรรม(เป็นส่วนใหญ่) ซึ่งคนเหล่านี้ก็ไม่เล่นการเมืองแน่ ระบบก็จะทำงานได้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็จะได้รับการเอาใจใส่ อย่างจริงจัง ความไม่เป็นธรรมในสังคมก็จะค่อยๆ กลับคืนมา เมื่อคนดี ปกครองบ้านเมือง อะไรๆก็ดีขึ้นตามลำดับ
ขอเน้นย้ำว่า "ทัศนคติ"(attitude) "ท่าที" ของแกนนำทุกๆฝ่าย(ตัวซ้ำเติมปัญหา) รวมทั้งตัวนักการเมือง(ตัวปัญหา)เองในซีก พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แกนนำเสื้อสีต่างๆ โลกทัศน์ในเชิงประชาธิปไตย คับแคบ เป็นอย่างยิ่ง พวกแกนนำต่างๆ มองคนอื่น พวกอื่น เป็นผู้ร้ายไปเสียหมด พวกตัวเอง ทำดี ทำถูกต้องทุกอย่าง ยุแหย่ให้คนในชาิติเกลียดกัน ยุแหย่ให้เลือกข้าง แม้แต่ไปยึดสนามบิน ปิดสนามบิน ก็ยังคิดว่าถูกต้อง คนที่มีทัศนคติ ทำนองนี้ ทำงานสาธารณะไม่ได้เด็ดขาด โดยเฉพาะงานด้านการเมืองในระบอบประชาธิปไตย !!!