Powered By Blogger

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นายก อภิสิทธิ์: You Can Lead, But Can You Inspire?


ผมเชื่อมั่นอย่างสนิทใจ ว่า ท่านนายก อภิสิทธิ์ เป็นคนดี ไม่มีนอก ไม่มีใน เรื่องไม่ดีงามกับใครแน่ แต่ ท่านก็ไม่สามารถ บริหารจัดการให้เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ แม้่เพียง ครึ่งนึง ก็ยากยิ่ง


หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ของนายกรัฐมนตรี ต้องวางคน ใช้คนให้เหมาะ กับงาน และควบคุม ดูแล พลักดัน ตลอดจน สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความหึกเหิมให้ทุกๆคน ทำงานอย่างทุ่มเท เสียสละ ทุกคนทำงานให้หนุนเนื่องกัน ประสานกัน บริหารเงินภาษีอากรของประชาชน ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ ตามที่ได้แถลงนโยบายไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อชาติไทย คนไทยของเราเอง

แค่รัฐมนตรี หรือตำแหน่งงานสำคัีญๆของข้าราชการประจำ บริหารได้ไม่เต็มที่ หรือพูดตามภาษาชาวบ้านว่า "ไม่คุ้มค่าจ้าง" ถ้าเป็นบริษัทเอกชน รับรองได้ว่า โดนไล่ออก หรือ จ้างให้ออก แน่นอน ไม่มีบริษัทไหนในโลกเก็บไว้แน่

ยิ่ง เกิดการโกงกินของนักการเมือง ข้าราชการ ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึง และ เป็นเหมือนกันหมดทุกพรรค ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน เพราะ นักการเมือง เป็นอาชีพที่ลงทุนน้อย กำไรงาม หรือ แทบไม่ได้ใช้เงินตัวเองลงทุนเลยด้วยซ้ำ แต่ผลตอบแทนไม่จำกัด แล้วแต่โอกาสใครจะโกงกิน ได้เก่งกว่ากัน แนบเนียนกว่ากัน กินคำใหญ่กว่ากัน

ที่จริง มีรัฐมนตรีมากว่าครึ่ง ครม. ที่ ทำงานไม่เป็น และ มีพฤติกรรม ไม่น่าไว้วางใจ เลยเชียวล่ะ แค่นี้ก็ เหนื่อยแล้ว คนไทย

ด้วยข้อจำกัดในตัวบุคคล ระบบ วัฒนธรรมการเมือง ที่เป็นอยู่ ทั้งในพรรคประชาธิปัตย์เอง และพรรคร่วมการเมืองอื่นๆ พรรคฝ่านค้าน ฝ่ายแค้น ฟันธงได้เลยว่า ใครก็ตามที่เข้าสู่การเมือง จนได้บริหารราชการแผ่นดิน แม้น ได้เสียงข้างมาก เหมือนอย่างสมัย คุณทักษิณ ก็ไม่้สามารถสร้างชาติได้ ไม่สามารถ สร้างคุณภาพชีวิต การศึกษาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ให้กับประชาชนได้ เพราะทั้งคน และระบบ เน่ามานานแล้ว

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

The timing could not have been better



การที่ รมต.สำนักนายกฯ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย(ประวัติ) พรรคประชาธิปัตย์ ออกให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อวันนี้ กรณี มติ (วิดีโอข่าวข่อง9) (ข่าวthaigov.go.th)

คณะกรมการตรวจสอบงบไทยเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุข ที่มี นพ. บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ทำนองว่า ยังไม่เสียหาย เงินงบประมาณยังไม่ได้ใช้ "เงินเข้ากระเป๋าใครหรือยัง ประเด็นมันอยู่ตรงนี้"(เสียดายที่นักข่าวท่านที่สัมภาษณ์ ไม่ได้ถามต่อว่า " ถ้าท่านเป็น ท่านนายก อภิสิทธิ์ กรณีนี้ท่านจะตัดสินใจอย่างไร?) นี่คือสันดาน ของนักการเมืองกระโหลกหนา ที่ไม่ยอมรับรู้ว่า งานสาธารณะ คืออะไร คนทำงานด้านนี้ ลักษณะนี้ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ควรมีพฤติกรรมอย่างไร ที่ดี ที่เหมาะที่ควร ที่น่าห่วงอย่างยิ่งก็คือ ทัศนคติทำนองนี้ วิธีคิดแบบนี้ ลูกหลานเราได้เห็นข่าว ฟังข่าวแล้ว จะเป็นอย่างไร?...อนาจใจหลาย หลาย

อยากจะบอก ท่านสาทิตย์ สมมุติว่า มีคนวางแผนจะยิง ท่าน รมต. แล้ว เจ้าหน้าที่ รู้ข่าว แล้ววางแผนจับ คนที่จะยิงท่านได้ครบชุด พร้อมหลักฐาน ถามว่า ต้องปล่อยให้ท่านรมต. โดนยิงตายก่อนใช่หรือไม่? จึงจะลงโทษ คนยิงได้ อย่าทำตัวเหมือน "พวกมากลากไป" ทั้งๆที่ ลากประเทศชาติ และประชาชนลงเหว

นักการเมืองเมื่อทำผิด ก็หาข้ออ้างไปเรื่อยๆ แถไปเรื่อย มีปากก็พูดไป แต่พฤติการณ์ มันฟ้องอยู่ และ คนทั้ง
โลก ไม่ได้โง่นะ(โว้ยยยย) ที่จะมองไม่ออกเทียวหรือ ว่า ท่าที คนโกงกินเป็นอย่างไร

ด้านนักการเมือง ที่มีความผิด พยายามลอยตัวเหนือปัญหา ก็รู้ๆกันอยู่ เป็นอย่างนี้เรื่อยมา

บทบรรณาธิการไทยโพสต์ บอกไว้เหมื่อนกันว่า เป็นโอกาสสุดท้ายท่านนายก อภิสิทธิ์

อยากจะบอกท่านนายก อภิสิทธิ์ว่า....

The timing could not have been better : คงไม่มีช่วงจังหวะไหนเหมาะไปกว่านี้อีกแล้ว
(ที่จะตัดสินใจปราบคนคิดทุจริต) ก่อนที่หอกทุกเล่มจะพุ่งเป้ามาที่อกท่าน นายก อภิสิทธิ์ เสียเอง

ข่าวล่าสุด 11.00 น. ท่านรมต. วิทยา แก้วภราดัย ได้ลาออกแล้ว มีผลพรุ่งนี้ !!

Employability during difficult times

Check out this SlideShare Presentation:

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผลตรวจสอบทุจริตกระทรวงสาธารณสุข:ผิดยัน รมต.วิทยา แก้วภราดัย


คณะกรรมการตรวจสอบ แถลงวานนี้(ข่าว)(ลำดับข่าว)ว่าจะเปิดเผยผลตรวจสอบได้ วันนี้ ผลสอบ (วิดิโอข่าวช่อง9) (ข่าวโพสต์ทูเดย์)ทั้งรมต. วิทยา แก้วภราดัย (ประวัติ) และ นาย มานิต นพอมรบดี (ประวัติ) รมช. สาธารณสุข (ก่อนหน้านี้ กกต. มีมติให้พ้นเก้าอี้-ข่าว) ซึ่งไม่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับงบไทยเข้มแข็งเลย แต่ ไปก็ไปเกี่ยวจนได้ มีความผิด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้ฟังน้ำเสียง คุณหมอแถลง ด้วยความฉะฉาน กระชับ ตรงประเด็น ดีมากๆๆๆ ครับ
ทั้ง รมต รมช. ปรึกษารมต. วิทยา แก้วภราดัย "ปากมัน" เป็นแถว ถึงคราว รับกรรมบบ้างแล้ว ขอขอบคุณคณะกรรมการครับ

งานนี้ ถ้าหาก นายก อภิสิทธิ์ ไม่ลงโทษ คนผิดตามมติ คณะกรรมการฯ หรือลงโทษ แต่น้อยเกินไป ฟันธงไว้เลยว่า อนาคตทางการเมือง ของ นายก อภิสิทธิ์ เตรียมตัวนับถอยหลังได้ นับเร็วๆด้วย และจะแพ้การเลือกตั้งอย่างมากมาย

แต่ถ้า นายก อภิสิทธิ์ กล้าหาญ และกระทำในสิ่้งที่ถูกต้อง สมควร ยึดถือมติคณะกรรมการฯ ลงโทษคนผิด ท่านนายก อภิสิทธิ์ ก็จะได้รับเสียงปรบมือ จากคนทั่วไปแน่นอน หาก มีการเลือกตั้ง ภายในปี 2553 ก็ยังพอมีลุ้น ได้กลับมาเป็นนายกอีกหน

ขอปรบมือให้ นพ. บรรลุ ศิริพานิช ประธานคณะกรมการฯ และ คณะกรรมการท่านอื่นๆ ด้วยความเคารพ และจริงใจครับ เมืองไทยยังพอมีหวังครับ

จะสังเกตุเห็นได้ว่า นักการเมือง ข้าราชการ ทุกคน โกงกิน ได้ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาส จึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่จะต้องใช้ระบบการคัดกรองนักการเมือง เป็น การป้องกันในเชิงรุก(active protection) การลงโทษเป็นการป้องกันในเชิงรับ(passive protection)

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สื่อกระแสหลัก กับ กรณี คุณ นาธาน โอมาน


วันนี้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวตัวโต ว่า "นาธาน เอาอีกแล้ว โกงอายุ..." รายการของคุณสรยุทธิ์ ก็รายงานข่าวไม่มีเว้น แนบแน่นจริงๆ อย่างที่เคยเขียนถึง ถ้าสื่อกระแสหลัก เกาะติดข่าวการโกงกิน ขุดคุ้ย ตีแผ่ ต่อพฤติกรรม ของนักการเมือง ข้าราชการ และกำกับ ตามติดจนกว่า คนโกงกิน จะได้รับโทษ สังคมก็จะตื่นตัวมากว่านี้มาก ทำอย่างกับที่ทำกับคุณนาธาน โอมาน นะ ผมเชื่อว่า นักการเมืองจะ คิดโกงกิน น้อยลง


กรณีคุณนาธาน โอมาน(ประวัติส่วนตัว) สื่อกระแสหลัก เหมือนหมาขี้เรื้อนแก่ๆ ที่แลเห็นเหยื่อ(นาธาน) ที่กำลังอ่อนแอ เพลี้ยงพล้ำ ก็กรูกันไล่ขย้ำ เหยื่อ(นาธาน)ให้ดูเหมือน "ข้ายังไหว" ยังมีพิษสงอยู่ ทุเรศ สิ้นดี ผมไม่ได้ปกป้องคนทำผิด ไม่รู้จักคุณนาธาน แต่กำลังกระตุก "ต่อมกล้า" และจัดพื้นที่ เวลา ของสื่อกระแสหลัก ให้กล้าๆ ทำ กับคนโกงกินให้ถึงพริกถึงขิงหน่อย อย่า"แปะมือ"กันนักเลย สื่อกระแสหลัก มีส่วนอย่างยิ่งต่อการสร้าง ทัศนคติมวลชน ให้ชินชากับการโกงกิน สื่อกระแสหลักไทย กับประทศที่เจริญแล้วต่างกันอย่างมาก ก็ตรงนี้



วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วงจรอุบาทว์ระบบการเมืองไทย


จากภาพที่ 1 เป็นขั้นตอน วิธีการได้เงินมาทำงานการเมืองของนักการเมืองและพรรคการเมือง(money politics) ต่างๆ ของไทย และประเทศอื่นๆ ด้วย(รวมทั้งสหรัฐอเมริกา,อังกฤษ) ซึ่งไม่ตอบโจทย์ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนอย่างแท้จริง เงินทุนทางการเมือง นี้ ก็จะหวนกลับไปตอบแทน"นายทุนทางการเมือง" ที่เป็นคนให้เงินมา นักการเมืองจึงไม่แคร์ ไม่สนใจ "เสียงสวรรค์" สนใจแต่เพียง จะได้เงินเท่าไหร่ และมีวาระต้องตอบแทนอย่างไร


ในภาพที่ 2 เป็นกลุ่มประเทศ 5 กลุ่ม ที่ถูกจัดว่าเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของนักการเมืองและพรรคการเมืองสูงที่สุด ลดหลั่นกันลงไปจนกลุ่มสุดท้ายที่ไม่มีกฎหมายให้ต้องเปิดเผย โดยมี ประเทศไทยอยู่ในกลุ่ประเทศที่เปิดเผยสูงที่สุด ร่วมกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บราซิล ฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศเปิดเผยปานกลาง มีประเทศสิงคโปร์ ที่น่าสนใจในกลุ่มประเทศที่ไม่เปิดเผยเลย มี สวีเดน และ สวิสเซอร์แลนด์ ร่วมอยู่ด้วย จากรายงานชิ้นนี้วิเคราะห์ได้อย่างหนึ่งที่มีนัยะสำคัญ นั่นคือ การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของนักการเมืองและพรรคการเมืองไม่ได้ช่วยให้นักการเมือง เกรงกลัว กฎหมาย อะไรเลย เพราะ นักการเมืองอย่างประเทศไทย ฟิลิปปินส์ สามารถหลบ เลี่ยงกฎหมายได้ หรือซุกซ่อน ปกปิดได้


ระบบการเมืองของโลก ควรมีระบบการคัดกรองนักการเมือง และผู้ทำงานสาธารณะ ที่มีผลกระทบต้่อสังคมหมู่มาก ประเทศไทย และโลกจะเย็นลงอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน




















วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เว็บไซต์ไหนค่าโฆษณาแพงที่สุดในโลก..??

เมื่อสิ้นปี 2008 มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกประมาณ 1007 ล้านคน (นับคนอายุ 15+) แยกตามทวีป
แต่ถ้านับหมดทุกอายุ ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ตาม IWS อยู่ที่ 1,734 ล้านคน

ประเทศจีนแซงหน้าสหรัฐอเมริกาได้เรียบร้อยแล้ว

เว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก 15 เว็บไซต์
จำนวนผู้เข้าชมของเดือน ธันวาคม 2008


จากการรายงานโดย Adage.com (ไล่ดูที่ไสลด์โชว์) หน้า โฮมเพ็จ(หน้าแีรก) ของ Yahoo ณ วันนี้ ได้รับค่าโฆษณา $600,000 ต่อวัน (20,400,000 บาทต่อวัีน) นี่ขนาดสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนะ ซึ่งอัตราค่าโฆษณาโดยรวมลดลง เฉลี่ย ค่าโฆษณาํํYahoo แบบ cpm ละ $60 (2,040 บาท ต่อพันหน ของผู้เห็นโฆษณา)

ที่หน้า โฮมเพ็จของ Yahoo มีผู้เยี่ยมชมประมาณ 10,000 ล้านหนต่อวัน(10 billion ad impressions a day) มีผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ Yahoo แบบไม่ซ้ำไอพี ประมาณ 562.571 ล้านคนต่อเดือนทั่วโลก ใหญ่เป็นอันดับ 3
รองจาก Google และ Microsoft

ทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ : 1 ใน การกินสินบน


การให้สัมปทานประกอบกิจการแก่เอกชนทุกโครงการ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องที่เขียนสัญญาให้ประเทศชาติ และ ประชาชนผู้รับบริการ เสียเปรียบมากๆ เปิดช่องให้ผู้ได้สัมปทาน คิดค่าบริการเกินสมควร
บริการหลังการขาย ไม่ได้มาตรฐานสากล ฯลฯ เช่น สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกค่าย เค
เบิ้ลทีวีค่ายทรูที่ได้รับอนุญาตจาก อสมท. ให้มีโฆษณาได้ สัมปทานทีวีช่อวง 3, ช่อง 7 และคอยจับตา ใบอนุญาต 3G ที่จะมีการประมูล เร็วๆ นี้ ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน เสียหายมากมาย เป็นต้น พูดให้ชัดก็คือทุกสัมปทานที่รัฐให้สัมปทานเอกชนไปทำธุรกิจ ล้วนแล้วแต่ ผ่านการ "กินสินบน"(bribery) แล้วทั้งสิ้น ประเทศชาติได้รับค่าสัมปทาน ต่ำกว่าความเป็นจริงมากๆๆๆๆๆๆ เงินส่วนหนึ่งเอกชนที่ได้รับสัมปทานไปจ่ายเป็น "ค่าวิ่งเต้น" จ่ายให้นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ก่อนเอกชนเปิดให้ใช้บริการ

ถ้ามี ระบบการคัดกรองนักการเมือง สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆหมดไปจากระบบ ระบบการคัดกรองนักการเมือง เป็นการปรับ ระดับการคัดกรอง ซึ่ง ทุกวันนี้ วิธีการคัดเลือกผู้สมัคร ทำงานการเมือง ทุกระดับ ก็ถือเป็นการคัดกรองอย่างหนึ่ง แต่เหมือนเครื่องกรองน้ำราคาถูกๆ แต่ระบบการคัดการองนักการเมืองที่นำเสนอ นี้ เป็นเสมือนเลือกซึ้อเครื่องกรองน้ำ ที่ดี มีคุณภาพ เมื่อวันนี้เรารู้แล้วว่า น้ำที่เราจะกรองนั้น ไม่ค่อยมีคุณภาพ มีสิ่งแขวงลอย สิ่งที่เป็นอันตรายอยู่มาก

กลับมาเรื่อง ดอนเมืองโทลล์เวย์(ข่าว) การเรือกร้องให้เอกชนลดค่าบริการ ก็ดี ชลอการขึ้นค่าบริการ ก็ดี เป็นเรื่องปลายเหตุมากๆ สมัยหนึ่งรัฐบาลเคยทำได้นั้น ก็ ต้องชดเชยผลประโยชน์รัฐ ก็ผลประโยชน์ประชาชนอีกนั่นแหละ แลก เปลี่ยนกับเอกชน เช่นขยายระยะเวลาสัมปทานให้ เอกชน ไม่มีทางลดค่าบริการให้ฟรีๆ หรือ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันแล้วผู้ได้สัมปทานได้ประโยชน์น้อยลงแน่นอน อย่าได้หวัง เพราะมันขัดกับ "หลักการผลประโยชน์ที่ดีที่สุด" (The best interest principle)

การที่รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นายโสภณ ซารัมย์ บอกประชาชน ให้ไปใช้เส้นทางอื่นนั้น เป็น "ความคิดสวะๆ" (ข่าว) เพราะ เป็นความจำเป็น เป็นบริการสาธารณะ ที่ผู้คนหมู่มาก ต้องใช้ เรื่องนี้ผู้รับสัมปทานรู้ดี ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเคเบิ้ลทีวี ฯลฯ

ข่าววันนี้ รายงานว่า ผู้คนใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์น้อยลง แต่รายได้กลับเพิ่มขึ้น วันละ 3-4 แสน บาท !!

ด้วยแนวคิด ที่ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ถูกผู้ประกอบการอื่นใด เอารัดเอาเปรียบ นับจากนี้ไป ไม่น่าจะเนิ่นนานนักที่เมืองไทยจะได้คลอดกฎหมายแบบรวมกลุ่ม(class action lawsuit) ซึ่งประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา มีมานานมากแล้ว

ค่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างๆน่าจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ถูกฟ้องแบบรวมกลุ่ม เพราะ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลชัดเจน โดยเอา เบอร์โทร ที่อยู่ของผู้ใช้บริการ ไปขายให้บุคคลที่สาม เราจะสังเกตได้ว่า จู่ๆก็มีคนขายคอนโด บ้าง ให้ซื้อโน่นนี่ บ้าง ให้โทรไปเบอร์ที่กำหนดบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Collaboratory: เครือข่ายความร่วมมือห้องวิจัยระดับโลกของ ไอบีเอ็ม


John E. Kelly หัวหน้านักวิจัยของ บริษัท ibm ที่คิดใหญ่ ทำใหญ่ จริงจังกับงานวิจัยตลอด 27 ปี กับ ไอบีเอ็ม เขากำลังทำงานกับคนทั้งโลกที่เกี่ยวกับงานวิจัย Kelly เรียกมันว่า Collaboratory และเมื่อเร็วๆนี้ ibm มีสัญญาร่วมวิจัยกับรัฐบาล Saudi Arabia เน้นวิจัยเรื่อง nanotechnology และประเทศอื่นๆอีกเช่น จีน สวิตเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ไต้หวัน และอินเดีย และกำลังเจรจากับอีกหลาย 10 ประเทศทั่วโลก


เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2009 ระหว่างการพบกันของ Luiz Inacio Lula Da Silva ประธานาธิบดี ของ บราซิล กับ Samuel J. Palmisano ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ibm กำหนดการพบกัน 30 นาที แต่ ท่านประธานาธิบดีขยายเวลาเป็นเกือบ 60 นาที บราซิล กำลังจะลงทุนเรื่องการวิจัยต่างๆ ขนานใหญ่ 2.2 หมื่นล้านเหรียญยูเอสพอดี โดยจะเริ่มปี 2010 จึงสนใจอย่างยิ่งที่จะเริ่มโครงการกับ ibm ด้วย (จาก businessweek thailand ประจำเดือน ตุลาคม 2552 หน้า 65)

เมื่อก่อน งานวิจัยจะเริ่มจากภายในองค์กร มีงบประมาณ มีคน มีสถานที่ ทำกันเอง ใช้องค์ความรู้เท่าที่มี หาได้จากภายในบริษัท เรียกว่า Inhouse research ผลงานวิจัยที่ได้ ราว 90% เก็บไว้บนหิ้ง ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ขายก็ไม่ขาย ร่วมลงทุนกับใครก็ไม่ค่อยกล้า เพราะ ความคิดยังไม่เปิด หวงแหนงานวิจัย กอดเก็บไว้เอง

ต่อมา แนวคิดผู้บริหารเริ่มเปิด เพราะองค์ความรู้ต่าง ทุกๆ เรื่องมีอยู่ทั่วโลกเต็มไปหมด และสามารถ เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ ร่วมมือกันได้ ผลประโยชน์แบ่งปันกัน แล้วแต่ตกลงกันก่อนเริ่มงาน ผลลัพธ์ ต้นทุนต่ำลง ใช้เวลาน้อยลง และผลที่ได้กลับยิ่งใหญ่

กรณีศึกษาของบริษัท P&G (Procter&Gamble) บริษัทที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก มีนักวิจัย 8,600 คนทั่วโลก งานวิจัยสมัยก่อนทีี่ได้ก็ได้จากบุคลากรภายใน เมื่อวันหนึ่งวิธีคิดของผู้บริหารตีบตัน และท้าทายให้นักวิจัยทั่วไป ตอบโจทย์ปัญหาที่ติดค้างอยู่ ผลปรากฎว่า มีนักวิจัยจากทั่วโลก หลายแสนคน เข้ามาแก้ปัญหาให้ นักการตลาดเรียกความร่วมมือ นี้ว่า เครือข่ายความร่วมมือแบบเปิด (OCN--Open Collaborative Networks) องค์ความรู้จากภายนอก ที่กระจัดกระจายกันอยู่ เหมือนจิ๊กซอว์ ที่ยังไม่ได้ประกอบ งานวิจัยต่างๆที่ว่า ยากๆ ก็สามารถทำได้ลุล่วงในเวลาไม่นานเท่าเมื่อก่อน เงินทุนก็ใช้น้อยกว่า

สิ่งที่ ibm กำลังมุ่งมั่นทำนี้เป็นการตอกฝาโลง วิธีคิด วิธีวิจัยแบบเดิมๆ เพราะต่อไป บริษัทไม่จำเป็นต้องจ้างนักวิจัยจำนวนมาก มีเท่าที่จำเป็นไว้คอยประสาน จัดการโครงการให้เดินหน้าได้ตามแผนงาน ลดค่าใช้จ่ายมากมาย ความเสี่ยงจากการวิจัยล้มเหลว ที่สมัยเดิมๆ มีอยู่ราว 90 % ก็ลดน้อยลง ความสำเร็จ มีเพิ่มมากขึ้นมาก

นอกจากนี้มี บริษัทยา Eli lilly ที่ใช้ กลยุทธิ์ OCN ด้านการวิจัยทำนองนี้

โลกไปไกลมาก สามารถสร้างความร่วมมือต่างวัฒนธรรม ได้อย่างยิ่งใหญ่ แต่ประเทศไทย มีนักการเมือง เหมือน ไก่ที่ถูกจับมัดไว้ในเข่ง แล้วจิก ตีกันเอง ท่านหมอประเวศ วสี เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด: Externality And 3BL..(จบ)


การบริหารจัดการสมัยใหม่ที่มุ่งสร้างจิตสำนึกพนักงานทุกระดับ ขององค์กรจนนำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ดี มีคุณธรรม รักษ์โลก เข้าใจระบบนิเวศน์ คิด วางแผน รับผิดชอบทั้งสามส่วนไปพร้อมๆกัน ได้แก่ โลก (planet) ที่เราอาศัยอยู่ มนุษย์ (people) และ ตัวกำไรของบริษัท (profit) องค์กรที่มีคุณธรรมนี้ จะให้ความสำคัญแก่คน มากที่สุด โดยมุ่งเลือกคนที่ทั้งดี และเก่งมาช่วยกันทำงาน ดังนั้น ภายในองค์กร จะให้ความสำคัญ ด้าน "ทุนมนุษย์" (Human capital) มากกว่าองค์กรแบบเดิมๆมาก นั่นคือ ..องค์ที่ดี มีคุณธรรม จึงต้องมีจิตสำนึก สามบรรทัดสุดท้ายของ 3 P ไปพร้อมๆกัน เกื้อกูลกัน

กลุ่มปัจจัยทำให้โลกร้อนขึ้น

3ฺBL จึงสอดคล้องกับแนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงเรา ที่ทรงดำรัสไว้ก่อนนานแล้ว ที่เราจะทำอะไรต้องเกื้อกูลกัน เหมือนเป็นระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ จะเกิดความยั่งยืนเพราะ
1. รู้จักตัวเอง
2. มีความพอดี
3. มีเหตุมีผล
4. มีภูมิคุ้มกัน

ทศวรรษที่แล้ว เป็นเรื่องยาก และสังคมไม่ค่อยให้ความสำคัญ บริษัทต่างๆ ก็เพิกเฉยที่จะสร้างตัวชี้วัด วิเคราะห์ ว่า เมื่อองค์กรหนึ่งทำดีด้วยจิตวิญญาณ ลดภาวะโลกร้อน ไม่ซ้ำเติมสภาวะโลกร้อนให้รุนแรงยิ่งขึ้น นั้น มีแนวทาง สูตรคณิตศาสตร์ คำนวณเป็นตัวเลข เป็นภาพ เป็นแผนภูมิ ให้เห็น เข้าใจได้ เชื่อถือได้อย่างไร

ทุกวันนี้ทำได้หมด มนุษย์บนโลกใบนี้ตระหนก ตระหนักถึง "ภัยคุกคาม"อันใกล้มากๆ ที่มนุษย์อีกนั่นแหละสร้างขึ้น ก่อให้เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตนับร้อยๆปีต่อเนี่อง จวบจนปัจจุบัน "carbon footprint"(ความหมาย) เป็นตัวอย่างหนึ่งในการ ตรวจสอบ ตรวจวัด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก(greenhouse gas) ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น ในทุกขั้นตอนการผลิต ประเมินย้อนกลับไปยังวัตถุดิบแต่ละอย่าง แต่ละชิ้น แต่ละขั้นตอน ว่าทำมาจากอะไร มีที่มา ที่ไป เป็นอย่างไร แต่ละขั้นตอนนั้น จะมีเกณฑ์มาตรฐาน(ISO 14040) กำหนดค่าไว้ หากวัสดุชิ้นนั้น หรือขั้นตอนนั้นๆ มีค่า มากกว่าค่ามาตรฐาน แสดงว่า เพิ่มสภาะโลกร้อน ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต หรือ ถึงขั้นรูปแบบธุรกิจกันเลยที่เ้ดียว ถ้าต้องการอยู่ในตลาดอย่างยั่งยืนต่อไป...นักการเมืองไทยทำอะไรอยู่??

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด: Externality And 3BL..(3)


เมื่อถามนักปราชญ์ แห่งศตวรรษ 3 ท่าน ถึึงองค์กรที่มีคุณธรรม ( CSR-corporate social respensibility)
Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัล Noble Prize ปี 1976 ผู้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อแนวคิดเรื่องทุนนิยมเสรี ให้ทรรศนะ ทำนอง ว่า ไม่ใช้หน้าที่ของบรรษัท ที่จะเอาเงินของผู้ถือหุ้นไปใช้ในกิจการอย่างอื่น เช่นดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างโรงเรียนหรืออื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับบรรษัท ผู้บริหาร ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งใด ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็เป็นลูกจ้างผู้ถือหุ้น หากต้องการช่วยเหลือสังคม ก็ต้องใช้เงินตัวเอง
ส่วน Peter Drucker กูรูด้านการตลาดของโลก ให้ความ

เห็นว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรษัทเป็นการบิดเบือนหลักการธุรกิจที่อันตราย "หากคุณมีผู้บริหารสักคนที่ต้องการแบกรับผิดชอบต่อสังคม" ท่าน Drucker บอกว่า "ไล่เขาออกซะ...เร็วๆด้วย" และ เช่นเดียวกับ Debora L. Spar ศาสตราจารย์ของ Harvard Business School ยืนยันว่า บรรษัท "ไม่ใช่สถาบันที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์กรด้านจริยธรรม...มันเป็นสถาบันที่มีภารกิจเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น" ต้องยึดหลักการที่บอกว่า หลักการผลประโยชน์ที่ดีที่สุด (The best interest principle) นั่นคือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
นี่คือสาเหตุสำคัญข้อหนึ่งของวิกฤติโลกร้อน (Climate Change) เมื่อกฎหมายนับร้อยๆฉบับ ในแทบทุกประเทศทั่วโลกที่ใช้ระบบทุนนิยมเสรี ยึดหลักการผลประโยชน์ที่ดีที่สุด ทุกคนจึงกอบโกย เข้าใส่ตัวเอง และก็ทิ้งภาระ(Externality) ให้สังคม สิ่งแวดล้อม

ด้วยเพราะ บรรษัทมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีศักดิ์และสิทธิ์ เป็นบุคคล โครงสร้างขององค์กรมีคณะกรรมการ มีกลุ่มผู้บริหาร และ แยกออกจากกลุ่มผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของ Adam Smith รู้ถึงจุดอ่อนของบรรษัท จึงได้เขียนเตือนไว้ใน The Wealth of Nations ว่า เราจะไว้วางใจผู้ดูแล หรือ ผู้บริหาร บรรรษัท ให้จัดการทุกๆเรื่องแทนผู้ถือหุ้น ได้อย่างไร เพราะความสะเพร่า สุรุ่ยสุร่าย ละโมบโลภมาก ของคน ย่อมนำมาซึ่งความเสียหายแน่นอน และก็เป็นดัง Adam Smith คาดไว้ไม่ผิด ตัวอย่างที่เห็นกันอยู่จนทุกวันนี้ที่บรรษัท ฉ้อโกง ฉ้อฉล ล้มบนฝูก

อย่างไรก็ตาม ในทรรศนะของ Milton Friedman บรรษัทก็พอจะทำเพื่อสังคมได้ ถ้าอธิบายได้ว่าเกี่ยวโยงกับบรรษัท ทำให้ผลประกอบการของบรรษัทดีขึ้นในระยะยาว

แล้วเราจะสร้างบรรษัททีี่มีคุณธรรมด้วย สร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นด้วย ได้หรือไม่ ?? ตอบว่าได้แน่นอน และน่าจะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนได้ดีเสียด้วย

Beyond profit >> 3BL--Triple Bottom Line -- Planet, People and Profit

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด: Externality And 3BL..(2)


Externality ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ผลกระทบจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้นทุน หรือผลประโยชน์ ทางสังคมที่ผู้ประกอบการไม่ได้นำมาใส่ไว้โดยผลักภาระเหล่านั้นใปสู่สังคม สิ่งแวดล้อม แทนที่ผู้ประกอบการจะดูแล เอาใจใส่เองตั้งแต่ต้น อาทิเช่น โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปล่อยของเสียในทุกรูปแบบสู่สิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชนใกล้เคียงจนได้รับผลกระทบ บ้านเรือนแถวนั้น ต้องทำความสะอาด ข้าวของเครื่องใช้บ่อยๆ และถึงขั้นร้ายแรง จนกระทบกับวิถีชีวิต สุขอนามัย อย่างที่เป็นความกันอยู่

Negative externality เป็นผลกระทบในเชิงลบ ดังกล่าวข้างต้น

Positive externality เป็นผลกระทบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเชิงบวก ได้แก่ การอุดหนุน(subsidy) ต่างๆ อาทิเช่น ใน ยุโรป ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีชาวนาอยู่ประมาณ 25,000 ครอบครัว(ชาวนาไทยมี 3.7 ล้านครอบครัว) แต่รัฐบาล ใช้เงินภาษีประชาชน นับแสนล้านดอลลาร์ต่อปี อุดหนุนราคาข้าว ให้มีราคาสูงๆเข้าไว้ พืชผลทางการเกษตรอื่นๆก็ทำเช่นเดียวกัน ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน มีตั้งแต่ประกันราคา รับจำนำ ให้เงินกู้แก่โรงสีข้าวโดยคิดดอกเบี้ยถูกกว่าท้องตลาดโดยหวังว่า โรงสีจะช่วยเหลือชาวนาอีกทอดหนึ่ง(แต่คิดผิด และ ไม่ยอมคิดใหม่) สิ่งเหล่านี้ รัฐก็ต้องนำภาษีประชาชนไปใช้ ไปช่วย นักการเมืองไทย ข้าราชการ พ่อค้า จำนวนมาก "ปากมัน" ไปกับนโยบายการอุดหนุนของรัฐ โดยที่ผลประโยชน์จริงๆ ตกถึงมือเกษตรกรน้อยมาก

ในการประชุม WTO รอบโดฮาครั้งแรก เมื่อปี 2001 (2544) ก็ต้องการแก้ปัญหานี้ โดยแลกกันกับประเทศกำลังพัฒนาให้ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการลง ให้ประเทศผู้เจริญทั้งหลาย(ยุโรป, สหรัฐ, ญี่ปุ่น นำ)ลดการอุดหนุนภาคเกษตรลง เรื่อยๆ แต่ก็ไร้ผล ประเทศที่เจริญแล้ว ไม่มีความจริงใจจะแก้ไข นี่คือการค้าเสรี ที่ไม่มีความเป็นธรรม ในระบบทุนนิยมเสรี

ต้นสัปดาห์หน้านี้ จะเริ่มมีการประชุม WTO อีกหน ในรอบ 4 ปี(ข่าว) ก็คงจะทำนายผลการประชุมได้เลยว่า "ไม่เป็นมักเป็นผล" เหตุที่เป็นอย่างนี้ สาเหตุหลัก ก็คือ ประเทศที่เจริญแล้วได้ประโยชน์อย่างมาก จากการประชุมแบบทวิภาคี โดยเปิดเสรีระหว่างประเทศคู่เจรจา เป็นรายประเทศ เจรจากับประเทศใดได้ก่อนก็ ทำข้อตกลงกัน เช่น การค้าเสรีระหว่างไทยกับสหรัฐ(ข่าว) ไทยกับจีน ไทยกับนิวซีแลนด์ ไทยกับออสเตรเลีย เป็นต้น

การทำ FTA แบบทวิภาคีนี้ น่าห่วงมาก เพราะ เหมือนยื่นหมูยื่นแมว ง่ายต่อผู้เจรจาที่จะหยิบยื่นผลประโยชน์ชาติให้ประเทศคู่เจรจา สิ่งไหนตัวเอง หรือพวกพ้องได้ประโยชน์ก็จะแลกกัน

การผลักภาระ (externality) ให้กับสังคม สิ่งแวดล้อม ของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บอกได้ว่า ผู้ประกอบการไม่ได้สนใจ"แก่นแท้"ของ CSR (corparate social responsibility) หรือองค์กรที่มีคุณธรรม เป็นได้แค่ CSR after process มีปัญหาแล้วค่อยเยียวยา แก้ไข(มีปัญหาแล้วค่อยเอาเงินฟาดหัว) นี่คือ ทุนนิยมกักขฬะ รูปแบบหนึ่ง

ชุมชนมีอยู่ก่อนนิคมอุตสาหกรรม หาก โรงงานเหล่านี้มองไม่เห็นคุณค่าของชุมชน ของสังคม สิ่งแวดล้อม คนในชุมชนก็ย่อมคิดได้แบบเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด: Externality And 3BL..(1)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด(บล๊อกเพื่อนบ้าน) เป็นความล้มเหลวเชิงนโยบายของรัฐ ที่มุ่งแต่ส่งเสริมแต่ไม่บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด หรือ เลือกลักษณะประเภทอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษน้อยที่สุด พูดให้ชัดก็คือ เลือกส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สร้างคุณค่า(value creation) ไม่ใช่สร้างมูลค่าเพิ่ม(value added) ไทยใกล้จะเป็นกองขยะของโลกอยู่แล้ว เพราะ อุตสาหกรรมอันตราย ก่อมลพิษสูงๆ ก็จะมาปักหลักอยู่ในประเทศไทย แล้วก็ทิ้งภาระ(Externality)ไว้กับ ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม เหมือนที่เป็นอยู่


การสร้างคุณค่า (value creation) จะหมายรวมถึง ทุกๆขั้นตอนในการผลิตสินค้าหรือบริการใดๆ(value chain) จะมีการดูแล ใส่ใจ ห่วงใย ทั้งตัวสินค้า หรือบริการที่ผลิตเพื่อเพิ่มคุณค่า(เช่นใส่ design, platform, innovation เป็นต้น) และผลกระทบออกไปภายนอก เพราะ ในที่สุดหากไม่ดูแลสิ่งแวดล้อม มันก็จะเป็นมุมเมอร์แรง เหวี่ยงกลับมาหา ไ่ม่ช้าก็เร็ว เช่นโรงงาน 76 โครงการที่ถูกศาลปกครองสูงสุดสั่งให้หยุดก่อสร้างชั่วคราว ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และควรตรวจสอบ นิคมอุตสาหกรรมที่อื่นๆ โรงงานทั่วประเทศ ด้วยจะเป็นการดี

การสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) คิดแค่เพียง ทำอย่างไรถึงจะขายได้มูลค่าเพิ่มขึ้น เช่นโรงงานไปซื้อวัตถุดิบมาผลิตแล้วขาย โรงงานผลิตเสื้อผ้าโหล, โรงงานรับจ้างผลิตตามคำสั่งซื้่อ(OEM--Original Equipment Manufacturing) เจ้าของโรงงานก็จะกินค่าแรงเป็นหลัก นั่นหมายถึง กดค่าแรงผู้ร่วมงาน สวัสดิการมีให้น้อยที่สุด ใช้งานแยะๆ ให้เงินน้อยๆ รูปแบบธุรกิจแบบนี้เรียกว่า ทำมากได้น้อย (More for less) รัฐไม่ควรส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบนี้ แต่ควรให้องค์ความรู้ ต่างๆ ตลอดจนแหล่งเงินทุนราคาถูก เพื่อนำไปสร้างตราสินค้าเป็นของตัวเอง และ ยกระดับผลิตภาพให้สูง เด่นขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็ยังคงสามารถ รับจ้างผลิตได้เหมือนเดิม แต่คุณภาพดีกว่าเดิม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม ราคาค่าจ้างก็จะเพิ่มขึ้น ก็จะสามารถจ่ายค่าจ้างแรงงาน ให้เพื่อนร่วมงานได้มากขึ้น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ HTC ของใต้หวัน รับจ้างผลิตให้กับ Google, บริษัท Samsung รับจ้างผลิต video processor IC ให้กับ iphone (มีถึง 30 บริษัท จาก 3 ทวีป ที่ บริษัท Apple จ้างผลิต iphone หนึ่งเครื่อง) เป็นต้น ส่วนเจ้าของโรงงานไหนไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือ เปลี่ยนแปลงช้าเกินไป ก็จะค่อยๆหด หายไปจากระบบ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นครปัตตานี : ชาวบ้านขอ 10 บิ๊กจิ๋วให้ 1000


ปัญหา 3 จังหวัด ภาคใต้ เกิดจาก คนในพื้นที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม จาก เจ้าหน้าที่รัฐ มาเนินนาน จึงไม่ไว้วางใจในเจ้าหน้าที่รัฐ หวาดกลัวบ้าง หวาดระแวงบ้าง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่อยู่ ณ. ขณะนี้ จึงเป็นผลพวงดังกล่าว

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้ใจดี

การวิสามัญ 6 ศพ (ข่าว) ที่ยะลา อันนี้เป็นตัวอย่างล่าสุด กรณีตากใบก็ทำนองเดียวกัน เจ้าหน้าที่ กระทำรุนแรง ไร้เหตุผล ต่อ คนในพื้นที่ หรือ ผู้ก่อความรุนแรง ที่อยู่ในบ้าน ออกไปไหนไม่ได้ หนีไม่ได้แล้ว หากเจ้าหน้าที่ แค่ล้อมไว้ อดทน อดกลั้น กระทำต่อผู้อื่นด้วยเมตตา(อย่าจับตาย) สุดท้ายผู้ก่อความรุนแรง ก็ ออกมามอบตัวเอง ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลย ที่จะไปฆ่าเขา อ้างว่า ถูกยิงก่อน ก็ไม่สมควรวิสามัญเขา หากยังใช้ให้ "ทหารนักรบ" เป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหา นอกจากจะแก้ไขไม่สำเร็จแล้ว ยังจะบานปลาย สร้างเงื่อนไขให้องค์กรไม่พึงประสงค์ภายนอกประเทศ เข้าร่วมขบวนการกับผู้ก่อความรุนแรงได้

ตามที่ผมเคยพูดถึงบ่อยๆ อันนี้สื่อกระแสหลักก็ไร้สำนึก ที่จะหาความจริง ในมุมมองของสิทธิมนุษยชน ว่าเจ้่าหน้าที่สมควรกระทำ หรือไม่ และควร ลงโทษ ผู้กระทำอย่างไร จะได้หยุดพฤติกรรมเยี่ยงนี้อย่างถาวร ถ้าสื่อยังเป็นแบบนี้ ก็เป็นได้แค่ หมาขี้เรื้อนที่เห่า เบาๆ แล้ววิ่งไปเล่น อย่างอื่น หรือไปแอบซ่อนตัว

เจ้าหน้าที่รู้ดี ยังให้ข่าว ทำนองว่า หลัง การวิสามัญนี้ ต่อไป ผู้ก่อความไม่สงบจะ ทวีใช้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นแน่ ให้ทุกคนเตรียมตัวไว้ อันนี้บ่งบอกอะไร ? บอกว่า ผู้ก่อความรุนแรง ในพื้นที่ เครียดแค้น โกรธแค้น เจ้าหน้าที่แน่ แต่ ทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะทหารนั้น ยากกว่า ทำร้ายชาวบ้าน (เหยื่อ) วิธีการทั้งหมดที่เจ้าหน้าที่รัฐกำลังกระทำอยู่นั้นผิด มันเหมือนกับ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน แรงมา ก็แรงไป ไม่ได้แก้ปัญหาหรอก แบบนี้น่ะ แม้แต่การข่าวยังทำไใม่ได้เลย เพราะ ชาวบ้าน คนในพื้นที่ ไม่ไว้ใจ กลัว ไม่เป็นพวกด้วย แถมยัง เป็นผู้ก่อความรุนแรงเสียเอง ในบางพื้นที่ แค่นี้ก็จบแห่แล้ว ท่านนายก อภิสิทธิ์ รู้รึเปล่า ? เสียดายภาษี จริงๆ

ผมเสนอให้ใช้พลเรือน ที่เข้าใจปัญหาและมีเมตตา ในการแ้ก้ไขปัญหา เช่น คนอย่าง ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านหมอ ประเวศ วสี หรือ คุณหมอ พรทิพย์ เป็นต้น แล้วให้อำนาจ และ เงิน ท่านเหล่านี้ ่จัดตั้งทีม บริหาร นำ ทหาร ตำรวจ อีกทอดหนึ่ง ปรับยุทธศาสตร์ใหม่ ใช้กำลังปราบปรามให้น้อยที่สุด ใช้สานเสวนา พัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา ดึงความเป็นธรรมในสังคมที่หายไปนาน คืนให้เขา ปรับเปลี่ยน ท่าที ทัศนคติ ของเจ้าพนักงาน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งหมด ทำจริงจัง ต่อเนื่อง ก็ต้องใช้เวลา 3- 5 ปี รับรองได้ สำเร็จ

กลับมาเรื่อง นครปัตตานี (ข่าว) แนวคิด พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ที่เคยเสนอ ทฤษฎี "ดอกไม้หลากสี" ถอยคนละก้าว (ผมได้เคยเขียนถึงไว้) ยังไม่ถึงเวลา เพราะ ประเทศไทยต้องได้คนดี มาก่อน(ผ่านระบบบการคัดกรองนักการเมือง) เพื่อให้ได้คนดีและเก่ง มาสร้างระบบที่ดี ก่อน เมื่อ พร้อมแล้ว จึงค่อย คิดเรื่องนี้กัน ก็ยังไม่สาย มิฉะนั้น จะเหมือนกับ การกระจายอำนาจ สู่การปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 วรรค 3 ที่คนก็ไม่พร้อม ระบบก็ไม่ดี (ยังไม่มีระบบการคัดกรองนักการเมือง) ก็เท่ากับ กระจาย การโกงกินลงสู่รากหญ้า ลงลึก ยิ่งแก้ไขการโกงกินยากเป็นทวีคูณ

คนในพื้นที่ สาม จังหวัดภาคใต้ เรียกร้อง ต้องการให้เจ้าหน้าที่รัฐ ดูแล ใส่ใจทุกข์ สุข และให้ความเป็นธรรม อย่างจริงใจ และจิงจัง ให้เข้าใจ เข้าถึง และช่วย ส่งเสริมพัฒนาเขา ให้อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี อย่าไปรังแกเขา เพราะเจ้าหน้าที่รัฐ สร้างเงื่อนไข แล้วรังแกเขา เพียงเท่านี้ ก็ เพียงพอแล้่ว ไม่ต้องถึงขนาด ยกให้ไปปกครองกันเอง ถ้าคนยังไม่พร้อม ก็ไร้ประโยชน์ เท่ากับ เฉไฉ กลบเกลื่อนปัญหาเดิม แล้วสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา อย่าจัดการงานนอกสั่ง อีกเลย ครับ

อุปมา คนไทยทุกวันนี้ จำนวนหนึ่ง เหมือนเด็ก 8 ขวบ 9 ขวบ ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังไม่พร้อม อะไรเลย (ไม่มีวิจารณญาณ) และโชคร้าย ทีี่่มีผู้ปกครอง(นักการเมือง) ทั้งขี้เหล้า เมายา เล่นการพนัน โกหกเก่ง เด็ก 8-9 ขวบ ก็ถูกปลุกปั่น ด้วยข้อมูลเท็จบ้าง จริงบ้าง จากคนแปลกหน้า(แกนนำเสื้อสีต่างๆ) อุปโลกน์ ตัวเอง หลอกเด็ก ว่าจะหาทางให้ได้เรียน ดีดี กินดี อยู่เป็นสุข มีเงินใช้แยะๆ ล้วนแล้วแต่เป็นลมลวง

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทำบุญอย่างไรได้บุญสูงสุด..??

การทำบุญให้ได้บุญกุศล มี สาม ระดับด้วยกัน ซึ่งล้วนเป็นเรื่อง ปัจจัตตัง คือใครทำ ใครได้ ผลจะเกิดแก่ผู้นั้น
แล
1. การให้ทาน เช่นการตักบาตรพระ การบริจาควัตถุ สิ่งของ ต่างๆ(อามิสทาน) แก่ผู้อื่น ด้วยต้องการเห็นผู้อื่นพ้นทุกข์(เมตตาธรรม) ให้ความรู้ ชักนำผู้อื่น ไปในทางที่ดี เพื่อขจัดอวิชชา ในชั้นการให้ทานนี้ การให้ ธรรมะเป็นทานดีกว่า การให้ทั้งปวง (สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชิเนติ)

2. การรักษาศีล ยึดมั่นในศีล ในธรรม ศีล หมายถึงการทำให้บริสุทธิ์ ศีลเปรียบเสมือน "รั้วทางใจ" ที่ป้องกันรักษา การเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ยิ่ง รักษาศีลมากข้อ ยิ่งได้กุศล เป็นการทำบุญที่ได้บุญสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

3. การบำเพ็ญเพียร วิปัสสนา เจริญภาวนา ฝึกฝนจิตตนเอง เพื่อยกระดับจิตใจให้สุงขึ้น เรื่อยๆ ตลอดเวลา ให้จิตใจใสสะอาด ผ่องแผ้ว อันนี้เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ของพุทธศานิกชน พึงประพฤติ ปฎิบัติ มุ่งสู่ความสงบจากภายใน จนในที่สุดสำเร็จ หลุดพ้น จากวัฎฎสงสาร ได้ อันเป็นบุญกุศลสูงสุด

เนื่องจาก ช่วงชีวิตคนเรานั้น สั้นมาก เฉลี่ย 70 ปี คนทั่วไป จึงไม่สามารถ บำเพ็ญเพียร ภาวนา ให้หลุดพ้น ได้ในชั่วชีวิตนี้ จึงต้องเวียนว่าย ตาย แล้ว เกิดใหม่ หลายภพ หลายชาติ ดั่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กว่าจะสำเร็จ หลุดพ้นได้ ต้อง ติดอยู่ในวัฎฎสงสารถึง 500 ชาติ

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การพนันบนโลกออนไลน์(Online gambling)

คงมีคนน้อยคนไม่รู้จัก สถานที่เหล่านี้... ลาสเวกัส, แอตแลนติก ซิตี้, บ่อนเกนติ้ง ประเทศมาเลย์, หม่าเ๊ก๊า หรือ บ่อนเขมร และต่อไปในไม่ช้านี้ก็จะเปิดบ่อนระดับโลกที่ประเทศสิงคโปร์ อันเป็นที่สิงสถิตย์ของเหล่านักพนันหรือ ชอบเสี่ยงโชค แต่ในโลกที่กำลังแบนราบลงทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อการพนัน ยกระดับอยู่บนโลกออนไลน์ ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 2 พันล้านเหรียญเฉพาะตลาด สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2001 และเพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัวทุกปี(ช่วงปี 1977-2001) การพนันออนไลน์ สามารถนำบ่อนระดับโลกไปไว้ถึงในห้องนอนของคุณได้เลย แล้วอะไรจะเกิดขึ้น...

มูลค่าตลาดการพนันออนไลน์โลก

จาก ข้อมูลสถิติการพนัน ของ Dr. Jantz นับแต่ ปี 1975 อุตสาหกรรมการพนันเพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่า 10 เท่า ทำกำไรให้เจ้าของบ่อน มากถึง 30 พันล้านเหรียญต่อปี (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) อเมริกันชน อย่างน้อย 15 ล้านคนส่อเค้าว่าจะติดการพนัน ที่น่าตกใจก็คือ เยาวชนอเมริกันเล่นการพนันเพิ่มขึ้น เด็กอายุ 14-18 ปี เล่นการพนัน 42-76% ไม่รูปแบบใดก็แบบหนึ่ง

เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ได้เกิดคดีอาชญากรรมระดับบุคคล อันเนื่องมาจาก การพนันบนออนไลน์ หน่วยงานของรัฐบาลกลาง (The Department of Treasury and Federal Reserve) จึงได้หยิบกฎหมายปี 2006 UIGEA--Unlawful Internet Gambling Enforcement Act) ที่ว่าด้วยขบวนการรับ-จ่ายเงินที่ไม่ถูกกฎหมายบนออนไลน์ ของสถาบันการเงิน มาใช้บังคับด้านการพนันออนไลน์ และจะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 1 มิถุนายน 2553 อีก ราว 6 เดือนข้างหน้า แต่ก็มีบางรัฐที่ยังไม่เห็นด้วย

ต่างจาก รัฐเคนตัํกกี้ ที่ วิ่ง สู้ ฟัด กับ เว็บการพนันบนออนไลน์มาตั้งแต่ปีสองปีที่แล้ว โดย ขอความร่วมมือจาก ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP--Internet Service Providers)บล๊อกเว็บไซต์การพนัน และบุกจับ ปิดเว็บไซต์การพนันออนไลน์ต่างๆ ได้มากกว่า 140 เว็บ

โดยแนวคิดในระบอบประชาธิปไตย ผนวกกับโลกที่กำลังแบนราบลงเรื่อยๆ เป็นเรื่องยากมาก ที่จะห้าม หรือปิดกั้น ไม่ให้ประชาชนทำอะไรในสิ่งที่ "สาวก" ในเรื่องนั้นๆ จะกระทำ ทำได้แค่ ทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่สะดวก ในการเข้าถึง ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ
1. ติดอาวุธที่สมองคนให้"ฉลาดเลือก" และ "กินดี มีสุข" หรือยัง?
2. การบริหารจัดการ จะทำอย่างไร ? จะบริหารจัดการได้อย่างไร ? ให้เป็นไปตามนโยบายสาธารณะที่ออกมา และ ทำให้เกิดผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด เช่น คนที่ไม่พร้อม เด็ก เยาวชน หรือผู้เสียภาษีไม่มากพอ ให้เข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเยียวยา หรือ แก้ไขอย่างไร ? อย่าให้เหมือนกับ ปัญหามาบตะพุต ที่คนคิดและทำ "เอาแต่เงิน" แต่ไม่สนใจ"ชีวิต"(มาเรื่องนี้ได้ไงอ่า..?)

สรุปได้ว่า รัฐ ต้อง "ตีกรอบ" หรือ "ขีดวง" ในเรื่องนั้นๆ ถ้าเป็นสิ่งที่ล่อแหลมต่อศีลธรรมอันดี หรือ กระทบต่อสังคมในวงกว้าง ก็จำกัดวงให้แคบ จำกัดพื้นที่ให้ "ผู้เล่น" อยู่ในที่ที่กำหนด เมื่อ"ผู้เล่น" อยากจะเล่นก็ต้องรับกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด กฎหมายที่รุนแรง ควบคุม ดูแลกันเองในระหว่าง"ผู้เล่น"ด้วยกัน(self regulation) หากใครฝ่าฝืน ออกมาเล่นนอกพื้นที่ที่กำหนด ก็จะถูกลงโทษโดยเสมอเหมือนกันหมด และที่สำคัญ เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ต้องบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด และเสมอภาค (ฝันว่าจะได้เห็น)

"ใครใคร่ค้า ค้า ค้าช้าง ค้า ค้าม้า ค้า" บ่งบอกถึงเสรีภาพในการค้าขายของไทยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง

ดังนั้นสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐ ทำมาแล้ว กำลังกระทำอยู่ และคิดจะกระทำในอนาคต จึัึงไม่สอดคล้องกับ ธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีเสรีภาพในการเลือก แต่ต้องรับผลแห่งการกระทำของตัวเองในทุกกรณี