Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ล๊อตเตอรี แพงๆมั๊ยคร๊าบบบ...จบ


3. จะบริหารจัดการอย่างไรไม่ให้มีสลากเกินราคา??

อันที่จริง ไม่น่าจะยากนะ ถ้า่จริงใจและตั้งใจแก้ไขปัญหา ไม่แกล้งโง่ หรือ เงิน ผลประโยชน์ปิดปาก กองสลาก เป็นองค์กรที่มีไขมันส่วนเกินแยะมาก ถึงมากที่สุด กล้ามเนิ้อแทบไม่มีเลย ทำธุรกิจผูก
ขาด ใครทำแข่งก็ไม่ได้ แต่ดันยอมเสียค่าตัวแทนจำหน่าย ปีๆหนึ่ง จ่ายให้ตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่ง สองพันกว่าล้านบาท ตัวกองสลากเองแทบไม่ต้องทำอะไรเลย ก็ยังมีค่าบริหารสูงปีละ นับพันล้านบาท


Dynamic pricing: real-time pricing model รูปแบบการบริหารราคาที่สามารถขึ้นลงได้ตามความต้องการของตลาด แบบทันที

รูปแบบนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบโรงแรมเครือข่ายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น เครือโรงแรม แมรีออท หรือ การจองตั๋วเครื่องบิน หรือแม้แต่ การกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ผู้กู้ เสียดอกเบี้ย MLR + 1 บ้าง +2 บ้าง หรืออาจจะ -1 หรือ -2 เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เครดิตของผู้กู้ การกำหนดราคาแบบนี้เรียกว่า
การกำหนดราคาอิงข่วงเวลา (Time -based pricing)

ซึ่งเหมาะสมมากๆ ในแง่กองสลากจะนำไปใช้ เพราะ ไม่มีคู่แข่ง จึงสามารถ เก็บข้อมูล ทั้งประวัติผู้ซื้อสลาก โดยเฉพาะพฤติกรรมการซื้อสลาก โดยไม่ต้องกังวลราคาจากคู่แข่งขันอื่นๆ

ผลดี
1. ตัดคนกลางออกไป ไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนจำหน่าย ทำให้กองสลากประหยัดเงินทันทีปีละ 2พันล้านเป็นอย่างน้อย
2. ประหยัดจากการพิมพ์สลาก กำจัดสลาก อื่นๆ
3. เมื่อผู้ซื้อสลากได้โดยตรงผ่านเครื่องที่ว่า ราคาสลากจะไม่นิ่ง จะขึ้นลงตามความต้องการของตลาด ตาม"เลขเด็ด" ที่แต่ละคน แต่ละสถานที่จะคาดการณ์กันไป
4. เมื่อผู้ซื้อสลากที่เคยซื้อสลากใบละ แพง ๆ ถึง 120 บาท เมื่อได้ซิ้อในราคาที่ถูกลง เกิดความพึงพอใจ ภาษานักการตลาดเรียกว่า Consumer surplus ที่คิดว่าตัวเองได้กำไร จากที่เคยซื้อแพง แล้่วซื้อได้ถูกลง
5. เป็นการสร้างกำไรสูงสุด (maximize profit) โดยราคาจะถูกกำหนดโดยความต้องการของตลาด
6. มีความเป็นธรรม กับผู้ซื้อสลากทุกคน เลขสลากเด็ดๆ ก็อาจต้องจ่ายแพงหน่อย ส่วนสลากที่ไม่เป็นที่นิยมก็ ถูกลงแน่นอน แต่ก็มีโอกาสถูกรางวัลได้เท่าเทียมกัน
7. บรรลุเป้าหมายคือ สลากเกินราคา เพราะไม่มีราคาแน่นอนตายตัว 80 บาทเหมือนแต่ก่อน

ส่วนเงินรางวัลนั้น ก็สามารถออกแบบอย่างไรก็ได้ ให้สัมพันธ์ กับจำนวนผู้ซื้อลขสลากนั้นๆก็ได้ เช่น เมื่อมีผู้นิยม เลข ที่เหมือนๆกัน จำนวนมาก ก็กำหนดให้ถัวเฉลี่ยเงินรางวัลกันไป เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น