Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

Thailand Broadband Road Map ??..........1

ประเทศไทยยังไม่เคยมีนโยบาย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงระดับชาติ ซึ่ง ประเทศไหนๆ ที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์ จะบรรจุเป็นวาระแห่งชาติหมด และเร่งด่วนอย่างยิ่ง ในสหรัฐอเมริกา มีแผน 10 ปี ( จนถึงปี 2020) ต้องให้บริการได้ 100 Mbps (ปัจจุบัน 5.1 Mbps ที่ผู้ให้บริการโฆษณาไว้ แต่ใช้จริงต่ำกว่านี้มาก) 100 ล้านครอบครัวเข้าถึงได้เป็นอย่างน้อย ใช้เงิน 7 พันล้านดอลลาร์(ใช้ 4 พันล้านภายในสองปีแรก) เมื่อเร็วๆนี้ Google ประกาศเปิดรับให้เมืองต่างๆ ทั่วอเมกาเสนอเป็นเมืองต้นแบบในการทดลองใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงชนิดสายเคเบิ้ลต่อถึงบ้าน (Fiber-Optic-FiOS Internet Broadband Network) ความเร็ว 1 Gbps (1024 Mbps) ครอบคลุม ประชากร 50,000-500,000 คน มีเมืองต่างๆเสนอตัวมากมาย ก่อนหน้านี้ Google ได้ให้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ ฟรีในเขตเมืองเมาเทน วิว (Mountain View City) อยู่ขณะนี้





วีดิโอประชาสัมพันธ์เชิญชวนของ Google ให้เมืองต่างๆทั่วสหรัฐอเมริกา เสนอตัวเป็นเมืองต้นแบบในการทดลองใช้บริการ อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ 1 Gbps และจัด งบลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อวางระบบ fiber to the home ทั่วประเทศ ในระยะ 30 ปี ต่อจากนี้ไป เราจะได้คุยเรื่องแนวคิดของ Google ในเรื่องนี้ต่อไป

อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลย์ ต่างมีแผนแห่งชาติทั้งสิ้น ไม่ต้องพูดถึง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นไปก่อนหน้านี้นานมากแล้่ว (นำหน้าประเทศอเมริกาเป็น 10ปี)

นี่เป็น 20 เมือง ที่มีบริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เร็วที่สุดในโลก

อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ สำคัญอย่างไร?

เปรียบให้เห็นภาพง่ายๆดังนี้ อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ เปรียบได้กับ ถนนคอนกรีตอย่างดีที่ช่องจราจร 1,2,3,.....n ช่องจราจร ส่วนอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ หรือ Dial up 56 bps นั้น เปรียบเสมือนถนนลูกรัง เป็นหลุ่มเป็นบ่อ ช่องจราจรเดียว เห็นใด้แถบตจว.ห่างไกล ในประเทศดังกล่าวข้างต้นแทบจะไม่ได้ใช้กันแล้ว แต่ประเทศไทยยังมีใช้มากว่า 70% ของประชากรเน็ต

ประโยชน์ต่อชาติ และประชาชน มากมาย เป็นต้นว่า สามารถถ่ายโอนข้อมูล ส่ง แพร่สัญญาณมัลติมีเดีย ได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพสูงมาก ชัดเจน เช่น


  • วงการแพทย์ ช่วยการวินิจฉัยของแพทย์ สะดวกรวดเร็ว ทันการณ์ยิ่งขึ้น 
  • การศึกษา ทั่วถึง เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ 
  • อุตสาหกรรมต่างๆ ช่วยให้สะดวก ประหยัดต้นทุน การติดต่อสื่อสาร ต่างๆมากมาย
  • เกษตรกรรม ยิ่งได้ประโยชน์อย่างมากมาย เพราะเป็น เกษตรกรรมความแม่นยำสูง (Precision Farming/Agriculture) เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีช่วยให้การทำเกษตรกรรมได้ผลมากยิ่งขึ้น ลดความสูญเสีย เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เช่น การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System-GIS) ช่วยสำรวจพื้นที่ดินที่จะเพาะปลูก ว่ามีแร่ธาตุใด มากน้อยอย่างไร จะใส่ปุ๋ยตรงไหน  แบบไหน สูตรไหน เหมาะสมกับพืชชนิดใด  หรือการใช้ระบบน้ำหยดควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็น การประมงความแม่นยำสูง (Precision Farming/Agriculture) เช่นเดียวกัน  สามารถ ตรวจวัดด้วย Probe ที่ฝังชิป รายงานผลค่าที่ดีที่สุดของสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนั้นๆ ในบ่อเลี้ยง เป็นการป้องกันในเชิงรุก นักลงทุนสามารถตรวจสอบทุกบ่อเลี้ยงแบบสดๆ ทุกบ่อ โดยนั่งวิเคราะห์อยู่ในสำนักงาน ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะมีพื้นที่ฟาร์มอยู่ทั่วประเทศ ทั่วโลก ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงกุ้ง กุลาดำ สามารถ ตั้งค่าความเป็นกรด ด่าง ความเค็มของน้ำ แร่ธาตุต่างๆ ตลอดจน โรค หรือ แก๊สไข่เน่า ในบ่อกุ้ง หรือ สิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อกุ้ง การให้อาหารที่เหมาะสม ปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำ หากมีสิ่งใดผิดเพี้ยนไปจาก ความเหมาะสมจนเป็นเหตุให้กุ้ง ชะงักการเจริญเติบโต ไม่ลอกคราบ ก็จะทราบได้ทันที ทำให้ลดต้นทุนได้อย่างมาก เลี้ยงกุ้งได้นานวันขึ้น กุ้งขนาดใหญ่ขึ้น ขายได้ราคามากขึ้น เป็นต้น (อันนี้ ผมคิดเอง คิดว่ายังไม่มีนวัตกรรมนี้ในวงการประมง ทั่วโลก) 
ภาพรวมการทำการเกษตรความแม่นยำสูง


ผลตอบตอบแทนการทำการเกษตรความแม่นยำสูงระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับ ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วให้ผลตอบแทนถึง 90% ลดความสูญเสียระหว่างทางไปได้มาก

  • สามารถสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ ที่ใช้ความสามารถพิเศษ บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) งานนวัตกรรมใหม่ๆ อีกมากมาย ที่ล้วนยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ แก่กำลังแรงงาน ได้เป็นอย่างดี น่าส่งเสริม แนะนำ
  • ประโยชน์อีกมากมายจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคพลเมืองอย่างแท้จริง จนไปสู่การออกนโยบาย ที่เป็นประโยชน์ต่อพลเมือง อย่างแท้จริง
  • สุดท้าย อันนี้สำคัญมาก นำไปสู่ ตลาด v-commerce ที่เป็นมากกว่า e-commerce กล่าวคือ เป็นตลากกลาง ซื้อ ขายสินค้าทุกชนิด ในโลก โดยเฉพาะ สินค้าเกษตร ที่เจ้าของสวนสามารถขาย ประมูล ผ่านv-commerce ถึงผู้ซื้อคนสุดท้ายได้โดยตรง ตัดคนกลางออกหมด ทำให้สินค้าเกษตรจะมีราคาสมเหตุผลมากขึ้น เพราะตลาดเป็นตลาดโลกซึ่งเกษตรกรไม่เคยเข้าถึงมาก่อน ยิ่งใหญ่มาก ต่างกับปัจจุบันที่เป็นตลาดท้องถิ่น ผ่านพ่อค้า แม่ค้าคนกลาง หลายต่อ หลายทอด และ ไม่กี่รายที่รับซื้อ  เช่นผู้เลี้ยงกุ้ง หรือ เจ้าของสวนทุเรียน ที่จันทบุรี ขายได้โดยตรง ถึงผู้บริโภคที่ญี่ปุ่น หรือจีนได้เลย มีเท่าไหร่ ก็ไม่พอขาย หากสินค้ามีคุณภาพ และรสชาดดี (อันนี้ความลับบริษัท :p   */_*")

 อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ ถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในโลกที่กำลังถูกทำให้แบนราบลงเรื่อยๆ ทำให้ได้เปรียบ/เสียเปรียบเชิงการแข่งขันระดับประเทศ หากมีบริการที่ดี มีคุณภาพ ราคาไม่แพง และถือเป็นนโยบายสาธารณะ ที่รัฐต้องเอาใจใส่ ในการกำหนดนโยบายที่เป็นกลาง (์ำีNeutrality Policy) ตั้งแต่ผู้ออกนโยบาย(Policy maker) และ หน่วยงานที่จะกำักับดูแล(Regulator) อย่าให้ผู้ให้บริการรุกล้ำ เอาเปรียบกัน โดยเฉพาะเอาเปรียบผู้บริโภค ดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานในอุตสาหกรรม อย่าให้เหมือนค่ายโทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ แม้แต่การออกบิลยังโกงลูกค้าเลยโดยเฉพาะ บ.ทรูมูฟ โดยค่าเฉลี่ยความผิดพลาดในการออกบิลเก็บเงินลูกค้าต้องไม่เกิน 1% แต่ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทย ล่อไป 6% และไม่ยินยอมบอกรายละเอียดรายการโทรของผู้ใช้ไว้ในใบแจ้งหนี้ด้วยทั้งๆที่เป็นสิทธิของผู้จ่ายเงิน ไม่เรียกว่าโกงแล้วเรียกว่าอะไรดีล่ะ.....พี่น้อง อีกไม่นานนักจะถูกผู้เสียหายรวมตัวกันฟ้องแบบกลุ่ม (class action lawsuit)

เราควรจะให้นโยบาย อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ ครอบคลุมอะไรบ้าง?

พรุ่งนี้มาว่ากันต่อ นะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น