Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้และทางออก (ตอนที่ 7)

องค์กรไร้หัว หรือองค์กรกระจายอำนาจ นี้ หัวใจอยู่ที่อุมดมการณ์ (Idealism) เป็นความเสียสละของสมาชิก ในเครือข่าย ทำเองด้วยความเต็มใจ ไม่มีค่าจ้าง

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบสามจังหวัดภาคใต้

1. การเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของเครือข่าย

1.1 คน คัดเลือกคนที่มีจิตใจที่ดี คิดบวก จิตใจเอื้อเผื้อเผื่อแผ่ ของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ โดยเฉพาะที่สัมผัสกับประชาชนโดยตรง เพื่อค่อยๆสร้างความประทับใจ ภายในใจพี่น้องมุสลิม อย่าได้โยกย้ายคนที่กระทำความผิด หรือคนที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว มาทำงานในพื้นที่ ตามวัฒนธรรมเดิมๆ


1.2 จัดระบบการศึกษา และหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดแรงงาน มิใช่อย่างปัจจุบันที่ชาวมุสลิมบางส่วน จบการศึกษาแล้วไม่สามารถทำงานได้ เพราะเรียนแต่ หลักศาสนาอิสลาม


1.3 รัฐต้องจัดวางยุทธศาสตร์ของภายใต้ให้ชัดเจน ภาคใต้มีศักยภาพสูงมาก มีวัฒนธรรมหลากหลาย เช่น เน้นเรื่อง การท่องเที่ยว อาหารทะเล อาหารฮาลาล แล้วบูรณาการเชื่อมโยงกับกลุ่มมุสลิมโลก ผ่านประเทศมาเลเซีย นักท่องเที่ยวชาว เมเลย์ และสิงคโปร์ นิยมท่องเที่ยวภาคใต้ของไทยมากๆ


1.4 ให้ชาวบ้านเข้าถึงทุนให้มากขึ้น เช่นธนาคารอิสลาม เพื่อให้ ชาวบ้านนำไปใช้ในการศึกษาต่อ หรือ เป็นทุนประกอบอาชีพ คงจำสลัม Kibera ได้นะ ที่นี่ มีสุภาพสตรีชาวสวีดิช ชื่อ Ingrid Munro อดีตเจ้าหน้าที่การเคหะ ยูเอ็น เข้ามาทำงานช่วยเหลือในสลัมแห่งนี้ เธอเป็นผู้หญิงตะวันตกไม่กี่คนที่เปิดใจ อ้าแขนรับ ชาวสลัม Kibera อย่างจริงใจ โดยไม่สนใจว่าจะเป็นขอทาน หรืออาชญากร จนเป็นที่รักใคร่ของชาวสลัมทุกคน จนมีขอทานกลุ่มหนึ่ง ถามเธอว่า ถ้าเธอไม่อยู่แล้วพวกเราจะทำอย่างไร Mama Ingrid (ชาวบ้านเรียก) ก็บอกว่า ถ้าใครก็ตามสามารถ ออมเงินได้ หนึ่ง บาท เธอจะให้ยีมเงินเพิ่มเป็นสองเท่า ชาวบ้าน ก็รวมกลุ่มกัน เป็นเครือข่าย ค้ำประกันเครดิตกันเอง มายืมเงิน Mama Ingrid ไป ค้าขายตามสภาพ จนพอจะลืมตา อ้าปาก มีงานทำ มีเป้าหมายในชีวิตมากขึ้น ได้ดีกว่าแต่ก่อน ที่ไม่มีอะไรเลย


Microfinance ชื่อ Jamii Bora Trust จึงถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1999

1.5 การจัดตั้งกลุ่ม ให้มากกลุ่มที่สุด ให้ครอบคลุมพี่น้องมุสลิมทุกคน รวมทั้งคนไทยพุทธด้วย เพื่อทำ สานเสวนา (Dialogue) หรือ Sensitivity Training อันนี้ เป็นการทำงานเชิงรุก ให้เจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญ เข้าหาพี่น้องมุสลิม เพื่อสะท้อน วิธีคิด ทัศนคติ และ บุคคลิก แต่ละคน และจะเกิดความไว้วางใจกัน เข้าใจกัน พร้อมกันนี้ก็สื่อถึงเป้าหมาย หรือยุทธศาสตร์ของรัฐ ต่อพี่น้องมุสลิม เช่น จัดเป็นกลุ่มๆละ 10 คน รัฐจ่ายเงิน ให้ชาวบ้าน คนละ 1,000 บาทต่อวัน ต่อคน เป็นต้น


และ ให้เจ้าหน้าที่เก็บ บันทึก ทุกอย่างไว้เป็นฐานข้อมูล








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น