Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

สานเสวนา (Dialogue) และ Sensitivity Training ( ตอนที่1)

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่สภาพัฒนาการเมือง ของสถาบันพระปกเกล้า ให้ความสำคัญ นำวิธีการสานเสวนา (Dialogue) มาช่วยในการประสานรอยร้าว ความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้คนในสังคม และมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธอีกฝ่าย และรุนแรงมากขึ้น

สานเสวนา (Dialogue) เป็นเครื่องมือในการใช้กลุ่มบุคคลเล็กๆ มาสะท้อนความรู้สึก นึกคิด ของแต่ละคน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน(Interpersonal understanding) และยอมรับกันเพื่อให้อยู่ร่วมในสังคมเดียวกันได้ แม้จะคิดและทำต่างกัน
หลักการของ การใช้สานเสวนา (Dialogue)
1 ฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening)
2. รู้สึกเป็นอิสระ สบายๆ (Feel free)
3. ทุกคนเท่าเทียมกัน (Peer-to-peer practice)

ถึงแม้นว่า การใช้สานเสวนา (Dialogue) เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่แตกแยกกัน แบ่งเป็นฝัก เป็นฝ่าย ของคนในสังคมได้ช้า จนอาจเกิดความรุนแรงขึ้นได้ (สานเสวนาไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองที่ประสบอยู่ได้นะ คนละเรื่องกัน) เพราะ ต้องใช้เวลา ความทุ่มเท จริงจัง เอาใจใส่ แต่ถ้าทำกระจายไปทั่วๆ และต่อเนื่อง ก็จะเกิดผลดีอย่างยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะถ้าเข้าถึง และทำใด้ผลดี ก็จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อประชาขนในระยะยาว

"We have two ears and one mouth so that we can listen twice as much as we speak."

ตรงกันข้ามกับนักการเมืองที่คิดว่าตัวเองมี 10 ปาก แต่ไม่มีหูที่จะฟัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น