Powered By Blogger

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

ความรักในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (Philanthropy)

ปี ค.ศ. 1912 ในประเทศเยอรมนี ขณะนั้น ปลุกระดมคนในประเทศให้เกลียดเพื่อนบ้าน หรือประเทศข้างเคียง "จงเกลียดเพื่อนบ้าน" ข้อความเหล่านี้ติดไปตามบ้านเรือนทั่วประเทศ 2 ปีต่อมา เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 1914-1918) โดยไม่มีเพื่อนบ้านเป็นพันธมิตร และ มีคนตายและสูญหายมากถึง 40 ล้านคน

กลุ่มแกนนำคนเสื้อเหลือง ชุมนุมประท้วง หลายหน หลายครั้ง ครั้งละเป็นแรมเดือน หรือ หลายเดือน ปราศัย ยุยง ให้คนในชาติเกลียดกัน ด้วยข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง แต่ทำทุกวิถีทางให้ได้รับชัยชนะ (แต่ก็ยังไม่เห็นว่าจะชนะตรงไหน) จ้างวานคนมาร่วมชุมนุม
12 วันของการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง แกนนำปราศัยยุยงทำนองเดียวกัน ยุยงให้คนเกลียดกัน ลงลึก บาดร้าว ราวกับว่า "มีเราต้องไม่มีเขา" คำว่า "สงครามประชาชน" "เลือดทาแผ่นดิน" "ถ้าไม่ได้รับชัยชนะก็ตายกันไปด้วยกัน" คำเหล่านี้ กระตุ้นอยู่ในจิต ตอกย้ำจำลึกสู่คนผู้ร่วมชุมนุม คำปราศัยต่างๆ ข้อเท็จจริงที่ยากจะตรวจสอบได้ ดังที่ผู้นำปราศัยยกกล่าวอ้าง และ ด้วยความโน้มเอียงของผู้ร่วมชุมนุมที่จะเชื่ออยู่แล้ว







เมื่อผู้คนหมู่มากอยู่ร่วมกันด้วยเหตุผลเดียวกัน และมีตัวเร่งปฏิกิริยา(ผู้ก่อการ,แกนนำ) คอยกระตุ้น เตือน ตอกย้ำ ให้ฮึกเหิมเมื่ออารมณ์คนเข้มข้นได้ที่ และมีมากพอ (ผู้ก่อการจะรู้ดีว่าเป็นอย่างไร) เมื่อเคลื่อนขบวนไปที่ใดก็ตามที่เป็นเป้าหมาย ย่อมมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดเหตุร้าย เช่น เผา ทำร้ายร่างกาย หรือฆาตรกรรม หรือ ประชาทัณฑ์ จะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าเจตนา จงใจทำให้เกิดเหตุร้าย เพราะมีแผน มีกระบวนการมาเป็นลำดับ

แล้วอย่างไร...? เกิดความสูญเสียอย่างไม่ควรจะเกิด ผู้ก่อการก็มักมีสูตรว่า ผม/ฉันไม่รู้ ไม่ได้ให้ไปทำ ใครทำก็จัดการกับคนนั้น แล้วก็หายตัวไป ไม่ต้องรับผิดชอบ ที่พาคนไปตาย หรือไปทำให้คนอื่นตาย หรือ ทรัพย์สินเสียหาย ได้ความสะใจ ส่วนตัว ได้แก้แค้น มีแต่ มิจฉาทิฐิ (ความหลงผิด)

แกนนำทั้งเสื้อสีเหลืองและสีแดง ไม่สมควร ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ เราไม่ควรทำตาม เชื่อฟัง หรือให้คนเหล่านี้สนตะพาย จูงไป เพราะคนเหล่านี้ ขาดทั้งจิตเคารพรัก(Respectful mind) และ จิตจริยธรรม (Ethical mind) ไม่มีความรักในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (Philanthropy) ถ้าจะมีก็มีแบบปลอมๆ เทียมๆ เช่น

จิตเคารพรัก(Respectful mind) ปลอมๆ จะแสดงให้เห็นเหมือนมีความอดกลั้น ไม่พยายามทำความเข้าใจ หรือร่วมทำงานให้ได้อย่างราบรื่น ให้ความเคารพแก่เฉพาะคนที่มีอำนาจสูงกว่าเท่านั้น กลับดูหมิ่น เหยียบหยามคนต่ำต้อยกว่า เลือกตอบสนองเฉพาะคนให้คุณให้โทษได้

จิตจริยธรรม (Ethical mind) ปลอมๆ มักพูดถึงแต่เรื่องของความดี และความรับผิดชอบ แต่ไม่ทำ (ดีแต่พูด) มีพฤติกรรมไร้จริยธรรมในวงกว้าง หน้าฉากอย่างหลังฉากเป็นอีกอย่าง รู้เรื่องทุกอย่าง ว่าอะไรควรไม่ควร เหมาะไม่เหมาะ ความดี ความชั่ว แต่ตัวเองทำไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น